มีกุศลเกิดบ้างไหมคะ?
ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย
เวลาเราให้ความช่วยเหลือหรือให้สิ่งของกับบุคคลอื่น ซึ่งเราไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนเลย พอเวลาผ่านไปบุคคลที่เราเคยช่วยเหลือนั้นมีฐานะดีขึ้น เขากลับมาพร้อมนำสิ่งของมากมายมา ให้เรา ณ ขณะนั้นเรารู้สึกยินดีที่เขาดีขึ้น และชอบของที่เขานำมาให้เพราะกำลังต้องการอยู่พอดี นั่นแสดงว่ามีกุศลก่อนแล้วค่อยมีอกุศลใช่ไหมคะ ถ้าเมื่อไหร่มีคำว่า" ต้องการ" จะถือว่าเป็นอกุศลตลอดเลยใช่ไหมคะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ว่าโดยนัยของพระสูตร การที่เราต้องการสิ่งใดแล้วได้ตามที่ต้องการ เป็นผลของกุศลที่ เราเคย ทำไว้ ส่วนคำว่า "ต้องการ" ในภาษาไทย เหมือนจะเป็นอกุศลไปทั้งหมด แต่ ถ้าพระอรหันต์ ท่านต้องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ต้องการฟังพระธรรม เป็นต้น อย่างนี้ ไม่ใช่อกุศล ทั้งนี้ ขึ้น อยู่ที่สภาพจิตเป็นสำคัญ สำหรับภาษาหรือคำพูดที่ใช้อาจจะ เหมือนกัน
ฉันทะเจตสิก ก็เป็นอีกสภาพธรรมหนึ่ง ที่เกิดกับกุศลก็ได้ เกิดกับอกุศลก็ได้ เป็น ลักษณะของความพึงใจ พอใจ ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ขอยกข้อความในหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป หน้า ๓๙๐ มาดังนี้
ฉันทแจตสิก เป็นเจตสิกที่พอใจกระทำ เกิดกับจิต ๖๙ ดวง เว้นไม่เกิดกับ จิต ๒๐ ดวง คือ อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และโมหมูลจิต ๒ ดวงทั้งนี้เพราะอเหตุกจิตเป็นจิต ที่เกิดขึ้นโดยไม่มี เหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยส่วนโมหมูลจิตนั้น แม้ว่าจะมีเหตุเจตสิก (โมหเจตสิก) เกิดร่วมด้วย แต่เมื่อไม่โลภเจตสิกหรือโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงไม่มี ฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะ ฉัทเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่พอใจตามสภาพของ โลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือจิตอื่น ที่ ฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เวลาเราได้อะไรมา ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ ลาภ ยศ สรรเสริฐ เป็นผลของกุศลแน่นอน แต่เวลาเราสูญเสีย ไม่ว่าจะเสื่อมลาภ ยศ ทรัพย์สมบัติ หรือสูญเสียญาติพี่น้อง มิตรสหาย ก็เป็นผลของอกุศลกรรม เช่น มีมิตรดี ภายหลังก็แตกกัน เป็นผลของเศษกรรม ในอดีตที่เคย พูดส่อเสียดทำให้คนอื่นแตกกัน
ต้องการฟังพระธรรม เพราะเห็นคุณประโยชน์ของพระธรรม เพราะเคารพในพระธรรม เพราะ ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต ซึ่งสงบจากความต้องการใน กามคุณเพียงชั่ว ขณะครับ แต่ถ้าต้องการฟังแล้วไม่ได้ฟัง เกิดหงุดหงิด รำคาญใจ ว่า วันนี้ฟังน้อยกว่าเมื่อวาน เพราะมีแต่กิจการงานธุระอื่นๆ ที่ต้องทำ กรณีนี้ กุศล ก็เป็น ปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ครับ
ขออนุโมทนาครับ
-ขณะที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นโดยที่ไม่หวังผลตอบแทน หรือไม่หวังอย่างอื่น ขณะนั้นชื่อว่าตั้งจิตไว้ชอบ เพราะไม่ได้หวังอย่างอื่น แต่ว่ามีการขัดเกลากิเลสเป็น สำคัญ ครับ ขณะที่ได้รับสิ่งที่น่ายินดีน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจนั้น เป็นผลของกุศล กรรมที่เคยได้กระทำไว้แล้ว (เหตุย่อมสมควรแก่ผล)
-ขณะที่ยินดี ติดข้อง เป็นโลภะ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติตามการสั่งสมของผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสประเภทนี้ได้โดยเด็ดขาด ผู้ที่จะดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบ สัมผัสทางกายได้โดยเด็ดขาดคือพระอนาคามีบุคคล และผู้ที่จะดับโลภะที่เป็นความยินดีติด ข้องในภพได้นั้นคือพระอรหันต์
-คำว่า "ต้องการ" นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ได้เป็นอกุศลเสมอไป เช่นเดียวกัน กับกับว่า "ใคร่" ก็ไม่ได้หมายถึงฝ่ายไม่ดีเพียงอย่างเดียว ยังหมายถึงฝ่ายที่ดีด้วย อย่างใน ประโยคที่ว่า ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญ ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม ครับ