อรรถกถา สัพพาสวสังวรสูตร .. ถูกด่าตลอดทาง ก็ไม่โกรธ

 
khampan.a
วันที่  2 ม.ค. 2551
หมายเลข  6829
อ่าน  1,815

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ข้อความตอนหนึ่งจาก... อรรถกถา สัพพาสวสังวรสูตร

ได้ยินว่า พระทีฆภาณกอภยเถระกล่าวมหาอริยวังสปฏิปทา เพื่อความ เป็นผู้ยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย. ชาวบ้านทั้งหมด ต่างพากันมา. มหาสักการะจึงได้เกิดมีแก่พระทีฆภาณกอภยเถระ. พระมหาเถระบางรูป อดกลั้นสักการะนั้นไม่ได้ จึงด่า โดยนัยเป็นต้นว่า พระทีฆภาณกะก่อความ วุ่นวายขึ้นตลอดคืน ด้วยกล่าวว่าเราจะกล่าวอริยวงศ์. ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป (เวลาเดินทาง) กลับไปสู่วิหารของตนๆ และได้เดินร่วมทางเดียวกันไป สิ้นหนทางประมาณคาวุตหนึ่ง. พระเถระนั้นก็ได้ด่าพระทีฆภาณกเถระแม้ ตลอดคาวุตทั้งสิ้น. ครั้นแล้ว พระทีฆภาณกเถระ ยืนอยู่ในที่ที่หนทางของวิหารทั้ง ๒ แยกกัน ไหว้พระเถระนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญนี้เป็นทางของท่าน ดังนี้.

พระเถระนั้นเดินจากไปทำเหมือนไม่ได้ยิน. ฝ่ายพระทีฆภาณกเถระไปถึงวิหาร ล้างเท้าแล้ว นั่งลง. อันเตวาสิก จึงได้กล่าวกะท่านว่า "ท่านผู้เจริญ อะไรกัน ทำไมท่านจึงไม่กล่าวอะไรๆ กะพระเถระนั้นซึ่งด่าบริภาษท่านตลอดคาวุตทั้งสิ้น". พระเถระตอบว่า อาวุโส ความอดทนเป็นหน้าที่ของเรา ความไม่อดทน หาใช่เป็นหน้าที่ของเราไม่ เราเองไม่ (เคย) เห็นการพลาดจากกัมมัฏฐาน (ของเรา) แม้ในเพราะการ ยกเท้าข้างหนึ่ง. ในที่นี้ควรทราบว่า ถ้อยคำนั้นแหละ ชื่อว่าถูกต้องตาม ทำนองคลองธรรม.

* หมายเหตุ *

- คาวุต หมายถึง ระยะทางที่สามารถมองเห็นโคซึ่งเดินอยู่ เหมือนหยุดนิ่ง (ตามตำรา ระบุว่า เท่ากับ ๔ กิโลเมตร)

-อริยวังสปฏิปทา หมายถึง ทางดำเนินอันเป็นวงศ์ เป็นแบบแผน เป็นเชื้อสายของพระอริยะ เช่น สันโดษในจีวร สันโดษในบิณฑบาต สันโดษ ในเสนาสนะ เป็นผู้มีภาวนา (การบำเพ็ญกุศล) เป็นที่มายินดี ยินดีในภาวนา, เป็นผู้มีปหานะ (การละอกุศล) เป็นที่มายินดี เป็นต้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 2 ม.ค. 2551

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แช่มชื่น
วันที่ 2 ม.ค. 2551

พระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล ท่านเห็นคุณของขันติ และท่านก็มีปรกติเจริญสติปัฏฐานอย่างละเอียดครับ ท่านมีสติตามระลึกสภาพธรรมทั้งในกาย เวทนา จิต และธรรม มีสติตามรักษาจิตไม่ให้อกุศลกำเริบ รวมทั้งมีปัญญาสกัดกั้นความเห็นผิดว่าสภาพของเสียง...ไม่ใช่สภาพที่รู้อารมณ์ ครับ เพราะฉะนั้น...ก็ไม่หวั่นไหว ไม่เดือดร้อนไปกับกิเลสที่จะทำให้เกิดความวิปลาสจึงเป็นผู้ที่ไม่มีเวร ไม่ผูกเวร อยู่ด้วยสุขแห่งโสภณธรรมครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 3 ม.ค. 2551
นี่ใช่ไหมคะ ที่กล่าวว่า "ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง" เพราะท่านไม่พลาดจากกัมมัฏฐานเลยตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตรนั้นขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 3 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ทศพล.com
วันที่ 4 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาด้วยครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ