สัญญา ปริยัติ ปฏิบัติ มีความหมายอย่างไร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6541
อ่าน  1,657

สัญญา เป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกปรมัตถ์ เป็นความจำเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น ขณะนี้ทุกคนมีความจำ เราจำได้ว่าเพื่อนชื่ออะไร จำได้ว่า เป็นคน เป็นสัตว์ แต่ความจำนี้ยังเป็นความจำที่วิปลาส เป็นความจำที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะว่า ความจริงก็คือ สภาพธรรมนี้เป็นอนัตตา แต่เราจำด้วยความเป็นตัวตนตลอดเวลา

เพราะฉะนั้น จึงจะต้องเริ่มอบรม เริ่มสะสมความจำใหม่ ที่จะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหมดมีเพียงลักษณะที่รู้อารมณ์ คือ เป็นนามธรรม หมายถึง จิตและเจตสิก ส่วนสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์คือ รูปธรรม แล้วก็เริ่มเข้าใจจากขั้นการฟัง จากขั้นการพิจารณา เริ่มที่จะสะสมความเข้าใจถูกต้อง จนกว่าเมื่อไรที่สติปัฏฐานเริ่มที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เหมือนกับการที่ได้ศึกษามา

ปริยัติกับปฏิบัติ เป็นปัญญาคนละขั้น แต่เป็นความรู้อย่างเดียวกัน เมื่อไรที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นจึงจะเริ่มสะสมอนัตตสัญญาซึ่งเป็นความจำที่ถูกต้องเล็กๆ น้อยๆ จนกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงมาก เมื่อไรที่เป็นวิปัสสนาญาณ ขณะนั้นจึงจะเริ่มมีอนัตตสัญญา เป็นความจำที่ถูกต้องจริงๆ เพราะฉะนั้น สัญญาก็เป็นความจำเท่านั้น และเป็นเจตสิก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 22 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 23 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daimond
วันที่ 23 ก.พ. 2554

คำว่าสะสม อนัตตสัญญา เป็นคำที่เมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่า ในวันหนึ่ง ขณะจิตหนึ่งเราควรพิจารณาอย่างไร จึงจะเห็นถูกตามความเป็นจริง เพื่อการละคลายอัตตสัญญาออกไปทีละน้อย เข้าใจแล้วแจ่มแล้ว

ขออนุโมทนาด้วยความบริสุทธิ์ใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
isme404
วันที่ 29 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 12 เม.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ