เหตุเดียว...แต่ความรู้สึกต่างกัน [สกมานสูตร]

 
พุทธรักษา
วันที่  28 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6719
อ่าน  1,465

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

สกมานสูตร

เทวดากล่าวว่า เมื่อนกทั้งหลายพักร้อนในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ ประหนึ่งว่า ครวญคราง ความครวญครางของป่านั้น เป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ ประหนึ่งว่า ครวญคราง นั้นเป็นความยินดี ปรากฏแก่เรา



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 28 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 ธ.ค. 2550

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๗

อรรกถา สกมานสูตร

วินิจฉัยในสกมานสูตรที่ ๕ ต่อไป

บทว่า ฐิ เต มชฺฌนฺติเก แปลว่า ในเวลาเที่ยงวัน

บทว่า สนฺนิสินฺเนสุ ได้แก่ อาศัยพักอยู่ในที่อันไม่เสมอกัน เพราะเข้าไปสู่ที่ตามความสบายอย่างไร อธิบายว่า ชื่อว่า เวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถของสรรพสัตว์ทั้งหลาย แต่ในที่นี้ ท่านแสดงความทุรพลแห่งอิริยาบถของนกทั้งหลายเท่านั้น

บทว่า ปลาเตว ได้แก่ ดุจเสียงครวญคราง ดุจการเปล่งเสียงร้องใหญ่ ก็ในที่นี้ท่านกล่าวเอาเสียงที่รบกวนเท่านั้น เสียงนี้แหละเปรียบดังเสียงครวญคราง จริงอยู่ในฤดูร้อนเวลาเที่ยงวัน พวกสัตว์ ๔ เท้า และพวกปักษีทั้งหลาย มาประชุมกัน (พักเที่ยง) เสียงใหญ่ คือ เสียงแห่งโพรงต้นไม้อันลมเป่าแล้ว ด้วยแห่งปล้องไม้ไผ่ที่เป็นรูอันลมเป่าแล้ว ด้วยแห่งต้นไม้ซึ่งต้นกับต้นเบียดสีกัน และกิ่งกับกิ่งเบียดสีกันด้วย ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางป่า เสียงครวญครางนั้น ท่านกล่าวหมายเอาเสียงใหญ่นี้

บทว่า ตํ ภยํ ปฏิภาติ มํ ความว่า ในกาลเห็นปานนั้น เสียงเช่นนั้น ย่อมปรากฏเป็นภัยแก่ข้าพเจ้า ได้ยินว่า เทวดานั้นมีปัญญาอ่อน เมื่อไม่ได้ความสุข ๒ อย่าง คือ ความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูดของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ก็เพราะในกาลเช่นนั้น เป็นเวลาสงัดของภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งถือเอากรรมฐานในป่าชัฏ แล้วความสุขมีประมาณมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำอันใดว่า

พสุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโนอมานุส รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโตติ จปุรโต ปจฺฉโต วาปิ อปโร เจ น วิชฺชติอตีว ผาสุ ภวติ เอกสฺส วสโต วเนติ จ

เมื่อภิกษุเข้าไปสู่สูญญาคาร (เรือนว่าง) มีจิตสงบแล้ว ยินดีอยู่ในสิ่งที่มิใช่ของมนุษย์ จึงเห็นธรรมโดยชอบ ดังนี้ และคาถาว่า บุคคลอื่นข้างหน้า หรือว่าข้างหลัง ย่อมไม่ปรากฏเมื่อเป็นผู้เดียวอยู่ในป่า ความผาสุกย่อมเกิดได้โดยเร็วดังนี้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาที่ ๒ บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สา รติ ปฏิภาติ มํ อธิบายว่า ในเวลาเห็นปานนี้ ชื่อว่า การนั่งของบุคคลผู้เดียวอันใด นั้นเป็นความยินดีย่อมปรากฏแก่เรา คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ

จบอรรถกถาสกมานสูตรที่ ๕

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 29 ธ.ค. 2550

ลูกนกสองตัวเป็นพี่น้องกัน ตัวหนึ่งฤาษีเลี้ยงไว้ เป็นนกมีศีล พูดเพราะ สุภาพ ลูกนกอีกตัวหนึ่ง โจรเลี้ยงไว้ก็มีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่มีศีลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แช่มชื่น
วันที่ 29 ธ.ค. 2550

ผู้มีกิเลสเจอเหตุอย่างหนึ่ง ก็กล่าว วาจาด้วยความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง เฉยๆ บ้าง ผู้หมดกิเลสเจอเหตุอย่างหนึ่ง ก็กล่าว วาจาด้วยความไม่ประมาทในเหตุนั้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 1 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 2 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาในความกรุณาของ "บ้านธัมมะ" ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 10 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Kalaya
วันที่ 10 พ.ค. 2563

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 4 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ