เมื่อตักบาตร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ คือ การอุทิศส่วนกุศลที่ได้ทำแล้ว ให้บุคคลอื่นล่วงรู้และอนุโมทนา เพราะฉะนั้น ถ้าได้กระทำทันทีที่ได้กระทำกุศลก็ดี แต่ถ้าลืมกรวดน้ำแล้วก็นึกขึ้นมา อุทิศส่วนกุศลเมื่อไหร่ก็ย่อมทำได้ เพราะเหตุว่า ขณะนั้นเป็นกุศลจิตของท่านเอง ส่วนผู้อื่นจะล่วงรู้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของบุคคลอื่น
การที่กลุ่มบุคคลหรือหลวงพ่อบางองค์บอกว่าทำบุญแล้ว ไม่ต้องรอกรวดน้ำให้คิดในใจอุทิศบุญโดยทันที เพราะการทำบุญแต่ละคร้ง จะเกิดแสงแห่งบุญ หากรอกรวดน้ำแสงแห่งบุญก็ไปรออยู่สวรรค์ ไม่สามารถอุทิศให้แก่ญาติผู้ล่วงลับได้ เพราะบุญแห่งการตักบาตรแสงแห่งบุญนิดเดียวเหมือนแสงหิ่งห้อย ซึ่งแสงแห่งบุญนั้นของเราไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนพระเจ้าพิมพิสารที่ถวายวัดแด่พระพุทธองค์ แล้วกรวดน้ำให้แก่ญาติที่เป็นเปรตเพราะในช่วงนั้นแสงแห่งบุญยังเจิดจ้าอยู่ไปหลายโยชน์กว่าจะหมดไป ก็กินเวลาหลายนาที
ข้อมูลนี้เป็นจริงประการใดครับ?
ขออนุโมทนาครับ
บุญ แปลว่า ชำระสันดาน
ขณะใดที่สภาพจิตผ่องใสเป็นกุศล ขณะนั้นเป็นบุญแล้ว การอุทิศส่วนกุศลก็เป็นบุญของผู้ให้ ส่วนการอนุโมทนาก็เป็นบุญของผู้รับ จะมีการกรวดน้ำหรือไม่กรวดน้ำก็ตาม "กุศลธรรม" หรือ "อกุศลธรรม" ย่อมเป็นไปตามสภาพของจิต
แสงแห่งบุญไม่มีจริง แต่พระธรรมคำสอนในพระพระไตรปิฎกมีจริง
ยังงงอยู่เหมือนกัน แสงแห่งบุญ แสงหิ่งห้อย อ่านแล้วงงๆ เห็นด้วยกับคุณ devout อ่านแล้วเข้าใจง่ายและตรงไปตรงมาดี แต่ก็ขออนุโมทนากับทุกท่านที่มีกุศลจิตที่ดีงามในการแสดงความคิดเห็น ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
ขอขอบคุณครับ
ขออนุญาตตอบตามประสาผู้เริ่มศึกษานะคะ แสงแห่งบุญ แสงหิ่งห้อยคงจะเป็นการเปรียบเทียบ
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำบุญ เมื่อทำบุญทำทานแล้วเราก็หวังว่าเราจะได้บุญหรือส่งบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้วก็หวังว่าเขาจะได้รับ มันเป็นความหวังทั้งสิ้น ทำดีก็ต้องได้ดีไม่ต้องคาดหวัง ขณะนี้คงจะมีญาติเมื่อชาติก่อนอุทิศบุญกุศลให้เรา แล้วเราทราบไหมว่าขณะนี้เรากำลังรับบุญอยู่จากการฟังธรรม ดิฉันเข้าใจว่าจิตเกิดดับทุกขณะเป็นไปตามเหตุและปัจจัยนั้นหมายความเป็นอนัตตา เมื่อได้ทำบุญตักบาตรก็เป็นสิ่งที่ดีจิตก็คิดดี ไม่ทราบว่าดิฉันคิดถูกต้องหรือไม่ และขออนุโมทนากับสมาชิกทุกท่านที่สนใจในธรรมะ