เพราะจิตสั่งสมสันดานของตนเอง
ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงลักษณะของจิตประการที่ ๒ ว่าอีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุว่าศัพท์ว่า จิตตํ นี้ ทั่วไปแก่จิตทุกดวงฉะนั้น ในคำว่า “จิตตํ” นี้ กุศลจิตฝ่ายโลกีย์ อกุศลจิต และมหากิริยาจิตจึงชื่อว่า “จิต”เพราะสั่งสมสันดานของตนเองด้วยสามารถแห่งชวนวิถี
คำว่า “สันดาน” ในภาษาไทยมาจากคำภาษาบาลี ว่า “สนฺตาน” หรือ “สนฺตติ” ซึ่งหมายถึงการเกิดดับสืบต่อกัน จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นวิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิตและไม่ใช่อกุศล
จิต จึงไม่สั่งสมสันดาน จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสผลของอดีตกรรม เมื่อกรรมใดสุกงอมพร้อมที่จะให้ผล คือประกอบพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น วิบากจิตไม่สั่งสมสันดาน เพราะวิบากจิตแต่ละขณะเกิดขึ้นเพราะกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่สะสมมาแล้วนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น เมื่อวิบากจิตเกิดขึ้นและดับไปแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้วิบากใดๆ เกิดขึ้นเลย
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป