การแก้กรรมด้วยวิธีทำบุญ ทำสังฆทาน แก้ได้หรือ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6635
อ่าน  5,728

ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฎฎ์ก็ไม่พ้นกรรม ตั้งแต่ขณะเกิด เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ต้องเกิด และที่แต่ละคนเกิดมาต่างกัน เพราะกรรมต่างกัน กรรมนั้นมีทั้ง กุศลกรรม และอกุศลกรรม

อกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว สามารถให้ผลได้เมื่อยังมีสังสารวัฎฎ์ เมื่อกลัวผลของอกุศลกรรม ก็ควรเจริญกุศลกรรมให้มากที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ โดยเฉพาะกุศลกรรมที่จะทำให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์ เพราะเมื่อยังเป็นกุศลกรรมที่ทำแล้ว ก็ไม่พ้นจากสังสารวัฎฎ์ ทุกคนย่อมจะมีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทุกภพทุกชาติ เช่นในปัจจุบันชาตินี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 มี.ค. 2551

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจ คำว่า ความเห็นผิด ให้ถูกต้องเสียก่อนครับ ก็จะเข้าใจประเด็นนี้

ความเห็นผิด คือ สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นทิฏฐิเจตสิก ที่มีลักษณะ เห็นผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเห็นผิด ว่ากรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน เห็นผิดว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นต้น ซึ่งความเห็นผิดเหล่านี้ มีได้ เพราะ ยังมีทิฏฐานุสัย อันเป็นกิเลสที่เป็นความเห็นผิดอยู่ แต่การไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควรโดยละเอียด ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นความเห็นผิด เพราะผู้ที่รู้ว่าอะไรควร ไม่ควรโดยละเอียดทั้งหมด คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

ดังนั้น พระอรหันต์ดับความเห็นผิดหมดสิ้นแล้ว เพราะความเห็นผิด ดับได้หมดสิ้นตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคลไม่มีความเห็นผิดเลย ในเรื่องว่า กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี ไม่เห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคลจริง เพราะ รู้ว่าเป็นธรรม เป็นต้น แต่ พระอริยบุคคล ก็ยังไม่ได้รู้ในรายละเอียดทั้งหมด ในความควร ไม่ควร โดยเฉพาะในข้อบัญญัติพระวินัย เพราะ ผู้ที่จะรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร โดยเฉพาะการประพฤติในพระวินัยก็มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น พระอรหันต์ ก็ยังไม่ได้รู้ว่าอะไรควร ไม่ควรทั้งหมด ท่านจึงมีโอกาสล่วงอาบัติ ผิดพระวินัยได้ โดยไม่ได้มีเจตนาล่วงพระวินัย หรือทำในสิ่งที่ไม่ควร แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ไม่ควรนั้นจะต้องเป็นอกุศล เพราะท่านไม่มีอกุศลจิตเกิดอีกเลย ไม่ได้ทำด้วยความเห็นผิดแต่ทำด้วยกิริยาจิต แต่การกระทำนั้น ย่อมไม่สมควรบางประการได้ ในความละเอียดของธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงรู้ ครับ

พระอรหันต์ จึงทำผิดพระวินัยบัญญัติ หรือทำในสิ่งที่ไม่ควรได้ แต่ไม่ได้มีเจตนาโดยต้องการล่วงอาบัติ และไม่มีเจตนาที่เป็นไปในทางอกุศล หรือความเห็นผิดเลย ตามที่กล่าวมา ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
bauloy
วันที่ 17 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
bauloy
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"เมื่อกลัวผลของอกุศลกรรม ก็ควรเจริญกุศลกรรมให้มากที่สุด เท่าที่จะกระทำได้"

การทำสังฆทานก็เป็นการเจริญกุศลอย่างหนึ่ง ได้แก่การถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ กรรมใดก็ตามที่ได้กระทำลงไปแล้วย่อมให้ผล ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ผลของกรรมย่อมแตกต่างกันออกไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น หากเกรงกลัวต่อผลของอกุศล ก็ควรที่ละอกุศลและในขณะเดียวกันก็ควรที่จะเจริญกุศลให้มากยิ่งๆ ขึ้นด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Rodngoen
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ก.ไก่
วันที่ 22 ก.ย. 2564

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 18 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ