อสิลักขณชาดก .. เหตุอย่างเดียวกัน คนได้ผลต่างกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒
๖. อสิลักขณชาดก
ว่าด้วยเหตุอย่างเดียวกัน คนได้ผลต่างกัน [๑๒๖] "เหตุอย่างเดียวกันนั่นแหละ เป็นผลดีแก่ คนหนึ่ง แต่เป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้ เพราะ ฉะนั้นเหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าจะเป็นผลดีไป ทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายเสมอไป"
ลึกซึ้งเกินกว่าจะเข้าใจ ขอความกรุณาขยายความให้เข้าใจหน่อยค่ะ
เหตุเดียว ให้ผลดีหนึ่ง ให้ผลร้ายหนึ่ง ขออนุโมทนาค่ะ
โปรดอ่านจากชาดกโดยตรง...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ 491
อรรถกถาอสิลักขณชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพราหมณ์ ผู้ตรวจลักษณะดาบของพระเจ้าโกศล
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ
ดังนี้ :-
ได้ยินว่าพราหมณ์นั้น ในเวลาที่พวกช่างเหล็ก นำดาบ
มาถวายพระราชา ก็สูดดมดาบ แล้วชี้ถึงลักษณะดีชั่วของดาบ เขาได้ลาภจากมือของช่างดาบพวกใด ก็กล่าวดาบของช่างพวกนั้นว่า สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ประกอบด้วยมงคล ไม่ได้จากมือของช่างพวกใด ก็ติเตียนดาบของช่างพวกนั้นว่า อัปลักษณ์ ครั้งนั้นช่างดาบคนหนึ่งกระทำดาบแล้ว ใส่พริกป่นอย่างละเอียดในฝักนำดาบมาถวายพระราชา พระราชารับสั่งหาพราหมณ์มาตรัสว่า ท่านจงพิจารณาดูดาบทีเถิด เมื่อพราหมณ์ชักดาบออกมาดม พริกป่นเข้าจมูก ทำให้เกิดอยากจามขึ้น เมื่อพราหมณ์กำลังจามอยู่นั่นแหละ จมูกก็ถูกคบดาบบาดขาดเป็นสองชิ้น ข้อที่พราหมณ์นั้นจมูกขาดรู้กันทั่วในหมู่สงฆ์ ...........