พระสูตรเรื่องเด็กหลายคน - ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ม.ค. 2551
หมายเลข  6981
อ่าน  3,179

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

๓. เรื่องเด็กหลายคน

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๗๔

๙. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๙๐


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ม.ค. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๗๔

๓. เรื่องเด็กหลายคน

[๑๐๙] ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเด็กเป็นอันมากตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุขกามานิ ภูตานิ " เป็นต้น. พระศาสดาทรงพบพวกเด็กตีงู ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จทรงบาตรเข้าไปในกรุงสาวัตถี ทรงเห็นพวกเด็กเป็นอันมาก เอาไม้ตีงูเรือน๑ตัวหนึ่ง ในระหว่างทาง ตรัสถามว่า " แน่ะ เจ้าเด็กทั้งหลาย พวกเจ้าทำอะไรกัน? " เมื่อเด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์เอาไม้ตีงู " พระเจ้าข้า " ตรัสถามอีกว่า " เพราะเหตุไร? " เมื่อพวกเขากราบทูลว่า " เพราะกลัวมันกัด พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่า 'จักทำความสุขแก่ตน ' จักไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ . แท้จริง บุคคลเมื่อปรารถนาสุขแก่ตน (แต่) ประหารสัตว์อื่น ย่อมไม่ควร " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๓. สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ. สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ ลภเต สุขํ. " สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล ใดแสวงหาสุขเพื่อตน, แต่เบียดเบียนสัตว์อื่น ด้วยท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข. สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข, บุคคลใด แสวงหาสุขเพื่อตน, ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วย ท่อนไม้, บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย ทณฺเฑน ความว่า บุคคลใดย่อมเบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วย ท่อนไม้หรือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินเป็นต้น. บาทพระคาถาว่า เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่ได้สุขสำหรับมนุษย์ สุขอันเป็นทิพย์หรือสุขคือพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถ์ (สุข) ในโลกหน้า. ในพระคาถาที่ ๒ (มีความว่า) หลายบทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุขํความว่า บุคคลนั้นย่อมได้สุขทั้ง ๓ อย่าง มีประการดังกล่าวแล้วในปรโลก. ในกาลจบเทศนา เด็กเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลดังนี้แล. เรื่องเด็กหลายคน จบ.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ม.ค. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔-หน้าที่ ๙๐๙.

เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ

[๒๐๒] ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพรานเบ็ดชื่ออริยะคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน อริโย โหติ" เป็นต้น. ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดา-ปัตติมรรคของนายอริยะนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูด้านทิศอุดรแห่งกรุงสาวัตถี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จมาแต่บ้านนั้น. ขณะนั้นพรานเบ็ดนั้นตกปลาอยู่ด้วยเบ็ด เห็นภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขได้ทั้งคันเบ็ดยืนอยู่แล้ว. พระศาสดาเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ไม่ไกลพรานเบ็ดนั้นตรัสถามชื่อของพระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นว่า " เธอชื่อไร?เธอชื่อไร?" แม้พระสาวกเหล่านั้น ก็กราบทูลชื่อของตนๆ ว่า " ข้าพระองค์ชื่อสารีบุตร, ข้าพระองค์ชื่อโมคคัลลานะ" เป็นต้น. พรานเบ็ดคิดว่า " พระ-ศาสดาย่อมตรัสถามชื่อสาวกทุกองค์, เห็นจักตรัสถามชื่อของเราบ้าง." ลักษณะผู้เป็นอริยะและไม่ใช่อริยะ

พระศาสดาทรงทราบความปรารถนาของพรานเบ็ดนั้น จึงตรัสถามว่า " อุบาสก เธอชื่อไร?" เมื่อเขากราบทูลว่า " ข้าพระองค์ชื่ออริยะพระเจ้าข้า " ตรัสว่า " อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่านจะชื่อว่าอริยะไม่ได้,ส่วนผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชนจึงจะชื่อว่า "อริยะ" ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. น เตน อริโย โหติ เยน ปาณานิ หึสติ อหึสา สพฺพปาณานํ อริโยติ ปวุจฺจติ. "บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียด- เบียนสัตว์; บุคคลที่เรากล่าวว่า ' เป็นอริยะ' เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง." แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหึสา ความว่า เพราะไม่เบียดเบียน. มีคำอธิบายไว้เช่นนี้ว่า: " บุคคลไม่เป็นผู้ชื่อว่าอริยะ เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย; ส่วนผู้ใดตั้งอยู่ไกลจากความเบียดเบียน เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงด้วยฝ่ามือเป็นต้น คือเพราะความที่ตนตั้งอยู่แล้วในภาวนาเมตตาเป็นต้น,ผู้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' อริยะ." ในกาลจบเทศนา พรานเบ็ดตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ จบ.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 15 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 15 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
นวล
วันที่ 15 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาคะ เบียดเบียน แล้วยังมีชื่อว่าอริยะ

แล้วตรัส พระคาถานี้ว่า :-

บุคคลที่เรากล่าวว่า ' เป็นอริยะ' เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง."

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 16 ม.ค. 2551

เฮ้อ... บังเอิญจังค่ะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ดิฉันตะโกนห้ามเด็กๆ ที่โรงเรียนเท่าไรก็ไม่ฟัง มีงูเขียวที่ดิฉันเคยเห็นเขามาคาบจิ้งจกไปกิน เมื่อหลายอาทิตย์ก่อนตัวยาวแต่ไม่โตมาก เคยบอกเด็กๆ ไปทีหนึ่งแล้วว่าไม่ใช่งูเขียวหางไหม้ แต่เป็นงูเขียวลายพระอินทร์ ที่หน้าบ้านครูก็มีและตัวโตกว่านี้ให้ปล่อยเขาไปและหลีกทางเขาด้วย... คราวนั้นมันรอด (หมายเหตุ ดิฉันเป็นคนกลัวงูมาก แต่ก็ไม่เคยอยากไปยุ่งกับเขาเลย)

คราวนี้ งูตัวนี้เข้ามาในห้องเรียนที่มีเด็กผู้ชายตัวโตๆ เยอะมาก ดิฉันตะโกนห้ามจนหมดเสียง แต่งูก็ไม่รอด โดนไม้กวาด กับที่ตักขยะฟาดซะหลังหัก ในที่สุดก็ต้องตายไป กรรมจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
spob
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ธัมมปทมหาฏีกาทัณฑวรรควัณณนาเรื่อง สัมพหุลกุมารกะ (เด็กหลายคน)


คำว่า ภูต ในคาถาพระธรรมบทว่า สุขกามานิ ภูตานิ ซึ่งภูต (สัตว์) ทั้งหลาย มีคำแปลได้หลายอย่าง ดังนี้ คือ ก. แปลว่า ขันธ์ ๕ ดังในพระบาลีว่า ภูตมิทนฺติ ภิกฺขเว สมนุปสฺสตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูว่า นี้เป็นภูต (เป็นเพียงปัญจขันธ์) . ข. แปลว่า อมนุษย์ ดังในพระบาลีนี้ว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ ภูตานิ (อมนุษย์มีเทวดาเป็นต้น) ทั้งหลายเหล่าใด มาประชุมพร้อมกัน แล้วในที่นี้ ดังนี้. ค. แปลว่า ธาตุ ๔ ดังในพระบาลีนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา ดูก่อนภิกษุมหาภูตรูป (ธาตุ) ๔ แล เป็นเหตุ . . . ดังนี้. ง. แปลว่า มีอยู่ ดังในพระบาลีนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะภูต (เรื่องที่มีจริง) ดังนี้. จ. แปลว่า พระขีณาสพ ดังในพระบาลีนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต ก็ ภูต (พระ-ขีณาสพ) ใดเป็นผู้ กินกาละ ดังนี้. ฉ. แปลว่า สัตว์ ดังในพระบาลีนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสํ ภูตา (สัตว์) ทั้งหลายทั้งปวงแลจักทิ้งร่างกายไว้ในโลก ดังนี้. ช. แปลว่า ต้นไม้ ดังในพระบาลีนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย พรากภูตคาม (ต้นไม้) ดังนี้.
ฌ. แปลว่า มนุษย์ ดังในพระบาลีนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อมหมายรู้ภูต (มนุษย์) โดยความเป็นภูต (มนุษย์) ดังนี้ ญ. แปลว่า ยักษ์ผู้อมนุษย์พิเศษ ดังในพระบาลีนี้ว่า ภูตา วา นาคา วา สุปณฺณาวา อาวฏฺโฏ ความวนเวียนจากภูต (ยักษ์) นาค หรือ พวกครุฑ ดังนี้

แต่ในที่นี้ให้แปลว่า สัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายว่า ซึ่งสัตว์ทั้งหลายคือ เป็นบทกรรม (หมายความว่า เป็นบทกรรมของกิริยาบทว่า วิหึสติ ย่อมทำร้าย คือ ให้แปลประโยคนี้คือ สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ ว่า บุคคลใด เบียดเบียน ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่ต้องการความสุข – spob)

จบ ฏีกาสัมพหลุกุมารก (เด็กหลายคน)

หมายเหตุ แปลจาก คัมภีร์ ธัมมปทมหาฏีกา หน้า ๑๓๔ ฉบับอักษรไทย พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสรมหาเถร ป.ธ. ๘) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ. ๒๕๓๕

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
spob
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ธัมมปทมหาฏีกาธัมมัฏฐวรรควัณณนาเรื่อง พาลิสิกะ (พรานเบ็ด ชื่อ อริยะ)

พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกผู้นี้ว่า อริยะ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ, เพราะเป็นผู้ไกล,เพราะเป็นผู้หักซี่กำของสังสารจักร , หรือเพราะเป็นผู้กำจัดศัตรู เพราะไม่มีที่ลับ, และเพราะควรแก่การบูชา ฯ

ในความหมายเหล่านั้น

คำว่า เสฏฺฐตฺตา เพราะเป็นผู้ประเสริฐ แสดงว่า คำว่า อริยะ กล่าวอรรถว่า ประเสริฐและเป็นคำนามที่ยังไม่สำเร็จรูปซึ่งเป็นชื่อเรียกตามความคุ้นเคย (เรียกว่า รุฬหีนาม ซึ่งเป็นคำนามที่มีความหมายไม่ตรงกับความจริง) เพราะเหตุนั้น ที่ว่า อริยะ ได้แก่ ประเสริฐ ฯ คำว่า อารกตฺตา เพราะเป็นผู้ไกล ความว่า ผู้เป็นพระอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งปวง ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด คำว่า อรา หตา เพราะหักซี่กำ ความว่า ผู้เป็นพระอริยะ เพราะซี่กำของสังสารจักรกล่าวคือ อวิชชาและตัณหา ถูกท่านผู้นี้หักทำลายเสียได้ ฯ คำว่า อรโย วา หรือ เพราะเป็นผู้กำจัดศัตรู ความว่า ศัตรู คือ กิเลสทั้งปวงถูกผู้นี้ได้กำจัดเสียแล้ว ดังนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า อริยะ ฯ คำว่า รหาภาวา เพราะไม่มีที่ลับ ความว่า ท่านผู้นี้ไม่มีที่ลับในการทำบาป ดังนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า อริยะ ฯ คำว่า อรหตฺตา เพราะเป็นผู้ควรแก่บูชา ความว่า ท่านควรรับการบูชาพิเศษแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า อริยะ ฯ ควรค้นคว้าวิธีการสร้างรูปศัพท์ว่า อริยะ ทุกนัย จากคัมภีร์ไวยากรณ์เถิด

จบ ฏีกา เรื่อง อริยพาลิสิกะ (พรานเบ็ดชื่อว่า อริยะ)

หมายเหตุ แปลจาก คัมภีร์ธัมมปทมหาฏีกา หน้า ๒๓๓

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Koy
วันที่ 17 ม.ค. 2551

กราบอนุโมทนาคุณผู้ค้นรายละเอียดของพระสูตรมาให้ได้อ่าน ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นอีก ถึงกับมีจิตอนุโมทนายินดีกับพรานเบ็ดที่ชื่ออริยะที่มีความเห็นถูกและดำรงอยู่ในโสตาปัตติผลได้เพราะฟังธรรมของพระพุทธองค์ อนุโมทนา....สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาท่าน Spob เป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อิสระ
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Komsan
วันที่ 17 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ku_thum
วันที่ 18 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
khampan.a
วันที่ 18 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
michii
วันที่ 16 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ