ธาตุเดียวกัน [จังกมสูตร]

 
pirmsombat
วันที่  5 ม.ค. 2551
หมายเลข  6871
อ่าน  1,812

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๓๕. จังกมสูตร

ว่าด้วยการจงกรมของภิกษุหลายรูป


[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏกรุงราชคฤห์. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหากัสสปก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้-มีพระภาคเจ้า ท่านพระอนุรุทธก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระอุบาลีก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลาบรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระ-ภาคเจ้า แม้พระเทวทัตก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก พวกเธอเห็น มหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก พวกเธอเห็นมหากัสสป กำลังจงกรม อยู่ด้วยกัน กับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตร กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก พวกเธอเห็นอุบาลี กำลังจงกรม อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย พวกเธอเห็นอานนท์กำลังจงกรม อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต พวกเธอเห็นเทวทัต กำลังจงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก.
[๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดีย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
แม้ในอดีต

กาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว

คือ สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับ

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอนาคตกาล สัตว์

ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

จบจังกมสูตรที่ ๕ ---------------------------------------------------------------------------

พระสารีบุตร จงกรมกับ ภิกษุ ผู้ล้วนมีปัญญามากพระมหาโมคคัลลานะ จงกรมกับ ภิกษุ ผู้ล้วนมีฤทธิ์มาก


พระมหากัสสัปปะ จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนเป็นธุตวาท (ผู้กล่าวสอนเรื่องธุดงค์, ผู้ส่งเสริมการปฏิบัติธุดงค์) พระอนุรุทธ จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนเป็นผู้มีจักษุทิพย์พระปุณณมันตานีบุตร จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนเป็นธรรมกถึกพระอุบาลี จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัยพระอานนท์ จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนเป็นพหูสูตรพระเทวทัต จงกรมกับ ภิกษุ ล้วนมีความปรารถนาลามก


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 6 ม.ค. 2551

พระพุทธองค์ตรัสเนื้อความละเอียดชัดเจนมากค่ะ อ่านแล้วชัดเลยแต่ว่า... ขอความกรุณาอธิบายคำว่า "ธุตวาท" ด้วยได้ไหมคะ พอดีเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกจึงไม่ทราบความหมายค่ะ เข้าใจว่าเป็นไปในทางที่ดีขอบพระคุณมากค่ะ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธุตวาท คือ ผู้มีวาทะ การกล่าวสอนในการถือธุดงค์ อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลส ดังเช่นพระมหากัสสปะเป็น ธุตวาท เป็นผู้กล่าวสอนในการกำจัดกิเลส ถือธุดงค์ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลส ภิกษุ ที่เดินจงกรมกับท่านก็เป็นธุตวาท เช่นกันครับ (คบกันโดยธาตุ)

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระมหากัสสปเถระ

ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ธุตวาทาน นี้ พึงทราบธุตบุคคล (บุคคลผู้กำจัดกิเลส) ธุตวาทะ (การสอนเรื่องการกำจัดกิเลส) ธุตธรรม (ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส) ธุดงค์ (องค์ของผู้กำจัดกิเลส) .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุโต ได้แก่ บุคคลกำจัดกิเลส หรือธรรมอันกำจัดกิเลส.

ก็ในบทว่า ธุตวาโท นี้ (พึงทราบว่า) มีบุคคลผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลสแต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลส ทั้งไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ทั้งกำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑. ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลได้กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่โอวาทไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์เหมือนพระพักกุลเถระ บุคคลนี้ชื่อว่าผู้กำจัดกิเลสแต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระพักกุละเป็นผู้กำจัดกิเลส แต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. แก่บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ แต่โอวาทอนุศาสน์ คนอื่นด้วยธุดงค์อย่างเดียวเหมือนพระอุปนันทเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระอุปนันทะ ศากยบุตร ไม่เป็นกำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. ก็บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ ไม่โอวาท ไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระโลลุทายีเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส (และ) ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหาโลลุทายีไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. ส่วนบุคคลใดสมบูรณ์ด้วยการกำจัดกิเลส และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนพระมหากัสสปเถระ บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ