สรรเสริญและนินทา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 425 ๗. อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่นเป็นของ เก่า นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้ ชนทั้งหลายย่อม นินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง ย่อม นินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีใน โลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา
สรรเสริญโดยส่วนเดียว ไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และ ไม่มีอยู่ในบัดนี้ หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆ วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ใครเล่าย่อมควร เพื่อติเตียนผู้นั้น ผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดา ทั้งหลายก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว.
ขอความคิดเห็นท่านผู้อ่านด้วยนะคะโดยเฉพาะข้อความที่เป็นสีแดง
ขออนุโมทนาครับ
สำหรับพระอรหันต์แล้ว ควรสรรเสริญท่านโดยแท้
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆ วัน สรรเสริญผู้ใด
คนพาล ติเตียนหรือสรรเสริญไม่เป็นประมาณ เพราะคนพาลย่อมไม่รู้จึงพูดไป แต่บัณฑิตเมื่อใคร่ครวญแล้วด้วยปัญญา เมื่อติเตียนหรือสรรเสริญ ย่อม
เป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นความจริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 466
อรรถกถา เรื่องอตุลอุบาสก
สองบทว่า ยญฺเจ วิญฺญู ความว่า การนินทาหรือสรรเสริญของ
พวกชนพาล ไม่เป็นประมาณ แต่บัณฑิตทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้ว คือ
ทราบเหตุแห่งนินทาหรือเหตุแห่งสรรเสริญแล้วทุกๆ วัน ย่อมสรรเสริญ
บุคคลใด
ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา
มีความประพฤติในการอบรมปัญญา คือศีล สมาธิ ปัญญา (สิกขา) หรือสติปัฏฐานเป็นต้นพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 466
อรรถกถา เรื่องอตุลอุบาสก ผู้ชื่อว่า มีความประพฤติไม่ขาดสาย เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสิกขาอันไม่ขาดสาย หรือด้วยความเป็นไปแห่งชีวิตไม่ขาดสาย ผู้ชื่อว่ามีปัญญา เพราะ
ความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม
ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล
เป็นผู้มีปัญญาทั้งที่เป็นระดับทั่วไป จนถึงระดับพระอริยบุคคล พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 466
อรรถกถา เรื่องอตุลอุบาสก ชื่อว่าผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็น
โลกิยะและโลกุตระ และด้วยปาริสุทธิศีล ๔
ใครเล่าย่อมควรเพื่อติเตียนผู้นั้น ผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท
แท่งทองชมพูนุท ย่อมบริสุทธิ์ ดังเช่นพระอริยเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ย่อมบริสุทธิ์จาก
กิเลส แท่งทองชมพูนุท ย่อมไม่ควรเพื่อขัด เป่าให้สะอาดเพราะบริสุทธิ์แล้ว ฉันใด
แม้พระอรหันต์ก็บริสุทธิ์จากกิเลสแล้ว จึงไม่ควรเพื่อติเตียนเลยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 466
อรรถกถา เรื่องอตุลอุบาสก ใครเล่า ย่อมควรเพื่อนินทาบุคคลนั้น ผู้เป็นดุจดังแท่งทองชมพูนุท อันเว้นจากโทษ
แห่งทองคำอันควรเพื่อจะบุและขัด.
แม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทั้งหมดย่อมควรสรรเสริญเพราะมีคุณธรรมที่ควรสรรเสริญคือหมดกิเลสแล้ว เป็นต้น ย่อมไม่ควรติเตียนเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบทเล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 466
อรรถกถา เรื่องอตุลอุบาสก
บทว่า พฺรหฺมุนาปิ ความว่า ไม่ใช่เทพดาและมนุษย์อย่างเดียว
(ย่อมสรรเสริญ) . ถึงมหาพรหมในหมื่นจักรวาล ก็สรรเสริญบุคคลนั่น
เหมือนกัน.
บุคคลไม่ได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น ไม่ได้เป็นมุณีเพราะคำของคนอื่น บุคคลนั้นย่อมรู้ตนด้วยตนเอง คำว่ามุณี หมายถึงผู้รู้ ผู้รู้สูงสุดคือพระพุทธเจ้าค่ะ
ถ้าตนไม่มั่นคง คนอื่นสรรเสริญ คำสรรเสริญนั้นเปล่าประโยชน์ ถ้าตนมั่นคงดี คนอื่นนินทา
คำนินทานั้นเปล่าประโยชน์
สรรเสริญ นินทา นี้เป็นธรรมดาของโลก แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้า คนเราก็ยังอุตส่าห์
ไปด่าได้ครับขออนุโมทนาครับ