เพราะอะไรจึงได้ชื่อว่าเป็นปุถุชน
การระลึกถึงความตายเนืองๆ บ่อยๆ ย่อมมีประโยชน์แก่การเจริญสติปัฏฐาน เมื่อระลึกได้ว่าอาจจะตายเย็นนี้หรือพรุ่งนี้ก็ได้ ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งธรรมที่ได้ฟังทั้ง ๓ ปิฎก รวมทั้งอรรกถาและฎีกา ก็เพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้น รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามปกติความเป็นจริง ไม่ว่าจะฟังมาก เพราะไม่รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรม ที่ปรากฏตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย ความยินดียินร้ายก็เกิดขื้นได้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล กิเลสเกิดกับอกุศลจิต และกิเลสที่เกิดกับจิตแต่ละขณะก็สะสมพอกพูน อยู่ในจิตที่เกิดดับสืบต่อกันทุกๆ ขณะ ทำให้ปรากฏสภาพของกิเลสที่สะสมมา ในลักษณะต่างๆ
ความหมายของปุถุชนในอรรถกถา ได้อธิบายไว้หลายความหมายมาก เช่น ที่ชื่อว่าปุถุชน เพราะอรรถว่า
- เพราะยังกิเลสให้เกิด ๑
- เพราะต้องคอยมองดูหน้าศาสดาบ่อยๆ ๑
- เพราะกำหนัด ติดใจ ลุ่มหลง มัวเมา ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก ๑
- เพราะไม่มีอาคม คือการศึกษา และอธิคม คือการบรรลุมรรคผล ๑
- เพราะชนนี้ถึงการนับแยกอยู่ต่างหากกับพระอริยะทั้งหลาย ๑
ความหมายของคำว่า ปุถุชน (เพิ่มเติม) ข้อความตอนหนึ่งจาก...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๗๓
[๒๓๙] ...คำว่า ปุถุชน ความว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่าอะไร?
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังกิเลสอันหนาแน่นให้เกิด
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า มีสักกายทิฏฐิที่ยังไม่ได้กำจัด หนาแน่น
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ปฏิญาณต่อพระศาสดามาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า อันคติทั้งปวงร้อยรัดไว้มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ผู้อันอภิสังขารต่างๆ ปรุงแต่งไว้มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ผู้ลอยไปตามโอฆกิเลสต่างๆ มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ผู้เดือดร้อนด้วยความเดือนร้อนต่างๆ มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนต่างๆ มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว เกี่ยวพัน พัวพัน ในกามคุณ ๕ มาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด ปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบัง ปกปิด ครอบงำไว้มาก
ขออนุโมทนาค่ะ มีครบทุกลักษณะ แต่จะขอให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติม เพราะต้องคอยดูหน้าพระศาสดาบ่อยๆ และปฏิญาณต่อพระศาสดามาก
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะต้องคอยมองดูหน้าพระศาสดาบ่อยๆ หมายถึง เปลี่ยนศาสดาบ่อยๆ พระพุทธเจ้าก็ผ่านไปแล้วตั้งหลายพระองค์ เราก็ยังไม่บรรลุเลย ยังเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส แต่การเห็นพระพุทธรูป ก็เป็นเครื่องหมายเตือนให้เราไม่ประมาท บำเพ็ญความดีค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาครับ
ขอเพิ่มเติมความหมายปุถุชน ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๕
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา มูลปริยายสูตร
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอยู่ในหมู่ชนผู้มีธรรมจริยาต่ำ ผู้หันหลังให้กับอริยธรรม จำนวนมาก คือนับไม่ถ้วน ซึ่งหันหลังให้อริยธรรม
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ชนนี้ถึงการนับว่าแยกอยู่ต่างหาก คือ ไม่เกี่ยวข้องกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีลและสุตะ เป็นต้น
ด้วย ๒ บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ ดังกล่าวมานี้ ในบรรดาปุถุชน ๒ จำพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ได้ตรัสไว้ คือ อันธปุถุชนพวกหนึ่ง กัลยาณปุถุชนพวกหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงอันธปุถุชน.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ปุถุชนมี ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑ ดังนี้ ในปุถุชน ๒ พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง การทรงจำ และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นต้น นี้ชื่อว่า อันปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน.
ขออนุโมทนาจิตอันเป็นกุศลของท่านทั้งหลาย ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน....
ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ศึกษาแล้ว รู้สึกเหนื่อยเบื่อหน่ายกับกิเลส ตัณหา ที่ทำให้เวียนว่าย ตาย เกิดมาซ้ำๆ ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติเป็นเพราะว่าตัวเราได้ชื่อว่า ปุถุชนนี้เอง ขออนุโมทนาคุณคำปั่นและคุณวันนีค่ะ ที่ได้ให้ความหมายอธิบายนิยามต่างๆ ได้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้มาใหม่อย่างดิฉัน
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ
เพราะต้องคอยมองดูหน้าศาสดาบ่อยๆ ๑ และทุกข้อที่กล่าวมา
อนุโมทนาค่ะ