ผู้ที่มีปัญหาทางจิต

 
oom
วันที่  16 ม.ค. 2551
หมายเลข  7002
อ่าน  1,702

สามารถเจริญสติได้หรือไม่ เพราะมีน้องที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช ทำไมถึงพูดจารู้เรื่อง ถูกต้อง เหมือนคนปกติ แต่เวลาให้ทำงานต่างๆ กลับทำไม่ค่อยได้ สมาธิสั้น แถมรู้มาก เอาเปรียบคนอื่นอีก คืองานที่พอช่วยได้ก็ไม่ช่วย บอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัวเอง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ผู้ที่มีปัญหาทางจิตมีหลายระดับหลายประเภทถ้าบุคคลใดฟังพระธรรมและศึกษา พระธรรมเข้าใจ รู้คำสุภาษิต รู้คำทุพภาษิตได้ บุคคลนั้นย่อมอบรมเจริญปัญญาได้ ตามสมควรแก่ฐานะ

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่กระทู้นี้ครับ

คนที่มีอาการทางจิตสามารถศึกษาธรรมได้หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ถ้าหากมองตามความเป็นจริงในเรื่องของสภาพธัมมะแล้วนั้น ปุถุชนก็ยังเป็นผู้ป่วยทางจิต จิตเป็นอกุศลก็ชื่อว่าป่วยทางจิต แต่สำหรับบุคคลที่ป่วยทางจิต ที่เป็นโรคจิตทางโลกนั้น เกิดจากอกุศลมีกำลังเกิดบ่อย ทั้งอุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านเกิดมาก ทั้งโมหมูลจิตก็เกิดบ่อยมาก เป็นต้น จึงแสดงอาการป่วยเป็นโรคจิต หรือบุคคลที่สะสมความ เคยชินในทางอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งบ่อยๆ ซ้ำซาก ก็ทำให้ป่วยเป็นโรคจิต แต่อย่างไรก็ตาม อกุศลก็สะสมส่วนของอกุศล กุศลก็สะสมส่วนของกุศล (ปัญญา) เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถที่จะอบรมปัญญาได้ แต่ถ้าเหตุปัจจัยไม่พร้อม แม้คนที่ไม่ป่วย เป็นโรคจิต เป็นคนปกติทั่วไปทางโลกที่เข้าใจกัน ก็ไม่สามารถฟังพระธรรมรู้เรื่อง เพราะไม่ได้สะสมความเข้าใจมา แถมเข้าใจธรรมผิดหนักกว่าคนที่ป่วยเป็นโรคจิตอีกต่างหากครับ ดังนั้น เราจึงไม่รู้การสะสมของแต่ละคนเลยที่ได้สะสม ทั้งในเรื่องของปัญญาและอกุศล ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ไม่ควรถือประมาณเอาเองในบุคคลอื่น เพราะเราไม่รู้สิ่งที่สะสมมาของสัตว์โลก
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๔๑
ข้อความบางตอนจาก...

มิคสาลาสูตร
ว่าด้วยไม่ให้ถือประมาณให้บุคคลว่าเสื่อมหรือเจริญ แต่ให้ถือประมาณธรรม

ใคร่เล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ขณะที่เป็นอกุศล เช่น ถีนมิทธ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ป่วยไข้

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕๔

อธิบายนีวรณโคจฉกะ

ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป. บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาว แห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี) แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ความป่วยไข้คือขณะที่มีกิเลส ขณะเป็นกุศลไม่มีกิเลส ไม่ป่วยไข้

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๒๖

อธิบายคำว่า กุศล

บัณฑิตพึงทราบธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค เพราะ ความไม่มีความกระสับกระส่ายด้วยกิเลส ไม่มีความป่วยไข้คือกิเลส ไม่มีพยาธิ คือกิเลสในอรูปธรรมเลย เหมือนคำที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่า ไม่มีโรค เพราะไม่มีความกระสับกระส่ายในร่างกาย เพราะไม่มีความป่วยไข้ ในร่างกาย เพราะไม่มีพยาธิในร่างกาย ดุจในคำว่า ความไม่มีโรคมีแก่ท่าน ผู้เจริญบ้างแลหรือ.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
อิสระ
วันที่ 17 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ธรรมะรักษาได้ทุกโรค อย่างเช่น นางปฏาจาราสูญเสียพ่อ แม่ พี่ชาย สามี และลูก ๒ คนในวันเดียวกัน ท่านก็เสียใจจนขาดสติเป็นบ้า ภายหลังได้มาฟังธรรมะจาก พระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน และออกบวช ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ