ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

 
pirmsombat
วันที่  25 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6678
อ่าน  2,176

ว่าด้วยผัสสะ

[๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส

มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา

สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา ผัสสะ

อันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากตะ ผัสสะอันเป็น

กามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็น

สุญญตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็น

โลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต

ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็นแห่ง

ความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จาก

ธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จาก

ความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง เห็นโสตสัมผัส

เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็น

อธิวจนสัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็น

สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา

เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยา-

กตะ เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

อันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ

เห็นผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็น

โลกุตระว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง

จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จาก

ธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่าง

จากผัสสะอันเป็นอนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะอันเป็น

อนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน

เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะ

อันเป็นอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสนะเป็นโลกุตระ

อันปฏิสังยุตด้วยสุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของ

ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่

ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ

กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ

ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ

เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย.

...........................................................................................................

คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จาก

ธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จาก

ความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง เห็นโสตสัมผัส

เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส หมายความว่า ขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก เพราะ จักษุสัมผัส ก็คือ เห็น นั่นเอง ทางอื่นก็ทำนองเดียวกัน ท่านกล่าวว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย คือผัสสะ ทั้ง ๖ ทาง ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เรามาอบรมเพื่อเป็น ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลายกัน โดยเข้าใจว่าการเห็น การได้ยิน .......คิดนึก เป็นสภาพธรรมที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา แต่ก่อนที่จะรู้ว่าสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น ต้องรู้ว่าขณะที่ จักษุสัมผัส หรือ เห็น เกิดขึ้นนั้น สติปัญญารู้ว่า มีสภาพรู้ทางตาหรือรู้ว่ามีสี่งที่ปรากฏทางตาคือ รูปารมณ์ เป็นอารมณ์หลังจากนั้นคิดนึกจะตามมาทันที ก็คือมีจิตที่มีบัญญัติป็นอารมณ์ตามมาทันที นั่นเองเพราะฉะนั้นรู้ว่า จิตขณะใดมีปรมัตถเป็นอารมณ์ จิตขณะใดมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ด้วย สติสัมปชัญญะรู้ ลักษณะของ นาม รูป รู้จิตขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ทั่วทั้ง ๖ ทวารและ อบรมเจริญสติปัญญาเนืองๆ บ่อยๆ ตามปกติต่อไป จนกว่าจะรู้ว่า ผัสสะทั้งหลายเป็นสภาพธรรมที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


Tag  ผัสสะ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

รู้จักโลกของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามความเป็นจริง เป็นธรรมะ

ย่อแล้วเหลือนามธรรมและรูปธรรม ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 26 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 14 มิ.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 15 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ