ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา [สลฬาคารสูตร]
[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
๘. สลฬาคารสูตร
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา
[๑๒๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้กรุง สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนถือเอาจอบและ ตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ดังนี้ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดน้ำ คงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ. ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ
อ. เพราะเหตุไร
ภิ. เพราะการที่จะทดแม่น้ำคงคาอันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำ ได้ง่าย หมู่มหาชนนั้นจะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า แน่นอน
อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชา มิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ จง มาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้อยู่ทำไม ท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้นมือ ถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมาบริโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลาสิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตที่น้อม ไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน จักหวนสึก มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
[๑๒๘๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล.
จบสลฬาคารสูตรที่ ๘
อรรถกถาสลฬาคารสูตรที่ ๘
สลฬาคารสูตรที่ ๘
คำว่า ณ สลฬาคาร คือในศาลามุงใบไม้ เอาต้น สนสร้าง หรือในอาคารที่มีชื่อเช่นนั้น เพราะอยู่ใกล้ประตูต้นสน. ในสูตรนี้ ทรงแสดงวิปัสสกบุคคลพร้อมกับวิปัสสนา
จบสลฬาคารสูตรที่ ๘
[๑๒๘๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล
ข้อความตอนนี้แม้เราไม่ใช่บรรพชิต ก็สามารถประพฤติปฏิบัติตามได้บ้างถ้าเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ถูกต้อง เช่น เมื่อฟังพระรรมจนเข้าใจ ก็อบรมเจริญสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ลักษณะของนามใดนามหนึ่ง รูปใดรูปหนี่งตามปกติตามธรรมดา และไม่จดจ้องต้องการ ไปเรื่อยๆ โดยไม่ใช่ตัวตน ที่ระลึก
สำหรับผม ถ้าไม่ได้ฟังคำสอนของท่านอาจารย์ สุจินต์ นานหลายสิบปี คงไม่สามารถเข้าใจและเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บ้างครับขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าศึกษาธรรมจากอาจารย์อื่นๆ ทั้งหมด ศึกษาพระไตรปิฏก เรียนบาลี เรียนอภิธรรมและอื่นๆ ทั้งหมดในโลก ผมแน่ใจว่า ผมไม่สามารถเข้าใจพุทธสาสนาอย่างถูกต้องได้ เหมือนอย่างทีผมฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยฉันทะอย่างแรงกล้า ด้วยความเพียรอย่างแรงกล้า มาตลอดเวลา 38 ปี อย่างนี้ ครับ
ที่กุศลอื่นๆ และปัญญาเจริญขึ้น เพราะอาศัยพระคุณของท่าน อาจารย์สุจินต์ที่แสดงธรรมะของพระพุทธเจ้าให้พวกเราได้ฟังค่ะ