นามรูปและโลก

 
WS202398
วันที่  16 ม.ค. 2551
หมายเลข  7007
อ่าน  2,690

หากไม่มีนาม จะมีโลกหรือไม่ รูปกับจิตมีอายุไม่เท่ากัน แสดงว่า ขณะที่จิตดับไป รูปยังคงอยู่ ใช่หรือไม่ พระพุทธเจ้าต่างจากพระปัจเจกพุทธเจ้า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ทุกอย่าง คือเป็นสัพพัญญู ผู้ที่เป็นอรหันต์ที่รู้ทุกอย่าง กับรู้เฉพาะที่จำเป็นต้องรู้ มีนัยสำคัญหรือไม่


Tag  โลก  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 16 ม.ค. 2551

หากไม่มีนามที่เป็นสภาพรู้ คำว่าโลกก็มีไม่ได้ ถึงแม้ว่าบางภูมิจะมีแต่รูป ถ้าไม่มี จิต เจตสิก การรับรู้ หรือการเกิดขึ้นในภูมินั้นก็มีไม่ได้ รูปเกิดดับ ๑ ขณะ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ขณะจิตที่ ๑ - ๑๖ รูปยังไม่ดับ ความรู้มีระดับที่แตกต่างกันตามกำลังปัญญาที่ได้สะสมมา ถ้าสะสมปัญญามาน้อย ย่อมรู้น้อยตามกำลัง พระอรหันต์ที่ท่านรู้ทุกอย่าง ย่อมมีประโยชน์เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นรู้ตามได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 16 ม.ค. 2551

รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปดับช้ากว่านามธรรม นามธรรมก็เกิดดับ แต่เกิดดับเร็วกว่ารูป ความชราของรูปธรรมปรากฏให้เห็นชัด เช่น ฟันหัก ผมหงอก ฯลฯ แต่ความชราของนามธรรมไม่ปรากฏ เช่น ความจำตอนเป็นหนุ่นสาวดี แต่พอชราก็ความจำค่อยๆ เสื่อมไปเป็นต้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

๑. โลกคือสิ่งที่แตกดับ เกิดขึ้นและดับไป นามธรรมและรูปธรรมคือโลก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป โลกทางตา หู ... ใจ หากไม่มีนามก็ไม่มีสภาพรู้ แล้วจะมีโลกได้อย่างไร แม้โลกที่เราสมมติว่าเป็นโลก เพราะไม่มีสภาพรู้คือความนึกคิดว่ามีสิ่งต่างๆ นั่นเองครับ

๒. พระพุทธเจ้ารู้ทุกอย่าง และรู้ว่าจะสอนสัตว์ให้บรรลุได้อย่างไร เปรียบเหมือนพ่อครัว ย่อมลิ้มรสอาหารด้วย (นิพพาน) และรู้เครื่องปรุงต่างๆ สามารถสอนให้บุคคลอื่น อธิบายเครื่องปรุงและทำให้ผู้อื่นรู้รสอาหารนั้นด้วย แต่ผู้รู้เฉพาะตน เช่น พระปัจเจกฯ เปรียบเหมือนพรานป่า ย่อมลิ้มรสอาหารในเมือง (ประจักษ์นิพพาน) แต่ไม่สามารถอธิบายบอกได้ว่า มีเครื่องปรุงอย่างไรบ้างให้คนอื่นฟังครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 17 ม.ค. 2551

หากกล่าวว่า "หากไม่มีนามก็ไม่มีสภาพรู้แล้วจะมีโลกได้อย่างไร" เราจะทำความเข้าใจอย่างไร เช่น จิตสองดวงรู้รูปเดียวกัน แล้วจิตดวงหนึ่งนั้นก็ไปรู้รูปอื่นอีก ส่วนอีกดวงหนึ่งยังรู้รูปเดิมซึ่งยังไม่ดับนั้น สำหรับจิตดวงที่ไปรู้รูปอื่นนั้นจะกล่าวอย่างไร โดยนัยใดถึงจะถูกต้อง จะกล่าวว่ารูปนั้นดับไปแล้ว ไม่มีอยู่เพราะจิตดวงนั้นไปรู้รูปใหม่แล้วหรือรูปก็ยังมีอยู่ เพียงแต่จิตดวงนั้นไปรู้รูปอื่น และหากกล่าว่า "หากไม่มีนามที่เป็นสภาพรู้ คำว่าโลกก็มีไม่ได้" เมื่อจิตดวงใด ดับขันธ์ไปแล้ว แต่ไตรภพก็ยังมีอยู่สำหรับจิตดวงที่เหลือ จะกล่าวว่าหากไม่มีนาม โลกก็มีไม่ได้ได้อย่างไรหรือว่าโลกของจิตแต่ละดวงเป็นเอกเทศ แต่ถึงอย่างนั้นก็มิน่าจะใช่ เพราะจิตและโลกก็มีความสัมพันธ์กันอยู่ขณะที่ยังไม่ดับขันธ์ ถ้าเช่นนั้นคำกล่าวที่ว่า "หากไม่มีนามก็ไม่มีสภาพรู้แล้วจะมีโลกได้อย่างไร" เป็นโลกเฉพาะตัวจิตนั้นๆ ใช่หรือไม่ มิใช่โลกที่มีอยู่ตามสภาพของมัน เพราะ ก็มีคำอฺธิบายถึงสภาพของไตรภพ ตั้งแต่เกิดขึ้น และดับไป สลับไปมา ซึ่งเป็นที่มาของเรื่องง้วนดิน โลกในความหมายนี้คือโลกที่เป็นสภาพมีจริง หากจะกล่าวว่า หากไม่มีนามก็ไม่มีรูปมันฟังขัดๆ ขวางๆ จังครับ ภาษาของนักคิด ผมก็พอจะคิดถึงได้ว่าเหตุใด พราหมณ์ถึงกล่าวถึงสภาวะอาตมันพรมมัน ทำนองนั้น เพราะ หากคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แยกแยะสิ่งต่างๆ โดยความเป็นธาตุนั้นๆ ทุกอย่างจะเสมอกันหมด ติดอยู่แต่สภาพรู้ตัวรู้นี้ นี้จะว่าอันเดียวกันก็ไม่ใช่ แต่ก็มีสภาพพื้นฐานเหมือนกันจริงๆ แล้วมันก็ไม่ต่างกับมะนาวสองลูกที่เหมือนกัน ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จิตสองดวงมีปัญหา อาจจะเพราะอัตตาทิฏฐิ ทำให้ปรุงว่าเออ ถ้างั้นสุดท้ายก็ไปรวมกันเสียเป็นอัตตาใหญ่ เป็นมหาอัตตา มหาพรม ทั้งหมดล้วนเป็นความคิดเอาของผม มิใช่ปัญญาอะไร

ส่วนพวกหนึ่งก็คิดว่าอำนาจเหนืออำนาจปรุงแต่งของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ตัวอำนาจหรือสิ่งที่เป็นต้นตอของอำนาจนั้นแหละ เราควรหมอบราบ เคารพยำเกรง เป็นใหญ่ เที่ยง เราต้องพึ่งพิง

แต่พอคิดเพ้อเจ้อไปมาก ก็นึกถึงที่พระพุทธองค์ตรัสใจความว่า สิ่งที่พระองค์สอนเท่าใบไม้ในกำมือ พระองค์สอนแต่เรื่องทุกข์และความดับทุกข์ ผู้ที่ถูกศรปักแล้วไยเที่ยวแสวงหาที่มาของศรนั้นเล่า เช่นนี้ ก็ทำให้นึกถึงคำสอนของพระสายกรรมฐาน ซึ่งผมเห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อย (ตามความเข้าใจของผมเอง) ที่ไม่เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมบางครั้งต้องวางตำราลงก่อน ฟังดูก็เหมือนนอกรีต แต่ผมคิดว่าเป็นคำสอนเฉพาะบุคคล มีความหมายพิเศษเฉพาะกรณี แต่คนที่ฟังไม่ดีก็อาจติติง ที่เชื่อก็ไม่ศึกษาเข้าป่าอย่างเดียว เพราะภาษามีขีดจำกัดในการสื่อสาร เพราะภาษามีจำกัด และต้องอาศัยบริบทถึงจะได้ใจความตรงตามเจตนา ส่วนความจริงมีได้ไม่จำกัดผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ไม่ปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติผิด ผู้ปฏิบัติตรง ผู้ตั้งใจปฏิบัติแต่ไม่รู้ว่าปฏิบัติอะไร ฯลฯ ก็เป็นนามรูปที่ไม่เที่ยงเช่นกัน

มีบางคนพูดว่า ทำอย่างไรถึงจะมีสติ ก็ได้รับคำตอบว่า สติมิใช่มีขึ้นได้ด้วยการทำ เพราะทุกอย่างเป็นอนัตตา ก็เป็นความจริงเช่นนั้น แต่ก็สงสารผู้ถามเช่นกันว่าที่ถูกเขาควรถามอย่างไร เพราะถ้าบอกให้เขาไม่ต้องทำก็น่าสงสาร เพราะเขาก็คงอาจไม่เข้าใจว่าทำโดยไม่ทำนั้นเป็นอย่างไร เพราะเขายังมีความเห็นเป็นตัวตนอยู่ เช่นเดียวกับผม ที่หนักกว่านั้นผู้ที่ฟังมาน้อยไม่สามารถเข้าใจภาษาสั้นๆ ภูมิหลังเปรียบเทียบก็ไม่มี มีก็เปรียบแบบผิดๆ ก็น่ากลัวเหมือนกัน การตามรู้โดยปริยัติ โดยตรรกะ โดยขั้นความจำได้หมายรู้ ก็ยากอยู่ การรู้ตามด้วยปัญญาก็ยิ่งยากตามไปหลายเท่าตัว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โลกมีหลายอย่าง โลกที่เป็นสภาพธรรมจริงๆ ที่เกิดขึ้นและดับไป คือ จิต เจตสิก รูป ส่วนโลกที่สมมติขึ้นมา เพราะมีจิต เจตสิก รูป จึงมีโลก มีคน มีสัตว์ เมื่อเราพูดถึงความจริงที่เป็นปรมัตถธรรม มี จิต เจตสิก รูป ที่เป็นของจริง เพราะมีลักษณะให้รู้ หากไม่มี จิต จะมีคนหรือสัตว์หรือไม่ หากไม่มีรูป จะมีโต๊ะ มีดวงจันทร์ มีโลกใบนี้ที่สมมติขึ้นจากสิ่งที่มีจริงหรือไม่ครับ ซึ่งคำว่า "หากไม่มีนาม ก็ไม่มีสภาพรู้แล้วจะมีโลกได้อย่างไร" หมายถึง หากไม่มีจิต เจตสิกเลย คือไม่มีจริงๆ ไม่ใช่ไปมีในขณะอื่น คือไม่มีเลยนั้น ก็ ไม่มีสภาพรู้ เมื่ออายตนะไม่เกิด โลกก็ย่อมไม่มี (ตามพระไตรปิฎก) และถ้าไม่มี จิต เจตสิก (นาม) เลย จะมีเรื่องราวให้คิดนึกว่ามีโลก มีคน มีสัตว์ หรือไม่ เพราะจิต เป็น สภาพรู้ และนึกคิดในสิ่งต่างๆ หากไม่มีจิต เจตสิก ก็ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เลย เพราะไม่มี สิ่งที่มีจริงที่เป็นปรมัตถธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ส่วนคำกล่าวที่ว่า "หากไม่มีนามที่เป็นสภาพรู้ คำว่าโลกก็มีไม่ได้" โลกในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงโอกาสโลกที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่หมายถึง โลกตามความเป็นจริงในวินัยของพระอริยเจ้า คือ จิต เจตสิก รูปนั่นเองครับ ซึ่งถ้าไม่มี จิต เจตสิก ก็ไม่มีสภาพรู้ ให้รู้รูปธรรม เมื่ออายตนะไม่เกิด โลกก็ไม่เกิดขึ้นครับ (ตามพระไตรปิฎก) และถ้าไม่มีจิตเจตสิกเลย (ไม่ใช่ไปมีในขณะอื่น แต่หมายถึงไม่มีเลย) จะมี คน มีเทวดา มีสัตว์ไปเกิดหรือไม่ ก็ไม่มีครับ ดังนั้น สิ่งที่มีจริงที่เป็นโลกในวินัยของพระอริยเจ้า คือ จิต เจตสิก รูป ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ครับ ส่วนในเรื่องของสติปัฏฐานนั้น ที่กล่าวว่าทำไม่ได้นั้น หมายถึง เป็นหน้าที่ของธรรม ที่ทำหน้าที่ ไม่ใช่เราที่พยายามทำ เพราะทุกอย่างเป็นธรรมครับ เมื่อปัญญาเกิด ปัญญาจึงทำหน้าที่ ถ้าปัญญาไม่เกิด ก็ไม่มีตัวตนหรือเราที่จะไปพยายามให้สติเกิด เพราะเป็นหน้าที่ของธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 17 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
WS202398
วันที่ 18 ม.ค. 2551

เช่นนั้น ทำให้ผมนึกถึงคำสอนเรื่อง การดับทุกข์เหมือนการข้ามแม่น้ำ ศีล สมาธิ ปัญญาเปรียบเหมือนแพที่ใช้ข้าม เมื่อข้ามได้แล้วที่ถูกควรแบกหามแพนั้นไปด้วยหรืออย่างไร สิ่งใดแม้เป็นธรรมก็ต้องละวาง จะกล่าวไปไยถึงอธรรม ลึกๆ แล้วมันปั่นป่วนในใจ อาจเป็นเพราะพื้นเดิมมีความยึดมั่นอยู่ การละวางความชั่วที่ถือว่ายากแล้ว ผมรู้สึกว่า การละวางความยึดมั่นถือมั่นในความดี ในคุณค่าใดๆ ด้วยอำนาจตัณหานั้นยากที่สุด มันรู้สึกเหมือนละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ที่สุดคือ ตัวตน ตัวเอง

ขอขอบพระคุณในคำอธิบายข้างต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อิสระ
วันที่ 18 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 31 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ