สังฆาทิเสส ต้องอาศัยสงฆ์จึงจะพ้นได้

 
study
วันที่  25 ม.ค. 2551
หมายเลข  7131
อ่าน  6,023

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 606

วิเคราะห์สังฆาทิเสส

[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา ทิเสส ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหา อาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.

ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์ อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อประโยชน์แก่การให้ปริวาสและในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือในท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน

ก็ในกรรมทั้งหลายมีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใครๆ ไม่อาจทำได้ ฉะนี้แล สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่งกองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่า สังฆาทิเสส


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 มี.ค. 2551

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

พระบัญญัติสิกขาบทที่ ๑

๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝันเป็นสังฆาทิเสส.

สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๓] บทว่า จะเป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจตั้งใจละเมิด.

บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี ๑๐ อย่าง คือ

สุกกะสีเขียว ๑

สุกกะสีเหลือง สุกกะสีแดง ๑

สุกะสีขาว ๑

สุกกะสีเหมือนเปรียง ๑

สุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑

สุกกะสีเหมือนน้ำมัน ๑

สุกกะสีเหมือนนมสด ๑

สุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑

สุกกะสีเหมือนเนยใส ๑

การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่าการปล่อย.

บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือว่า ยกเว้นความฝัน

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นได้ ชักเข้าหาอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวดอาบัตินั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 2 มี.ค. 2551

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

พระบัญญัติสิกขาบทที่ ๒

๒. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตามลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.

สิกขาบทวิภังค์

[๓๗๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตามเป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม ผู้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอนึ่ง ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุเพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว

ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา

ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์

บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้ว ก็แปรปรวนทิ่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วก็แปรปรวน ทิ่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนโนอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตทื่ถูกราคะย้อมแล้ว

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ไค้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้นไม่ต้องพูดถึงหญิงผู้ใหญ่.

บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.

คำว่า ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย คือ ที่เรียกกันว่าความประพฤติล่วงเกิน

ทื่ชื่อว่า มือ คือ หมายตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายเล็บ.

ทื่ชื่อว่า ช้องผม คือ เป็นผมล้วนก็มี แซมด้วยด้ายก็มี แซมด้วยดอกไม้ก็ แซมด้วยเงินก็มี แซมด้วยทองก็มี แซมด้วยแก้วมุกดาก็มีแซมด้วยแก้วมณีก็มี

ชื่อว่า อวัยวะ คือ เว้นมือและช้องผมเสีย นอกนั้นชื่อว่าอวัยวะ

[๓๗๗] ที่ชื่อว่า ลูบคลำ คือ ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับอุ้ม ฉุด ผลัก กด บีบ จับต้อง

[๓๗๘] ที่ชื่อว่า ถูก คือ เพียงถูกต้อง

ที่ชื่อว่า คลำ คือ จับเบาๆ ไปข้างโน้นข้างนี้

ที่ชื่อว่า ลูบลง คือ ลูบลงเบื้องล่าง

ที่ชื่อว่า ลูบขึ้น คือ ลูบขึ้นเบื้องบน

ที่ชื่อว่า ทับ คือ กดลงข้างล่าง

ที่ชื่อว่า อุ้ม คือ ยกขึ้นข้างบน

ที่ชื่อว่า ฉุด คือ รั้งมา

ที่ชื่อว่า ผลัก คือ ผลักไปที่ชื่อว่า กด คือ จับอวัยวะกดลง

ที่ชื่อว่า บีบ คือ บีบกับวัตถุบางอย่าง

ที่ชื่อว่า จับ คือ จับเฉยๆ

ที่ชื่อว่า ต้อง คือ เพียงต้องตัว.

[๓๗๙] บทว่า สังฆาทิสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นได้ ซักเข้าอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 2 มี.ค. 2551

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185

พระบัญญัติสิกขาบทที่ ๓

๓.อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส

สิกขาบทวิภังค์

[๓๙๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใดมีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง..ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า พระพฤติภิกขาจริยวัตร

วาจา ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรคและเมถุนธรรม.

บทว่า พูดเคาะ คือ ที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน.

คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่ เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่นคือหนุ่มกับสาว ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม

บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกันไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่าสังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแลแม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 12 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ