ขอเรียนถามเกี่ยวกับกสิณครับ

 
ปัจจุบันธรรม
วันที่  15 ม.ค. 2549
หมายเลข  711
อ่าน  4,298

ขอถามกัลยาณมิตร ทุกท่านเกี่ยวกับ การเพ่งกสิณ ครับ

1. สนใจการฝึกกสิณ จะสามารถไปศึกษา กับครูบาอาจารย์ ท่านใดได้บ้าง แล้วจะรู้ ได้อย่างไรว่าท่านได้ฝึกจนประสบผลสำเร็จมาแล้ว...

2. กสิณสีขาว สีเหลือง สำหรับการเพ่งมีผลแตกต่างกันอย่างไร...

3. การเพ่งกสิณ ต้องมีคำบริกรรม ต้องพูดออกมาก หรือภาวนาในใจก็ได้ เช่น กสิณ สีขาว ภาวนาว่า โอทาตัง โอทาตัง หรือ ขาว ขาว และ กสิณสีเหลือง ภาวนาว่า ปี ตะกัง ปีตะกัง หรือ เหลือง เหลือง ฯ

4. การฝึกกสิณ สลับกับการฝึกสติปัฏฐาน ได้หรือไม่....

5. การฝึกกสิณ อันตรายหรือไม่ ถ้าฝึกเอง คนเดียว โดยอ่านจากตำรา (จะหาอ่านตำรา วิธีฝึกอย่างละเอียดถูกต้องได้ที่ไหน ช่วยบอกด้วยครับ)

6. ทำไมยุคสมัยนี้ ถึงเน้นเรื่อง วิปัสสนากรรมฐานมาก คือ เน้นปัญญาวิมุติ กัน มากกว่า เจโตวิมุติ หรือว่าปัญญาวิมุติ ฝึกศึกษาปฏิบัติได้ง่ายกว่า เพราะใช้ความ เข้าใจจากอภิธรรมสภาวะ ธรรมต่างๆ เป็นตัวคิด ตัวรู้ ตัวระลึก คือเน้นให้อยู่ใน อารมณ์ปัจุบันเป็นสำคัญ โดยพยายามหมั่นฝึกทำ ให้เป็นปัจจุบันเนืองๆ บ่อยๆ แล้วจะได้สภาวะ ธรรมเอง แบบ ปัญญาวิมุติ คือจะไม่มีอภิญญาหรือฤทธิ์เดชอะไร เลย

7. เคยได้ยินมาดังนี้ ไม่ทราบว่าเพื่อนกัลยาณมิตร มีความเห็นเป็นประการใด

7.1 การเพ่งกสิณ ไม่สามารถสิ้นกิเลสได้ เป็นของพวกฤษี ไม่ใช่ของพระพุทธ ศาสนา เหตุนี้ จึงไม่นิยมสอนกันเหมือนกันการปฏิบัติวิปัสสนา ขณะนี้ ซึ่งมี สำนักมากมาย ทั้งพองยุบกำหนดรูปนาม และการฝึกสติแบบหลวงพ่อเทียน

7.2 การเพ่งกสิณนี้ ถือว่าเป็นกรรมฐานที่ทรงพลังมากกว่ากรรมฐานใดๆ ใน บรรดากรรมฐานทั้งหมด เพราะสามารถนำจิตของผู้ฝึกให้ขึ้นสู่อารมณ์ได้ถึง สมาบัติ 8
และนิโรธสมาบัติซึ่งกรรมฐานอื่นๆ เช่น อานาปานสติ ไม่ สามารถทำได้ ไม่ทราบเท็จจริงประการใด

7.3 มีบางท่านบอกว่า สมถะกรรมฐานนี้พระพุทธองค์ยกขึ้นมาแสดงก่อน วิปัสสนากรรมฐานเวลาตรัสถึงเรื่องการทำสมาธิจะตรัสว่า สมถะและ วิปัสสนา ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ตรัสว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตให้นิ่ง บริสุทธิ์ได้ที่เสียก่อนจะไปเจริญวิปัสสนา โดยตรงเป็นอฐานะ แปลว่าเป็น ไปไม่ได้ เหมือนคนตาดีนั่งมองน้ำขุ่นย่อมไม่ เห็นวัตถุใต้น้ำ หรือ เหมือนคนคิดจะสร้างตึกสัก 10 ชั้น แต่คิดว่า ตัวเองจะอยู่ชั้นที่ 10 ชั้น เดียว ดังนั้นจะสร้างเฉพาะชั้นที่ 10 อย่างเดียวโดยไม่สร้างอีก 9 ชั้นมา เป็นฐานให้เสียก่อนก็เป็นอฐานะ เช่นกัน อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เมือง ไทยมีสำนักวิปัสสนากรรมฐานเต็มไปหมด พระวิปัสสนาจารย์ก็มีมาก

7.4 ปัญหาเรื่องสมถะกรรมฐานถูกปฏิเสธไม่นำมาสอนกันในปัจจุบันนี้ อาจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ สุดที่ทำให้การฝึกจิตย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร หรือไม่

7.5 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้พูดถึงเรื่องการเพ่งกสิณของพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาลตอนหนึ่งไว้ในเทปชุดจิตสู่ปัญญา ม้วนที่ 7 (ชุด 18 ม้วน) ว่า “ในสมัยโบราณจะพูดถึง การเพ่งกสิณกันมาก พวกเรา ได้ยินบ่อยๆ แสดงว่า สมัยโบราณคง นิยมเรื่องการใช้กสิณในการทำ สมาธิ หรือการทำจิตภาวนาด้วยกสิณเป็นอารมณ์นี้มาก” ส่วนในฎีกา อังขุตตรนิกาย ทสกนิบาตได้กล่าวถึงเรื่องกสิณนี้ไว้ว่า “ กสิณ กรรมฐานทั้ง 10 วิธีนี้ได้ชื่อว่า “ เป็น บ่อเกิดธรรมที่มีกสิณเป็น อารมณ์“

ขออภัยกัลยาณมิตรทุกท่าน ด้วยเหตุที่ เขียนยาว ไป และถามมาก อยู่สักหน่อย แต่ก็ด้วยความที่สนใจมาก และรู้จากการฟังเขามาบ้าง อาจไม่ถูกต้อง หรือบางอย่างก็อาจพร่องด้วยเหตุที่ไม่รู้ลึก รู้จริงในเรื่องนี้ จึงขอท่านผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ช่วยให้ธรรม เป็นธรรมทานด้วยครับ แม้ว่าจะเป็นความเห็นส่วนตัว แต่ผู้อ่านหลายท่านรวมถึงตัวผมเอง คาดว่าจะได้ประโยชน์ไม่น้อย ขอบคุณครับ ปัจจุบันธรรม กรรมที่ต้องชดใช้


Tag  กสิณ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 16 ม.ค. 2549

การเจริญสมาธิเป็นเรื่องยากที่จะให้สำเร็จถึงความสงบเป็นฌานขั้นต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นฆราวาสที่ยังมีเครื่องกังวลมาก เป็นผู้ติดข้องมากในกามทั้งหลาย และไม่มีปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นโทษของกามทั้งหลายด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นข้าศึกของความสงบทั้งสิ้น ในวิสุทธิมรรค กัมมฐานคหณนิเทส ได้อธิบายการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธิภาวนาว่าเบี้องตนพึงยังศีลให้บริสุทธิ์ พึงตัดปลิโพธทั้ง ๑๐ และเข้าไปหาผู้เป็นกัลยาณมิตร ถือเอากรรมฐาน ๔๐ ข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง เลือกที่อยู่ที่เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิ เป็นต้น ข้อความนี้ท่านกล่าวถึงเบื้องต้นก่อนที่จะอบรมสมาธิภาวนา ถ้าชำระสิ่งเหล่านี้ให้หมดจดไม่ได้ เท่ากับว่าการเจริญภาวนาที่จะทำให้เกิดผลคือความสงบเป็นขั้นๆ ไม่สามารถให้เกิดขึ้นได้ และกัลยาณมิตรต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา มีความรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน ท่านยกตัวอย่างคือ ผู้ทรงพระไตรปิฎก เป็นต้น และตัวผู้จะเจริญภาวนาต้องมีปัญญา คือ ปฏิสนธิพร้อมปัญญา มีความรู้ว่าขณะไหนมีสติและขณะไหนหลงลืมสติ แต่ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์แสดงการเจริญสมาถภาวนาที่เหมาะกับชีวิตอุบาสกผู้ครองเรือนเพื่อให้สงบระงับอกุศลเพียงชั่วคราว

พระพุทธองค์ก็แสดงไว้ ๖ ประการ มีพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อนุสติเหล่านี้ควรเจริญในชีวิตประจำวัน โดยมีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ ส่วนวิธีการฝึกอบรมกสิณมีแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ ควรศึกษาให้เข้าใจและเป็นไปตามลำดับ ไม่ควรไปทำโดยขาดความเข้าใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 16 ม.ค. 2549

๗. การอบรมสมถภาวนามีมาก่อนพระพุทธองค์ตรัสรู้ หลังจากพระองค์ตรัสรู้แล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติหรือปฏิปทาให้พ้นจากกิเลสดับทุกข์ทั้งปวงไ ด้ด้วยการเจริญวิปัสสนาหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น เพราะฉะนั้นอายุของสัตว์ทั้งหลายน้อย เรามีเวลาในโลกนี้ไม่มาก ถ้าเราไปเสียเวลากับการเจริญสมถภาวนาเพื่อให้เกิดฌานและอภิญญาก่อนชาตินี้เราอาจจะไม่มีโอกาสได้อบรมวิปัสสนาเลย จะตายไปพร้อมกับความไม่รู้อยู่นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Phigun
วันที่ 19 ส.ค. 2565

มีคำถามค่ะ ฉันเพ่งหลอดนีออนสีขาว พอหลับตาทำไมเป็นสีเหลือง และต้องพ่งสีเหลียงนี้ไหม หรือต้องจำสีขาวของหลอดไฟให้เข้าหัว ตอนหลับตานั้นที่เป็นสีเหลืองคงเป็นเพราะว่าแสงหลอดไฟทำให้สายตาจำภาพสท้อนหรืออย่างไรคะ
คำถามที่ต้องการมากคือ หลับตาแล้วเป็นสีเหลืองนั้นควรเพ่งต่อไปไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Phigun
วันที่ 19 ส.ค. 2565

อยากมีอาจารย์ให้ถามแล้วตอบแบบทันใจน่ะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2565

ไม่แนะนำให้ใครไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความจดจ้องต้องการ ด้วยความเป็นตัวตน แนะนำให้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ โดยไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติ เป็นผู้มีชีวิตปกติ แต่ไม่ขาดการศึกษาพระธรรม และน้อมประพฤติตามพระธรรมในชีวิตประจำวัน

สำหรับในเรื่องของการอบรมเจริญสมถภาวนา เช่น กสิณ ๑๐ นั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงละเอียดลึกซึ้งมาก ถ้าไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้ให้มีมากขึ้น ครับ

กสิณ เป็นอารมณ์ที่สามารถเป็นปัจจัยให้จิตสงบจากนิวรณ์ เป็นอัปปนาสมาธิจนถึงฌานจิตที่ ๕ (โดยปัญจกนัย) แต่ถ้าไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของฌานจิต ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ก็ยังไม่ใช่หนทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดง เพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2565

... กสิณ ๑๐ ...

ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า ทำอารมณ์ทั้งสิ้น

กสิณ ๑๐ ได้แก่ ...

๑. ปถวีกสิณ ระลึกถึงแต่ดินเท่านั้น

๒. อาโปกสิณ ระลึกถึงแต่น้ำเท่านั้น

๓. เตโชกสิณ ระลึกถึงแต่ไฟเท่านั้น

๔. วาโยกสิณ ระลึกถึงแต่ลมเท่านั้น

๕. นีลกสิณ ระลึกถึงแต่สีเขียวเท่านั้น

๖. ปีตกสิณ ระลึกถึงแต่สีเหลืองเท่านั้น

๗. โลหิตกสิณ ระลึกถึงแต่สีแดงเท่านั้น

๘. โอทาตกสิณ ระลึกถึงแต่สีขาวเท่านั้น

๙. อาโลกกสิณ ระลึกถึงแต่แสงสว่างเท่านั้น

๑๐. อากาสกสิน ระลึกถึงแต่อากาศเท่านั้น

จากหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2565

อารมณ์ ๔๐ อารมณ์

อาหาเรปฎิกูลสัญญา ๑ คือ การระลึกถึงความปฎิกูลของอาหาร จิตสงบได้ถึงอุปจารสมาธิ

จตุธาตุววัฎฐาน ๑ คือ การระลึกถึง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่กาย จิตสงบได้ถึงอุปจารสมาธิ

อสุภ ๑๐ คือ การระลึกถึงสภาพของซากศพ ๑๐ อย่าง จิตสงบได้ถึงปฐมฌาน

กายคตาสติ (อนุสสติ) ๑ คือ การระลึกถึงความไม่น่าใคร่ของส่วนต่างๆ คืออาการ ๓๒ ของกายแต่ละส่วน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น จิตสามารถสงบได้ถึงปฐมฌาน

อานาปานสติ (อนุสสติ) ๑ การระลึกถึงลมหายใจ จิตสงบได้ถึงปัญจมฌาน

กสิณ ๑๐ จิตสงบได้ถึงปัญจมฌาน

พรหมวิหาร ๓ คือ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุทิตา ๑ จิตสงบได้ถึงจตุตถฌานโดยปัญจกนัย (ตติยฌานโดยจตุกกนัย)

พรหมวิหาร ๑ คือ อุเบกขาพรหมวิหาร เมื่อจิตสงบจากพรหมวิหาร ๓ ถึงจตุตถฌานแล้วจึงเจริญอุเบกขาพรหมวิหารต่อไปได้ ในบรรดาพรหมวิหาร ๔

อุเบกขาพรหมวิหารจึงเป็นอารมณ์ของเฉพาะปัญจมฌาน ฌานเดียวเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2565

การอบรมเจริญภาวนามีทั้งการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็นสมถภาวนา และการอบรมเจริญปัญญา คือวิปัสสนาภาวนา ทั้งสองอย่างต้องอาศัยปัญญา จึงจะเจริญได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่างกุศลจิตและอกุศลจิต ก็ย่อมจะเจริญสมถะ คือความสงบจากอกุศล ไม่ได้

ฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบของจิต จึงต้องมีสติสัมปชัญญะที่สามารถรู้สภาพที่ต่างกันของ กุศลจิตและอกุศลจิตในขณะนี้เสียก่อน แล้วจึงจะอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบ คือสมถภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนา เป็นสติสัมปชัญญะที่สามารถรู้สภาพที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ