เรียนถามเกี่ยวกับองค์ของศีล 10 -หลักวินิจฉัย-

 
เรียนถาม
วันที่  18 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6148
อ่าน  14,132

ศีลข้อ ๙ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ

๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง

ขอเรียนถามเพิ่มเติมเฉพาะข้อ ๑๐ ครับ สำหรับข้อ ๑ - ๙ พอมีข้อมูลบ้างแล้วครับขอบคุณครับ


Tag  ศีล10  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เรียนถาม
วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง พิมพ์หัวข้อผิด

เรียนถามเกี่ยวกับองค์ของ ศีล ๑๐ (หลักวินิจฉัย)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 18 ธ.ค. 2550

หลักวินิจฉัยสำหรับศีลข้อ อุจฺจาสยน มหาสยนา เวรมณี คือที่นั่งที่นอนที่ไม่สมควรแก่สมณะ นักบวช บรรพชิตคือ สูงเกินประมาณหรือใหญ่เกินประมาณ สวยงามวิจิตรที่ขัดกับพระบัญญัติในพระวินัย สมดังข้อความที่มาในพรหมชาลสูตรดังนี้

เชิญคลิกอ่าน...

เว้นการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เรียนถาม
วันที่ 18 ธ.ค. 2550

คือว่า เรียนถาม ถึงศีลข้อ ๑๐ ที่บัญญัติไว้ว่าเว้นจากการรับเงิน/ทอง อยากทราบถึงองค์ของศีลข้อ ๑๐ ครับ ไม่ทราบว่าองค์ของศีลข้อ ๑๐ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เลยยกตัวอย่างองค์ของศีลข้อ ๙ มาเป็นตัวอย่างครับ ต้องขอโทษเป็นอย่างยิ่งที่คำถามอาจไม่ชัดเจน เลยทำให้เข้าใจผิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 19 ธ.ค. 2550

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เงินทองเป็นอสรพิษสำหรับพระภิกษุ ศีลข้อ ๑๐ เว้นจากการรับเงินทอง วัตถุเป็นเงินทองที่เขาให้ หรือเงินทองตกอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งไม่มีเจ้าของหวงก็ดี ถือเอาเพื่อประโยชน์ตนเองรับเองหรือให้เขารับหรือเขาเก็บไว้ให้ยินดีเอา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เรียนถาม
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

ขออนุญาตคัดความบางตอนครับ

กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่ท่านเรียกว่า องค์ของศีล เป็นเครื่องตัดสิน ถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ ศีลข้อนั้นก็ขาด ถ้าไม่ครบองค์ที่วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อ ถือว่าศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมอง องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาท

ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร

ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ

๑. * ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า

๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า

๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น

ศีลข้อ ๒ มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก (ทั้งโดยคิดลักเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักแทน)

๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก

๕. เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น

ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ

๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง (คือมรรคทั้ง ๓)

๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น

๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ

๔. สาทิยนํ มีความยินดี

ศีลข้อ ๔ มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด

๓. ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

ศีลข้อ ๕ มีองค์ ๔ คือ

๑. มทนียํ ของทำให้เมามีสุราเป็นต้น

๒. ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม

๓. ตชฺโช วายาโม พยายามดื่ม

๔. ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป

ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ

๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น

๒. ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร

๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน

๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น

ศีลข้อ ๗ นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล มีองค์ ๓ คือ

๑. นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น

๒. ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง

๓. ทสฺสนํ ดูหรือฟัง

ศีลข้อ ๘ มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีองค์ ๓ คือ

๑. มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น

๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงประดับตกแต่ง เป็นต้นด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม

ศีลข้อ ๙ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ

๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง

และต่อด้วยศีลข้อ ๑๐ ตามที่คุณวรรณีกรุณาให้มา องค์ของศีลข้อ ๑๐ คือ ศีลข้อ ๑๐ เว้นจากการรับเงินทอง

๑. วัตถุเป็นเงินทองที่เขาให้ หรือเงินทองตกอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่มีเจ้าของหวงก็ดี

๒. ถือเอาเพื่อประโยชน์ตนเอง

๓. รับเองหรือให้เขารับ หรือเขาเก็บไว้ให้ยินดีเอา

เข้าใจเช่นนี้ ถูกต้องหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

องค์ของศีลข้อที่ ๑๐ ในบุพพสิกขาวรรณนาในใช้สำนวนอย่างนี้ครับ

๑.ของนั้นเป็นเงินหรือทองที่เป็นนิสสัคคียวัตถุ

๒.เฉพาะเป็นของตน

๓.รับเองหรือให้เขารับ หรือเขาเก็บไว้ให้ยินดีเอาเมื่อครบองค์ ๓ จึงเป็นนิสสัคคีย์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เรียนถาม
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

ขอบคุณมูลนิธิฯ เป็นอย่างยิ่งครับ ขออนุญาตรบกวนเพิ่มเติมอีกสักนิดได้ไหมครับ อยากได้คำบาลีกำกับสำหรับศีลข้อ ๑๐ เช่นเดียวกับที่มีคำบาลีกำกับไว้ในศีลข้อ ๑-๙ หากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ขอความกรุณาด้วยครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ที่ให้คำแนะนำเป็นอย่างดีเสมอมา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

๑. ชาตรูปรชตํ หรือหิรญฺญสุวณฺณฺ ของนั้นเป็นเงินและทอง ๒. อตฺตโน อตฺถาย ทียมานํ เฉพาะเป็นของตน ๓. อุคฺคณฺเหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย รับเอาเองหรือให้ผู้อื่นรับ หรือเขาเก็บไว้ให้ ยินดี

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เรียนถาม
วันที่ 21 ธ.ค. 2550
ขอขอบพระคุณ มูลนิธิฯ เป็นอย่างยิ่งครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 28 พ.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 13 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ