จิตปรมัตถ์
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2551
หมายเลข 7144
อ่าน 4,257
จิตปรมัตถ์
จิตฺต (สภาพที่คิด สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์) + ปรมตฺถ (เนื้อความอย่างยิ่ง สิ่งที่มีจริง)
สิ่งที่มีจริงคือจิต หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ จิตมีเนื้อความอย่างยิ่งเป็นปรมัตถ์ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถพิสูจน์ได้ด้วยปัญญาจากการศึกษา การพิจารณาและการเจริญภาวนาจิตมี ๘๙ ประเภทโดยย่อหรือ ๑๒๑ ประเภทโดยพิสดาร
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติชื่อของจิตไว้หลายชื่อ เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของจิตโดยพยัญชนะและอรรถต่างๆ คือ มานัส (สภาพที่ยินดีในอารมณ์) หทัย (สภาพที่อยู่ภายใน) ปัณฑระ (สภาพที่ผ่องใส) มนะ (ใจ เพราะกำหนดรู้อารมณ์) มนินทรีย์ (ความเป็นใหญ่คือใจ) มนายตนะ (บ่อเกิดคือใจ) วิญญาณ (สภาพที่รู้แจ้ง) วิญญาณขันธ์ (ขันธ์ซึ่งเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์) มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุที่เป็นสภาพรู้แจ้งทางใจ)
หัวข้อแนะนำ