ปาราชิก เหมือนตาลยอดด้วน

 
study
วันที่  23 ม.ค. 2551
หมายเลข  7097
อ่าน  7,533

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕๙

[๒๓๕] บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความอยากรอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริงย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๑๙

วิเคราะห์ปาราชิก

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ ๑ ว่า ปาราชิกํ เป็นต้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นย่อมเป็นผู้พ่าย คือถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาสต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก

ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มีพระภาคเ จ้าจึงตรัสว่า ปาราชิก. ก็ในบทว่า ปาราชิกํ นี้ มีความสังเขปดังนี้:-

บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แช่มชื่น
วันที่ 23 ม.ค. 2551

พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาในการเปรียบเปรย อุปมา ให้เข้าใจได้จริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 2 มี.ค. 2551

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๐๑

พระบัญญัญัติสิกขาบทที่ ๑

๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕] บทว่า อนึ่ง.. ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง..ใด

[๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า

ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว

ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา

ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

[๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

[๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ

[๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งทรงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี

[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกันนี้ชื่อว่า เมถุนธรรม

[๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิตสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่าเสพ

[๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่าภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไยในหญิงมนุษย์ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย

[๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าเป็นปาราชิก

[๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าหาสังวาสมิได้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
mick
วันที่ 2 เม.ย. 2552

พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริงย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก

ขอเรียนถามค่ะ

พูดอวดอุตริมนุสธรรม ถ้าการพูดนั้นอันเป็นจริง และมีอยู่จริง ก็พูดได้ใช่หรือเปล่าค่ะ

ขออนุโมนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 2 เม.ย. 2552

ถ้าบอกอุตริมนุสธรรมอันมีอยู่จริงแก่พระภิกษุด้วยกันไม่มีอาบัติ แต่ ถ้าบอกกับอนุปสัมบัน คือคฤหัสถ์ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ