พระผู้มีพระภาคย์ (ภควา) เป็นไฉน.?

 
เจตสิก
วันที่  26 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6681
อ่าน  1,593

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 9

อธิบายคำว่า ภควา ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็นคำเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพว่า ภควา. และพระตถาคต ชื่อว่า เป็นที่เคารพของสัตว์ทั้งหลายเพราะทรงวิเศษด้วยสรรพคุณ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ภควา. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระตถาคตนั้น ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ ด้วย เหตุนั้น จึงขนานพระนานว่า ภควา. อันที่จริง คำพูดที่ระบุถึงบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด กล่าวกันว่า ประเสริฐที่สุด เพราะดำเนินไปด้วยกันกับคุณอันประเสริฐที่สุด. อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคลกล่าว ได้แก่ความหมาย. เพราะเหตุนั้นในบทว่า ภควาติ วจนํ เสฏ€ํ จึงมีความหมายว่า ความหมายใดที่จะพึงพูดด้วยคำว่า ภควา นี้ ความหมายนั้นประเสริฐที่สุด. แม้ในบทว่า ภควาติวจนมุตฺตมํ นี้ ก็นัยนี้แล. บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ เพราะทรงประกอบด้วยคุณของบุคคลผู้เป็นที่เคารพ.อีกประการหนึ่ง พระตถาคต ชื่อว่า ทรงควรแก่ความเคารพ ก็เพราะเหตุที่ทรงควรซึ่งการการทำความเคารพอย่างดียิ่ง. หมายความว่า ทรงควรแก่ความเคารพ. เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า ภควา นี้ จึงเป็นคำเรียกบุคคลผู้วิเศษโดยคุณบุคคลผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และบุคคลผู้เป็นที่เคารพคารวะ ดังนี้แล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

อีกประการหนึ่ง พึงทราบความหมายของบทว่า ภควา ตามนัยที่มาในนิทเทสว่า พระพุทธเจ้านั้น บัณฑิตขนานพระ นามว่า ภควา เพราะเหตุที่พระองค์ทรง มีภคธรรม ๑ ทรงมีปกติเสพภคธรรม ๑ ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง ธรรม ๑ ทรงทำลายนามรูป ๑ ทรง เป็นที่เคารพ ๑ ทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีพระองค์อบรมดี แล้วด้วยญายธรรม จำนวนมาก ๑ ทรงถึงที่สุดแห่งภพ ๑.และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทรงมีภาคย- ธรรม ๑ ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบ ด้วยภัคคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง ธรรม ๑ ทรงมีคนภักดี ๑ ทรงคายการ ไปในภพทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับ ขนานพระนามว่า ภควา.ก็ความหมายนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในพุทธานุสตินิทเทส ในวิสุทธิมรรคอย่างครบถ้วน เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง. พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ผู้อบรมพุทธกรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม. พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงอบรมพุทธกรธรรม ๑ ทรงเสพภาค- ธรรม ๑ ทรงเสพภคธรรม ๑ ทรงมีคน ภักดี ๑ ทรงคายภคธรรม ๑ ทรงคายภาคธรรม ๑. ในความหมายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

๑. ทรงมีภาคธรรม

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม เป็นอย่างไร? คือ กองธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งคุณมีศีลเป็นต้นที่วิเศษยิ่ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่นมีอยู่ คือ หาได้เฉพาะแก่พระตถาคตเจ้า จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้านั้น ทรงมี คือ ทรงได้ภาคแห่งคุณ ได้แก่ส่วนแห่งคุณ อันเป็นนิรัติสัย (ไม่มีส่วนแห่งคุณอื่นที่ยิ่งกว่า) ไม่จำกัดประเภทไม่มีที่สุด ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ สัมปชัญญะ สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล ๓สุจริต ๓ สัมมาวิตก ๓ อนวัชชสัญญา ๓ ธาตุ ๓ สติปัฎฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๘ อริยมรรค อริยผล ๔ ปฎิสัมภิทา ๔ญาณกำหนดรู้กำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสารณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนญาณ (ญาณเป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ) ๕ วิมุตติปริปาจนียปัญญา (ปัญญาเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ) ๕ อนุสติฐาน (ที่ตั้งแห่งอนุสติ) ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖อนุตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ เทศนาว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๗ เทศนาว่าด้วยพลธรรมของพระขีณาสพ ๗ เทศนาว่าด้วยหตุให้ได้ปัญญา ๘ สัมมัตต-ธรรม ๘ การล่วงพ้นโลกธรรม ๘ อารัมภวัตถุ ๘ อักขณเทศนา (เทศนา-ว่าด้วยขณะที่ไม่สามารถประพฤติพรมจรรย์ได้) ๘ มหาบุรุษวิตก ๘ เทศนาว่าด้วยอภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ เทศนาว่าด้วยสัตตาวาส ๙ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุ สัญญา ๙ นานัตตธรรม ๙ อนุปุพพวิหารธรรม ๙นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ (บ่อเกิดกสิณ) ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐อานิสงส์เมตตา ๑๑ อาการธรรมจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๐ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อตปนียธรรม ๑๖ พุทธ-ธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ อุทัยพพยญาณ ๕๐กุศลธรรมมากกว่า ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติสองล้านสี่แสนโกฎิ มหาวชิร-ญาณ ๕ เทศนานัยว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยในอนันตนยสมันตปัฏฐานปกรณ์และญาณแสดงถึงอาสยะเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันไม่มีที่สุด. เพราะเหตุนั้น เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภาควา เพราะเหตุที่ทรงมีภาคแห่งคุณ ตามที่ได้กล่าวจำแนกไว้แล้ว ท่านก็ขนานพระนามว่า ภควาโดยรัสสะ อา อักษรเป็น อะ อักษร. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ดังพรรณนามานี้ก่อน. เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มี ศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระสุคตอย่างครบถ้วน ฉะนั้น บัณฑิต จึงขนานพระนามพระองค์ ว่า ภควา.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

๒. ทรงอบรมพุทธกรธรรม

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรมเป็นอย่างไร คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็น-พระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี ๑๐ ได้แก่ ทานบารมีศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมีอธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐รวมเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน สังคหวัตถุ ๔ มีทานเป็นต้น อธิษฐานธรรม ๔มหาบริจาค ๕ คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคนัยนา (ดวงตา) การบริจาคทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยาการกล่าวธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่พระญาติ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหา-สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวลผู้ประมวลธรรม ๘ ประการ มีความเป็นมนุษย์เป็นต้นไว้อย่างพร้อมมูลแล้วกระทำมหาภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา) พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่างครบถ้วนไม่ขาดสาย สิ้นเวลา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหา-ภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธที่ปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงักโดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูงๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อ-ควรขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวาย พระนามว่า ภควา เพราะแปลงอักษร ต ให้เป็นอักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. อีกอย่างหนึ่งบทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกร-ธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุที่พระโลกนาถ ทรงอบรม สัมภารธรรมทั้งหมด มีทานบารมีเป็นต้น เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึง ถวายพระนามว่า ภควา.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

๓. ทรงเสพภาคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมเป็นอย่างไร? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวันนับได้จำนวนสองหมื่นสี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงส้องเสพ ได้แก่ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่งสมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันของพระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรงเสพภาคธรรม. อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศลเป็นต้น และมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ ๔ อย่างแต่เมือว่าโดยพิสดารก็คือ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้นว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ฯลฯ เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุต้องทำให้แจ้ง ฯลฯ การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึงความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ต้องเจริญ ๑ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนาและอาเสวนะตามควร. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระ-มหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณคือ เป็นภาคแห่งคุณทีทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของเวไนยสัตว์. และความปรารถนานั้นของพระองค์ ก็ได้นำผลมาให้สมพระประสงค์.พระพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้. เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า ทรงเสพ ทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุ ไญยธรรมเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ สัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 16

๔. ทรงเสพภคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม เป็นอย่างไร? คือ ว่าโดยย่อก่อน สมบัติทั้งหลายทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระชื่อว่า ภคะ เพราะอันบุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญไว้แล้ว ถึงพร้อมด้วยปโยคะ เสพได้ตามควรแก่สมบัติ. ก่อนอื่นในภคธรรมทั้งสองนั้น ภคธรรมที่เป็นโลกิยะอันสูงสุดอย่างยิ่งยวด พระตถาคตเจ้า ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ก็ได้เสวย คบ เสพมาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงดำรงอยู่ แล้วจึงได้พิจารณาพุทธกรรรมอย่างครบถ้วน บ่มพุทธธรรมให้สุกเต็มที่ ต่อเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรมเหล่านั้น อันเป็นโลกุตระประกอบด้วยภาวะอันไม่มีโทษลึกซึ้ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น. ส่วนที่ว่าโดยพิสดาร พระตถาคตเจ้า (ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์) ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม (อันเป็นโลกิยะ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ ความเป็นพระเจ้าประเทศ ความเป็นเอกราช จักรพรรดิราชสมบัติ และเทวราช-สมบัติเป็นต้น และครั้นได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม (อันเป็นโลกุตระ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ อุตริมนุสธรรมมีฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การเจริญมรรคและการทำผลให้แจ้งเป็นต้น. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะความหมายว่า ทรงเสพภคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้. เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสพโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ จำนวนมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ- นามว่า ภควา.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 17

๕. ทรงมีคนภักดี

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี เป็นอย่างไร? คือ พระองค์ทรงมีคนภักดี คือ มีคนที่ภักดีอย่างมั่นคงอยู่มาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีคนภักดี. เป็นความจริง พระตถาคตเจ้าชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะพรั่งพร้อมด้วยคุณวิเศษที่มีอำนาจหาที่เปรียบประมาณมิได้ อาทิพระมหากรุณาและพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงมีอุปการะอย่างยิ่งยวดในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยปโยคสมบัติอันยอดเยี่ยม นิรัติสัย มีการบำบัดสิ่งไม่เป็นประโยชน์ถึงก่อนมีการจัดสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขให้ครบถ้วนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงมีรูปกายประดับด้วยคุณวิเศษอันไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่น เช่น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกไปวาหนึ่งเป็นต้น ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบด้วยเสียงสดุดีที่แสนไพบูลย์แสนบริสุทธิ์ แผ่ไปในไตรโลกเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า อิติปิโส ภควา ซึ่งพระองค์ทรงได้มาจากพระคุณตามที่เป็นจริง ชื่อว่าสูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงดำรงมั่นอยู่ในพระคุณ มีความมักน้อยและความสันโดษเป็นต้นที่ถึงขั้นเป็นบารมีขั้นสูงสุด ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์เพราะทรงประกอบด้วยคุณวิเศษอันยิ่งยวดมีทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณเป็นต้น ชื่อว่า ทรงเป็นยอด คือ ทรงเป็นฐานให้เกิดความภักดีอย่างพร้อมมูล เพราะทรงเป็นบ่อเกิดแห่งความเอื้อเฟื้อ ความนับถือและความเคารพอย่างมากของสัตว์ทั้งหลายไม่จำกัดรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะทรงเป็นผู้ที่ น่าเลื่อมใสทุกด้าน โดยทรงนำความเลื่อมใสมาให้โดยประการทั้งปวงในโลก-สันนิวาสผู้ยึดถือประมาณ ๔ อย่างนี้ คือ ผู้ถือรูปเป็นประมาณก็เลื่อมใสในรูป ๑ผู้ถือเสียงเป็นประมาณก็เลื่อมใสในเสียง ๑ ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณก็เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑ ผู้ถือธรรมเป็นประมาณก็เลื่อมใสในธรรม ๑.บุคคลเหล่าใดตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ประกอบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ความภักดีของบุคคลเหล่านั้น อันใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์เทวดา มาร หรือพรหม ก็ลักไปไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลเหล่านั้น แม้ตนเองจะต้องเสียชีวิต ก็จะไม่ยอมทิ้งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้น หรือคำสั่งของพระองค์ ก็เพราะต่างมีความภักดีอย่างมั่นคง. ด้วยเหตุนั้นแลพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า ผู้ใดแลเป็นปราชญ์ เป็นผู้กตัญญูกต- เวที ผู้นั้นย่อมเป็นกัลยาณมิตรและมีความ ภักดีอย่างมั่นคงและว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดา ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวกของเราก็จะไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราตถาคตบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันแล. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรงมีคนภักดี ดังพรรณนามาฉะนี้ เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภตฺตวาแต่กลับขนานพระนามว่า ภควา โดยลบ ต อักษรเสียตัวหนึ่งแล้วแปลง ต อักษรอีกตัวหนึ่งให้เป็น ค อักษร ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. เพราะเหตุที่พระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยพระคุณอันยิ่งยอด ทรงมีปกติแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงมีคน ภักดีมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนาม ว่า ภควา.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 19

๖. ทรงคายภคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมเป็นอย่างไร? คือ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า แม้ครั้งยังเป็นพระ-โพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ได้ทรงคายขยอกทิ้งซึ่งสิริและอิสริยยศที่เรียกว่า ภคะ อย่างไม่ใยดีเหมือนทรงบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. จริงอย่างนั้นอัตภาพที่พระองค์ทรงสละสิริราชสมบัติอันเป็นเช่นกับราชสมบัติของเทวดาด้วยอำนาจการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี กำหนดจำนวนไม่ได้ในชาติทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ ในคราวเกิดเป็นโสมนัสสกุมาร ในคราวเกิดเป็นหัตถิปาลกุมารในคราวเกิดเป็นอโยฆรบัณฑิต ในคราวเกิดเป็นมูคปักขบัณฑิต (พระเตมีย์) ในคราวเกิดเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม. แม้ในอัตภาพก่อนๆ พระองค์ก็มิได้สำคัญสิริจักรพรรดิราชสมบัติมีความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันเป็นเช่นเดียวกับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศที่สง่างามด้วยรัตนะ ๗ ซึ่งเป็นที่อาศัยของสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทีอยู่แค่เอื้อมว่า ยิ่งไปกว่าหญ้า ทรงละทิ้งไปอย่างไม่ใยดี แล้วเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมมีสิริเป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ภค เพราะเป็นเครื่องไป คือ เป็นไปสม่ำเสมอแห่งนักษัตรทั้งหลายที่ชื่อว่า ภา อันอาศัยโลกพิเศษซึ่งจำแนกเป็นภูเขาสิเนรุ ยุคันธร อุตตรทวีป กุรุทวีปและภูเขาหิมวันต์เป็นต้น ชื่อว่า โสภา เพราะมีความตั้งมั่นตลอดกัป. พระผู้มี-พระภาคเจ้าทรงคาย คือ ทรงละภคธรรม แม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะอันปฏิพัทธ์ในภคธรรมนั้น เพราะก้าวล่วงซึ่งสัตตาวาสอันอยู่อาศัยภคธรรมนั้น.พระพุทธเจ้าพระนามว่า ภควา เพราะทรงคายภคธรรมทั้งหลาย แม้ด้วยประการฉะนี้. พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะ ทรงละจักรพรรดิสิริ ยศ อิสริยะ สุข และการสะสมโลก.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 20

๗. ทรงคายภาคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง-คายภาคธรรมเป็นอย่างไร? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย.โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฎฐาสหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูปเวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่องประกอบไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึง (คัณฐะ) ทั้งหมด กิเลสเครื่องผูกมัดไว้ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาค-ธรรมเหล่านั้นโดยมิทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น.จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียวโดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรมไปตามลำดับบทมีอาทิ คือ ปฐวีอาโป เตโช วาโย ซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่งทีเดียว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหากาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ฯลฯมโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักษุสัมผัสชาเวทนา ฯลฯ มโน-สัมผัสชาเวทนา จักษุสัมผัสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสชาสัญญา จักษุ สัมผัสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหารูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ดังนี้ว่า อานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้วพ้นแล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว ตถาคตจักกลับมาหาสิ่งนั้นอีก เรื่องนี้ไม่ใช่ฐานะจะมีได้. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรงคายภาคธรรม ดังว่ามานี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เจตสิก
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

อีกประการหนึ่ง บทว่า ภาเค วมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคาย ขยอก สละ ทิ้งธรรมทั้งหมด คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรมธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมดำ และธรรมขาว ทางพระโอษฐ์คืออริยมรรคญาณ และทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นอย่างนั้น แก่บุคคลเหล่าอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรมทั้งหลายเธอก็ต้องละ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจึงแสดงธรรมเปรียบด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย เพื่อต้องการให้ถ่ายถอน มิใช่เพื่อให้ยึดถือเป็นต้น. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม แม้ดังพรรณนามาฉะนี้. เพราะเหตุที่ธรรมดำและธรรมขาว ซึ่งแยกประเภทออกเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหา พระคุณอันยิ่งใหญ่ทรงคายได้แล้ว ฉะนั้น พระองค์จึงได้รับขนานพระนานว่า ภควา.ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ทรง อบรมพุทธกรธรรม ทรงเสพภาคธรรม ทรงมีภคธรรม ทรงมีคนภักดี ทรงคาย ภคธรรม ทรงคายภาคธรรม.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pornpaon
วันที่ 26 ธ.ค. 2550
ขอขอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
udomjit
วันที่ 16 ม.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ