เห็นสี่งใด สี่งนั้นก็ไม่ได้เห็น - เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร

 
pirmsombat
วันที่  24 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6670
อ่าน  1,408

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282 - 284

ข้อความบางตอนจาก...

อรรถกถามหาสติปฏฐานสูตร

เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร

บุคคลเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไมไดเห็น สิ่งใดเห็นแลวก็ไมเห็นสิ่งนั้น เมื่อไมเห็น ก็หลงติด เมื่อติดก็ไมหลุดพน ดังนี้. ทานกลาวคํานี้ ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากกอนเปนตน. ดวยศัพทวา อาทิเปนตน ในคํานี้บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้ พิจารณาเห็นกาย

พระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรคเลม ๒ ภาค ๒ - หนาที่ 283

ในกายนี้เทานั้น ทานอธิบายวา มิใชพิจารณาเห็นธรรมอยางอื่น. คนทั้งหลาย แลเห็นน้ําในพยับแดด แมที่ไมมีน้ําฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้วา เปนของไมเที่ยง เปนทุกข ไมใชตัวตน ไมสวยงามวาเปนของเที่ยง เปนสุข เปนตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได ที่แท พิจารณาเห็นกาย ทาน อธิบายวา พิจารณาเห็นกายเปนที่รวมของอาการ คือ ไมเที่ยง เปนทุกข มิใชตัวตน และไมสวยงามตางหาก.

อีกอยางหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ทานกลาวไวขางหนาวา มีลมอัสสาสะ ปสสาสะ เปนตน มีกระดูกที่ปนเปนที่สุด ตามนัย พระบาลีเปนตน วา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปปาก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ เขา ดังนี้ และกายอันใดที่ทานกลาวไวในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) วา ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ํา กายคือไฟ กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนึ่ง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเปน ของไมเที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แมอยางนี้วา ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เทานั้น. อีกอยางหนึ่ง พึงทราบความอยางนี้วา พิจารณาเห็นกาย ที่นับวา เปนที่รวมแหงธรรมมีผมเปนตนในกาย โดยไมพิจารณาเห็นสวนใดสวนหนึ่ง ที่พึงถือวาเปนเรา เปนของเราในกาย แตพิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เทานั้นเปน ที่รวมแหงธรรมตาง ๆมีผม ขนเปนตน.

อนึ่ง พึงทราบความอยางนี้วา พิจารณาเห็นกายในกายแมโดยพิจารณา เห็นกายที่นับวาเปนที่รวมแหงอาการ มีลักษณะไมเที่ยง เปนตน ทั้งหมดทีเดียว ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลําดับบาลี เปนตนวา พิจารณาเห็นใน

พระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรคเลม ๒ ภาค ๒ - หนาที่ 284

กายนี้ โดยความเปนของไมเที่ยง ไมใชโดยเปนของเที่ยงดังนี้. จริงอยางนั้น ภิกษุผูปฏิบัติ ปฏิปทา คือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ ยอมพิจารณาเห็นกาย อันนี้โดยเปนของไมเที่ยง ไมใชเห็นโดยเปนของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยเปน ทุกข ไมใชเห็นโดยเปนสุข พิจารณาเห็นโดยมิใชตัวตน ไมใชเห็นเปนตัวตน ดวยอํานาจ อนุปสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ ประการ มีพิจารณาเห็นความ ไมเที่ยงเปนตน ยอมเบื่อหนาย มิใชยินดียอมคลายกําหนัด มิใชกําหนัด ยอม ดับทุกขมิใชกอทุกข ยอมสละ มิใชยึดถือ. ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้ โดยความเปนของไมเที่ยง ยอมละนิจจสัญญาความสําคัญวาเที่ยงเสียได เมื่อ พิจารณาเห็นโดยความเปนทุกข ยอมละทุกขสัญญาความสําคัญวาเปนสุขเสียได เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเปนของไมใชตัวตน ยอมละอัตตสัญญาความสําคัญวา เปนตัวตนเสียได เมื่อเบื่อหนาย ยอมละความยินดีเสียได เมื่อคลายกําหนัด ยอมละความกําหนัดเสียได เมื่อดับทุกข ยอมละเหตุเกิดทุกขเสียได เมื่อสละ ยอมละความยึดถือเสียได ดังนี้ พึงทราบดังกลาวมาฉะนี้


ท่านกล่าวคำนี้ เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น ไม่ใช่ฆนสัญญา

พึงทราบว่า พิจารณาเห็นกายในกายนี้เท่านั้น คือเห็นกายว่าเป็นกายกายแปลว่าประชุม เห็นกายคือเห็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็น

สิ่งหนึ่งสี่งใด เห็นรูปารมณ์ คือสี่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่สี่งหนึ่งสี่งใด เป็นธรรมที่เพียงปรากฏให้เห็น ไม่ต้องใช้คำอะไรเลยไม่มีชื่อ ไม่ต้องคิดถึง รูปร่าง สัณฐาน ไม่ต้องเรียกอะไรเลย เพราะเป็น ปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ เท่านั้น ธรรมนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และไม่งามด้วย

ดังนั้นบุคคลเห็นสี่งใด สี่งนั้นก็ไม่ได้เห็น ขณะที่เห็น ไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่สี่งหนึ่งสี่งใด เป็นแต่เพียงสี่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ต้วตน และไม่งาม ถ้าเห็นแล้วก็หลงติดทันที เพราะความไม่รู้ เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ดังนี้



  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 25 ธ.ค. 2550

ผู้ที่ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีความสุข ปราศจากเครื่องกังวล และถ้าเห็นแล้วไม่ติด ต้องเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 25 ธ.ค. 2550

ยังเป็นผู้ติดอยู่ ยังเป็นผู้ข้องอยู่ และยังเป็นผู้พยายาม ขวนขวาย เพื่อความไม่เป็นผู้ติด ผู้ข้อง อยู่ด้วยเช่นกันค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ฟังธรรมที่ ท่านอาจารย์ บรรยาย และ สอน ไปเรื่อยๆ ให้เข้าใจเพี่มขึ้นทีละน้อยเพื่อค่อยๆ เป็นผู้มีความเห็นถูกเพี่มขึ้น จนสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้มีปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง โดยทั่วๆ ไปอย่าคิดหรือหวังที่จะละความติดข้องต้องการ พระอรหันต์เท่านั้นที่ละโลภะได้หมดสื้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 4 พ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ