ตาย กับ แตกดับ ต่างกันหรือเหมือนกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6618
อ่าน  4,239

ตายกับแตกดับ ต่างกันหรือเหมือนกันนั้นก็แล้วแต่การใช้ภาษา เช่น ต้นไม้ตายลักษณะของต้นไม้ตายกับคนตายไม่เหมือนกัน สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นโลก พระผู้มีพระภาค ฯ ทรงแสดงว่าโลก หรือโลกียะเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ

ฉะนั้น เมื่อใช้คำว่า แตกดับ ก็หมายถึงสภาพธรรมใดก็ตามที่เกิดสภาพธรรมนั้นจะทรงอยู่ ดำรงอยู่ไม่ได้ ธรรมทุกอย่างที่เกิดต้องแตกดับอย่างรวดเร็ว สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นสังขารธรรม จิตเกิดขึ้นแล้วดับ เจตสิกเกิดขึ้นแล้วก็ดับ รูปเกิดขึ้นแล้วก็ดับ จะใช้คำว่าแตกดับก็ได้

ส่วนคำว่า ตาย ที่หมายถึง จุติ หรือมรณะนั้น หมายเฉพาะสิ่งมีชีวิต คือคน และสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน รูปของคนกับรูปหุ่นขี้ผึ้ง ถึงแม้ว่าจะดูลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากสักเพียงใด แต่ว่ารูปหุ่นขี้ผึ้ง ไม่ใช่รูปที่เกิดจากกรรม จึงไม่ใช่รูปที่ทรงชีวิต รูปของสัตว์ บุคคล มีชีวิตรูปซึ่งเกิดพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน ทำให้ทรงสภาพที่มีชีวิตซึ่งต่างกับหุ่นขี้ผึ้ง

ฉะนั้น คำว่า ตาย ซึ่งเป็นจุติจิต หรือมรณะนั้น คือขณะจิต เจตสิก และรูปดับพ้นจากสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่เกิดขึ้นดำรงสภาพเป็นบุคคลนี้อีกเลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ก.ย. 2553

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
isme404
วันที่ 27 พ.ค. 2555

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 28 ต.ค. 2560

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประสาน
วันที่ 18 ก.พ. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ