ความพอใจมี ๕ อย่าง

 
pirmsombat
วันที่  3 ม.ค. 2551
หมายเลข  6848
อ่าน  1,048

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความพอใจเป็นเค้ามูล นี้. ความพอใจมี ๕ อย่างคือ...

ความพอใจในการแสวงหาความพอใจในการได้ฉพาะความพอใจในการใช้สอยความพอใจในการสะสมความพอใจในการสละ.

ความพอใจในการแสวงหา เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส ย่อมแสวงหาสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมแสวงหาทรัพย์ นี้ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เฉพาะ เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมได้เฉพาะรูปเสียง กลิ่น รส ย่อมได้เฉพาะสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมได้เฉพาะทรัพย์ นี้ความพอใจในการได้เฉพาะ. ความพอใจในการใช้สอย เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมใช้สอยรูป เสียง กลิ่น รส ย่อมใช้สอยสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมใช้สอยทรัพย์ นี้ความพอใจในการใช้สอย. ความพอใจในการสะสม เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมทำการสะสมทรัพย์ ด้วยคิดว่า จะมีในคราววิบัติ นี้ความพอใจในการสะสม. ความพอใจในการสละ เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมจ่ายทรัพย์แก่พลช้าง พลม้า พลรถ ขมังธนู ด้วยคิดว่าคนเหล่านี้ จักรักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความพอใจในการสละ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177



ตวามพอใจแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา ความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.

..............................................................................................

ความพอใจ มี ๕ อย่าง

๑. ความพอใจในการแสวงหา รูป เสียง กลี่น รส โผฎฐัพพะ และทรัพย์๒. ความพอใจในการได้เฉพาะ รูป เสียง กลี่น รส โผฏฐัพพะ และทรัพย์ที่เฉพาะ๓. ความพอใจในการใช้สอย รูป เสียง กลี่น รส โผฎฐัพพะ และทรัพย์๔. ความพอใจในการสะสม ทำการสะสมทรัพย์ ด้วยคิดว่า จะมีใน คราววิบัติ ๕. ความพอใจในการสละ บางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมจ่ายทรัพย์แก่พลช้าง พลม้า พลรถ ขมังธนู ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ จักรักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความ พอใจในการสละ

ความพอใจแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา ความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.


ตัณหา ย่อมแผ่ซ่านไปใน โลกิยะธรรมทั้งปวงตัณหา ไม่เกิดใน โลกุตตรธรรมเท่านั้นตัณหา เป็นธรรมที่ต้องละ แต่จะละได้ก็ด้วยการรู้ คือ วิชชา

หรือ ปัญญาจะเกิดหรือเจริญขึ้น ก็ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ที่ผมอยากจะกล่าวอีกอย่าง คือ รู้จัก และ ระวังโลภะอย่างละเอียด เช่น ขณะพิจารณาธรรม หรืออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็รู้สึกดีใจที่ได้เจริญกุศลซึ่งเป็นโลภะเสียแล้วและในกรณีอื่นด้วย โลภะเข้ามาได้ทุกรูปแบบเปรียบเหมือนนักเล่นกล ขณะใดที่โลภะเกิด ปัญญาก็ไม่เกิดและโลภะเป็นสี่งที่ต้องละ จึงต้องศึกษาอบรมเจริญปัญญาเนืองๆ บ่อยๆ และเป็น จิรกาลภาวนา คือนานมาก จึงจะสามารถละโลภะได้ พระอรหันต์เท่านั้นที่จะละโลภะได้หมด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ม.ค. 2551

ไม่พ้นไปจากตัณหาหรือโลภะจริงๆ หนทางเดียวคืออบรมเจริญปัญญาระลึกลักษณะ

ของสภาพธัมมะ แม้ขณะที่ตัณหาเกิดว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 4 ม.ค. 2551

ถูกตัณหาที่นุงนังดั่งข่ายดักไว้เกือบตลอดเวลาจริงๆ กำลังค่อยๆ สะสมปัญญาเพื่อค่อยๆ ละ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
phao
วันที่ 4 ม.ค. 2551

ทำไมตัณหามันหนักจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 4 ม.ค. 2551

ดิฉันแบกตัณหามาตลอดชีวิต ไม่เคยเห็นว่าหนักเลย เพิ่งรู้ว่าเป็นของหนักชนิดไม่ธรรมดา แต่เป็นอภิมหาศาลของความหนัก ก็เมื่อได้เริ่มมาฟังพระธรรมนี่เองละค่ะขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
phao
วันที่ 24 เม.ย. 2553

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ