ผู้ที่ไม่จบ ป. ๔ ไม่มีสิทธิที่จะเจริญสติปัฏฐานจริงหรือ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6211
อ่าน  958

ภิ. เท่าที่ฟังมา มีความรู้สึกว่า ผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานหรือผู้ที่จะปฏิบัติ เหมือนกับว่าจะต้องศึกษาพระอภิธรรมให้รู้ว่าจิตมี ๘๙ เจตสิกมี ๕๒ รูปมี ๒๘ แบ่งเป็นฝ่ายโสภณะเท่าไร อกุศลเท่าไร เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม แม้แต่ผู้ที่ไม่จบแม้กระทั่ง ป. ๔ ก็ไม่มีสิทธิที่จะเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้องจริงหรือ

อ. มีผู้สงสัยเหมือนกันว่า วิสาขามิคารมารดา ซึ่งท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านอนาถบิณฑิกะ หมอชีวกโกมารภัต ท่านเหล่านี้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ท่านรู้เรื่องจิต ๘๙ ดวงหรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ท่านไม่ได้รู้ชื่อ แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ภาษาไทยใช้คำว่า จิต ทุกคนเหมือนกับเข้าใจว่ามีจิต แต่ถ้าถามว่า ขณะนี้จิตอยู่ที่ไหน ตอบได้ไหม เมื่อมีแล้วอยู่ที่ไหน ก็ตอบไม่ได้ ถ้าไม่ได้ศึกษา แต่ถ้าศึกษาแล้วจะเห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น มีความเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง แม้ไม่มาก แต่สามารถที่จะเข้าใจได้มาก

เพราะฉะนั้น จึงมีผู้ที่ฟังน้อยแต่เข้าใจมาก และเมื่อมีความเข้าใจมากในสิ่งที่ได้ฟังแม้เล็กน้อย เวลาที่ได้ฟังมากขึ้น ความเข้าใจก็ยิ่งมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจว่า การฟังนี้เป็นปัจจัยให้มีการพิจารณาสิ่งที่เข้าใจ ถ้าพิจารณาโดยความถูกต้อง ก็เข้าใจสิ่งนั้น นั่นคือ ปัญญาที่เข้าใจ ไม่ใช่เรา ความเข้าใจเกิดขึ้นในขณะที่ฟังเข้าใจแล้วก็ดับไป แล้วก็ขณะอื่น ปัญญาจะเกิดหรือไม่เกิด หรือว่าจะเป็นปัญญาระดับไหน

เพราะว่าปัญญาก็มีหลายระดับ ก็ต้องขึ้นกับเหตุปัจจัย แต่ไม่ใช่หมายความว่า พระพุทธศาสนาจะต้องจำกัด สำหรับผู้ที่เรียนเรื่องจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ โดยละเอียด แต่ว่าขณะเพียงฟัง ใครก็ตามที่ไม่รู้ถึงจิต ๘๙ แต่ขณะนี้สามารถจะเข้าใจสภาพของจิต ว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีจริงๆ เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่รูปธรรมเป็นใหญ่ เป็นประธานในการจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้คือ กำลังเห็นทางตา นี่เป็นลักษณะของธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นอย่างเดียว จะทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ถ้าเกิดอีก เห็นอีก ก็คือธาตุนี้แหละ

ธาตุที่เห็นก็เห็น ธาตุที่ได้ยินก็ได้ยิน ธาตุที่คิดนึกก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินแต่คิดนึก เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎก นอกจากจะใช้คำว่าธรรม ยังใช้คำว่า ธาตุทั้งหมด เช่น โลภธาตุ โทสธาตุ โมหธาตุ ทุกอย่างหมด ใช้คำว่า ธาตุก็ได้ ธรรมก็ได้ ถ้าฟังเข้าใจอย่างนี้ แล้วเวลาที่ฟังต่อๆ ไป ก็สามารถที่จะเข้าใจอรรถคือ สภาพธรรมที่เป็นจิตประเภทต่างๆ เพราะว่าถ้าพูดถึงโลภะ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นจำนวนก็ได้ แต่ถ้าเข้าใจว่า โลภะ คือ สภาพที่ติดข้อง บางครั้งก็มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย บางครั้งก็ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะว่าบางครั้งที่มีความเห็นผิด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ