การทำสมาธิถึงขั้นไหนที่เรียกว่าได้บุญใหญ่?

 
เจริญในธรรม
วันที่  9 ม.ค. 2551
หมายเลข  6908
อ่าน  4,535

เรียนท่านสหายธรรมและท่านผู้รูธรรมทุกท่าน

ผมได้อ่านเจอในหนังสืออยู่หลายเล่ม (แต่ไม่ใช่พระไตรปิฏก เพราะยังไม่เจอ) เกี่ยวกับบุญต่างที่เราทำเริ่มต้นตั้งแต่ทาน ศีล และมาถึงสมาธิ รู้ว่าการทำสมาธิ ภาวนานั้นได้บุญใหญ่ และก็ได้ยินได้ฟังมาอีกว่า การทำสมาธิเพียงแค่ไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู คือ สมาธิขั้นขณิกสมาธิ บางทีก็ได้ยินมาว่าต้องให้ได้ฌาน ๑ เลยสับสน ครับ เพราะเคยรู้มาว่าฌาน ๑ ก็มีสมาธิ ๓ ขั้น รวมแล้วฌาน ๑ ถึง ๔ ก็จะเป็น ๑๒ ขั้น จึงขอถามท่านผู้รู้ธรรมดังนี้ครับ

๑. การทำสมาธิถึงขั้นไหน หรืออาการของสมาธิที่เป็นแบบใหน และต้องนานเท่าใด ที่เรียกว่าได้บุญใหญ่

๒. คนโดยทั่วไปที่นั่งกันตามพระที่วัด ครึ่งชั่วโมง ๑ ชั่วโมงบ้าง เช่นนี้ ถือว่าได้บุญ ใหญ่หรือไม่ หรือต้องให้ได้สมาธิจริงๆ ตามข้อกำหนด ถ้าเช่นนี้แล้วหากบุคคลใดที่รวบรวม สมาธิได้ไวจิตตั้งมั่นได้ไวเพียงแค่หลับตา ๑ นาที แล้วเกิดสมาธิ ก็ถือว่าได้บุญ ใหญ่หรือไม่

๓. การฝึกกรรมฐานแล้วบ้าเกิดจากอะไร

๔. เราสามารถฝึกสมถกรรมฐานเวลาใดดีที่สุดและเวลาใหนไม่ควรฝึกครับ

๕. เรื่องสมาธิ สมถกรรมฐานมีแสดงในหน้าใหนเล่มใหนของพระไตรปิฏกครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 ม.ค. 2551

๑. และ ๒. สมาธิที่ได้บุญใหญ่ หมายถึง สัมมาสมาธิในองค์มรรค

๓. เพราะอกุศลจึงเป็นบ้า

๔. ถ้าเข้าใจควรทุกเวลา

๕. ในวิสุทธิมรรคสมาธินิเทศ แสดงเรื่องอารมณ์สมถภาวนา ๔๐ อย่าง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 ม.ค. 2551

๑. บุญอยู่ที่จิต เช่น ขณะทีให้ทาน ขณะนั้นจิตสงบจากอกุศล เป็นขณิกสมาธิ ชั่วขณะสั้นๆ

๒. ขณะที่มีความต้องการให้จิตสงบ ขณะนั้นไม่สงบ เพราะมีอกุศลคือโลภะแทรก และ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

๓. ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิก็ทำให้เป็นบ้า เพราะจิตในขณะนั้นเป็นโมหะ เป็นอกุศลจิตที่มีกำลัง จึงทำให้จิตวิกลจริต แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ปัญญาเกิดที่ไหนก็ได้ไม่จำกัดสถานที่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะและขอความกรุณา อธิบายคำว่า "บุญ" โดยละเอียดอีกสักรอบเถอะค่ะ สงสารคนเฒ่าคนแก่ท่าน "...ไปเอาบุญที่วัด..." และ "...ทำบุญทำทานกันเยอะๆ บริจาคเยอะก็ยิ่งได้บุญเยอะ..." หรือ "...วันนี้วันพระ จะไปสวดมนต์ถือศีลแปดนอนอยู่วัดเอาบุญ..." ฯลฯ อีกมากมาย คล้ายๆ หลับหูหลับตาทำบุญ ไม่อยากให้การกระทำใดของท่านเหล่านั้น ต้องสูญเปล่าเลยจริงๆ และเพื่อการเตือนตนเองของดิฉันเสมอๆ ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ขอเชิญอ่านคลิกเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ...

การทำบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ม.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย pornpaon

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๓๘๗

วรรควรรณนาที่ ๒

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑ แห่ง วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุญฺกิริยาวตฺถูนิ ความว่า กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุญ บุญเหล่านั้น ด้วย ชื่อว่า เป็น กิริยา เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยา และบุญกิริยานั่นเอง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้นๆ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 11 ม.ค. 2551

ยังตอบไม่เข้าใจในคำถามที่ 1 ครับ

ช่วยรบกวนอธิบายให้กระจ่างหน่อยนะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oom
วันที่ 11 ม.ค. 2551

สาธุ อ่านที่ไรก็ได้ปัญญา ได้ข้อคิดดีๆ ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยให้ธรรมะเป็นทาน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 11 ม.ค. 2551

เข้าใจในสัมมาสมาธิแล้วครับ ขอบคุณครับ แต่ผมยังมีข้อข้องใจอีกนิดครับ ขอรบกวนอีกทีนะครับ ในคำถามที่ ๑ ที่สมาธิชั่วขณะแค่ไก่กระพือปีก หรือช้างกระดิกหูคือในสมาธิในขั้นไหนครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 11 ม.ค. 2551
แฮ่ะๆ ... ไม่แก้ตัวใดๆ ขอบพระคุณ คุณแล้วเจอกัน มากค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
devout
วันที่ 12 ม.ค. 2551

ตอบ ความคิดเห็นที่ 9

ท่านกล่าวเปรียบเทียบเรื่องของการเจริญเมตตาค่ะว่า แม้เมตตาจะเกิดเพียงชั่วขณะแค่ไก่กระพือปีก หรือ ช้างกระดิกหู ก็มีอานิสงฆ์มาก มีผลมาก ส่วนเรื่องสมาธิ ถ้าไม่ใช่ความสงบขั้นอุปจาร อัปปนาแล้ว ต้องเป็นขณิกสมาธิทั้งสิ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ