ปิยสูตร .. ชนเหล่าไหนชื่อว่ารักตน - ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ม.ค. 2551
หมายเลข  6910
อ่าน  1,513

สนทนาธรรมที่ ..

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

ปิยสูตรที่ ๔

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๒๖


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ม.ค. 2551

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๒๖

ปิยสูตรที่ ๔

[๓๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับครั้นแล้ว จึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (วันนี้) ข้าพระองค์เข้าห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า... ชนเหล่าไหนหนอแลชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน ข้าพระองค์จึงได้เกิดความคิดต่อไปว่า ก็ชนเหล่าใดแลย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารักตน ถึงเช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตนข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ไม่รักใคร่กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักใคร่กันได้โดยประการใด ชนเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายให้แก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนว่าชนเหล่าใดแล ย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ที่รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ผู้ที่รักใคร่กันได้โดยประการใด ชนเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน.

[๓๓๕] พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่า ถูกแล้วๆ มหาบพิตร เพราะว่าชนบางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายมีความรักตน ถึงเช่นนั้นพวกเขาก็ชื่อว่าไม่มีความรักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ไม่รักใคร่กัน ย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักได้โดยประการใด พวกเขาเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น พวกเขาเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ พวกเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นพวกเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าชนผู้รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญให้แก่ชนผู้ที่รักใคร่กันได้โดยประการใด พวกเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้นพวกเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน. [๓๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ ก็ไม่ พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้น เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะไม่ได้โดยง่ายเลย. เมื่อความตายเข้าถึงตัวแล้ว บุคคล ย่อมละทิ้งภพมนุษย์ไป ก็อะไรเป็นสมบัติ ของเขา และเขาจะพาเอาอะไรไปได้ อนึ่ง อะไรเล่า จะติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม ตนไป ฉะนั้น. มัจจาผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายใน โลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือบุญและ บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล และบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อม เป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตน ไป ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณ- กรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วย ว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้ง หลายในปรโลก.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ม.ค. 2551

อรรถกถาปิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปิยสูตรที่ ๔ ต่อไป :-ฅบทว่า รโคตสฺส แปลว่า ไป [อยู่] ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่เร้นอยู่ผู้เดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงนำสูตรนี้ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญู จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช ดังนี้.บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส แปลว่า ผู้ถูกความตายครอบงำแล้ว.

จบอรรถกถาปิยสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ม.ค. 2551

... ขออนุโมทนา ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
spob
วันที่ 9 ม.ค. 2551

ฏีกาปิยสูตร

ข้อที่ว่า ไปในที่ลับ หมายความว่า ทรงหลีกไปจากความแออัดแห่งผู้คน ฯ ข้อที่ว่า เร้นอยู่ ได้แก่ นั่ง ณ ที่แห่งหนึ่ง โดยความสงัดจากผู้คนนั้นนั่นเอง เหมือนอย่างผู้เร้นอยู่คนเดียวฯ เพราะฉะนั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า เอกีภูตสฺส อยู่คนเดียว
ข้อความว่า พระผู้มีพระภาค เมื่อตรัสกระทำให้เป็นสัพพัญญุภาษิต หมายความว่า เมื่อตรัสตรงกับพระดำรัสของพระเจ้าปัสเสนทิ อย่างนั้น เพราะทรงรับพระดำรัส ว่า"เอวเมตํ มหาราช ถูกแล้วๆ มหาบพิตร" ข้อความว่า เมื่อเขาละสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เช่น นา, สวน, เงินและทองไปเพราะความตายมาถึงตนแล้วนั่นแลฯ คำศัพท์ในพระบาลีว่า อนุคํ (แปลว่า ติดตามไป) แก้รูปศัพท์เป็น อนุคตํ มีความหมายว่า บุญและบาปนั้นนั่นแหละที่จะติดตามเขาไปได้ คำว่า นิจยํ เป็นของสะสม ได้แก่ เป็นสิ่งที่เขาสะสม เพราะได้เจริญยิ่งขึ้นๆ ฯ คำศัพท์ในพระบาลีว่า สมฺปรายิกํ (แปลว่า เป็นสมบัติในปรโลก) แก้รูปศัพท์เป็นสมฺปรายหิตํ แปลว่า เป็นประโยชน์ในภพที่จะไปภายหน้าฯ

จบ ฏีกาปิยสูตร

หมายเหตุ ฏีกาปิยสูตรนี้ แปลจาก คัมภีร์สังยุตตฏีกา ปฐมภาค ฉบับมหาจุฬา ฯ หน้า ๑๘๙

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 9 ม.ค. 2551
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 10 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะเป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tanakase
วันที่ 20 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ