เทวดายืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทำไมไม่นั่ง
บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า ยตฺถ ภควา ตตฺถ อุปสงฺกมิ นี้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นั้น โดยกาลนั้น, อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในคำว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรก็เข้าเฝ้าด้วยเหตุนั้น ดังนี้ ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าโดยเหตุไร? ตอบว่า เข้าไปเฝ้าแล้ว มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว ด้วยความประสงค์ที่จะบรรลุคุณวิเศษที่ประการต่างๆ ดุจไม้ใหญ่ที่ผลิดอกออกผลอยู่เป็นนิจ อันหมู่นกทั้งหลายเข้าไปหาอยู่ ด้วยประสงค์จะบริโภคผลที่อร่อยฉะนั้น. คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดแห่งการเข้าไปเฝ้าอีกอย่างหนึ่ง เทวดานั้น ไปแล้วอย่างนี้ มีคำอธิบายว่า ไปแล้วสู่สถานที่อันใกล้กว่า คือที่ใกล้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อจากนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 140 คำว่า ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ความว่า ถวายบังคมคือนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า.
คำว่า เอกมนฺต เป็นคำแสดงถึง นปุสกสิงค์ มีคำอธิบายว่าณ โอกาสข้างหนึ่ง คือ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอกมนฺต
เป็นทุติยวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ณ, ใน) . คำว่า อฏฺาสิ เป็นการปฏิเสธอิริยาบถอื่นมีการนั่งเป็นต้น อธิบายว่าสำเร็จการยืน ได้แก่ เป็นผู้ยืนอยู่แล้ว. ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร?ชื่อว่า ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เทวดาเว้นแล้วซึ่งโทษ (๘ อย่าง) เหล่านี้คือ ไม่ยืนข้างหลัง ๑ ไม่ยืนข้างหน้า ๑ ไม่ยืนใกล้ ๑ ไม่ยืนไกล ๑ ไม่ยืนตรงหน้า ๑ไม่ยืนเหนือลม ๑ ไม่ยืนต่ำกว่า ๑ ไม่ยืนสูงกว่า ๑ ชื่อว่า ยืนแล้วณ ส่วนข้างหนึ่ง. ถามว่า ก็เทวบุตรนี้ยืนเท่านั้น ไม่นั่ง เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเทวดาทั้งหลายประสงค์จะกลับไว อธิบายว่า จริงอยู่เทวดาทั้งหลายอาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่างเท่านั้น จึงมายังมนุษย-โลก ซึ่งเปรียบประดุจส้วมที่เต็มด้วยของไม่สะอาด ก็โดยปกติมนุษยโลกเป็นของปฏิกูลแก่เทวดาเหล่านั้น เพราะเป็นสถานที่มีกลิ่นเหม็นนับจำเดิมแต่ ๑๐๐ โยชน์ พวกเทวดาจึงไม่ยินดีในมนุษยโลกนั้น เพราะเหตุนั้นเทวดานั้นทำธุระที่ตนมาเสร็จแล้ว ก็ไม่ยอมนั่ง เพราะต้องการจะกลับไวชนทั้งหลายย่อมนั่ง เพื่อจะบรรเทาความอ่อนเพลียแห่งอิริยาบถ อันเกิดจากการเดินเป็นต้น อันใด ความเพลียอันนั้นของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นเทวดาจึงไม่ยอมนั่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 141
ก็มหาสาวกทั้งหลายเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้วเทวดาก็นับถือมหาสาวกเหล่านั้น จึงไม่นั่ง. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาไม่ยอมนั่งเพราะเคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยว่าเมื่อเทวดาทั้งหลายจะนั่ง อาสนะก็บังเกิดขึ้นเทวดาไม่ปรารถนาอาสนะนั้นจึงไม่คิดแม้เพื่อจะนั่ง ได้ยืนอยู่แล้วณ ส่วนข้างหนึ่ง. คำว่า เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ความว่า เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ด้วยเหตุเหล่านี้อย่างนี้.
...........................................................................
เทวดายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ไม่ยอมนั่งเพราะ...1. มนุษยโลกเป็นของปฏิกูลแก่เทวดา เปรียบเหมือนส้วมเต็มไปด้วยของไม่สะอาด เป็นสถานที่มีกลิ่นเหม็นไปถึง100 โยชน์ เทวดาทำธุระเสร็จ รีบกลับ ไม่ยอมนั่ง2. ชนทั้งหลายย่อมนั่ง เพื่อบรรเทาความอ่อนเพลีย เทวดาไม่อ่อนเพลีย ไม่ยอมนั่ง3. มหาสาวกทั้งหลาย ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว เทวดาจึงไม่นั่ง
4. เทวดาไม่ยอมนั่ง เพราะเคารพในพระพุทธเจ้า
ได้อ่านแล้ว ก็ได้พิจารณาจากพระพุทธพจน์ในพระสูตรครับว่า ทุกวันนี้เรายังไม่เห็นความจริงว่าโลกมนุษย์เน่าเหม็นแค่ไหน ที่กายนี้ก็เหม็น เพราะเรายังไม่ได้ไปอยู่บนสวรรค์ ยังไม่ได้ทุบภาชนะดิน (อันบรรจุด้วยปฏิกูล) เพื่อรับเอาภาชนะทอง ร่างกายนี้ อันเราสำคัญว่าสวย ว่าหล่อว่าดี ว่างาม แต่ความจริงแล้วก็เต็มไปด้วยของเสียไหลเข้า ไหลออก ไม่เป็นที่พึงใจแก่เทวดาเพราะไม่เป็นเหมือนกับของทิพย์อันเป็นทรัพย์บนสวรรค์ซึ่งประณีตยิ่งกว่าของหอมใดๆ ในโลกมนุษย์ครับ
แต่ที่สำคัญกว่า คือ ที่ใจนี้ (ถ้าอกุศลเกิด) ก็ยิ่งทั้งเน่าทั้งเหม็น เพราะเรายังไม่ได้ดับกิเลส ใจเรา
จึงไม่สะอาดครับ ถ้าใจนี้ยังไม่ได้ขัด ไม่ได้ล้างหยากเยื่อที่หมักหมม อันเกาะเกี่ยวเหนียวแน่นอยู่ภายในออกด้วยพระนิพพานแล้ว ก็คงจะยังสกปรกต่อๆ ไปครับ เราจึงต้องอาศัยการฟังพระธรรมเพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดขึ้นบ้างวันละนิดๆ แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นจะยังสกปรกเพิ่มขึ้น มากกว่าที่จะสะอาดเพิ่มขึ้นอยู่มากก็ตามครับขออนุโมทนาครับ