ราคะ

 
gavajidham
วันที่  28 ม.ค. 2551
หมายเลข  7167
อ่าน  17,761

ตัณหา ราคะ โลภะ คำศัพท์ ๓ คำนี้ มีความหมายอย่างเดียวกันคือ หมายถึง โลภเจตสิก ซึ่งโลภเจตสิกนี้มีชื่อหลายชื่อ ดังนี้

เชิญคลิกอ่าน ...

โลภะ เป็นไฉน [ธรรมสังคณี]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 ม.ค. 2551

ตัณหา ราคะ โลภะ คำศัพท์ ๓ คำนี้ มีความหมายอย่างเดียวกันคือหมายถึง โลภเจตสิก ซึ่งโลภเจตสิกนี้มีชื่อหลายชื่อ ดังนี้

เชิญคลิกอ่าน ...

โลภะ เป็นไฉน [ธรรมสังคณี]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
gavajidham
วันที่ 30 ม.ค. 2551

ช่วยอธิบายโดยเข้าใจง่ายๆ ไม่งงไม่เครียดได้ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
gavajidham
วันที่ 30 ม.ค. 2551

แล้วช่วยกรุณาตอบให้ตรงกับคำถามด้วยอย่าได้อ้อมคัอมเลยครับ เชื่อว่าบุคคลที่อยากรู้เรื่องธรรมะท่านอื่นจะได้ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ckitipor
วันที่ 30 ม.ค. 2551

ตัณหา ราคะ โลภะ คำศัพท์ ๓ คำนี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน หมายถึง ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ดังนั้น จะใช้ ราคะ โทสะ โมหะ แทน โลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่ได้แตกต่างกันเลย

ที่จริงผู้ตอบก็ตอบชัดเจนมากทุกคำตอบ ที่นำมากล่าวเป็นพระพุทธพจน์โดยตรงเพียงแต่ต้องอ่านให้ละเอียด ก็จะค่อยๆ เข้าใจได้ ต้องศึกษาด้วยความละเอียดและรอบคอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ckitipor
วันที่ 30 ม.ค. 2551

ตัณหา ราคะ โลภะ ... มีความหมายเหมือนกัน

คือ ความต้องการ ความทะยานอยาก ความติดข้อง ซึ่งเป็นสภาพจิตของทุกคนในขณะนี้ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดจะไม่ทราบเลยว่าการดำเนินชีวิตปกติในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว พูดคุย ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติในชีวิตประจำวัน ก็เป็นโลภะประเภทที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เสียหาย หรือเสียประโยชน์

แต่เป็นโลภะโดยสภาวะ คือ เป็นความติดข้อง ต้องการที่จะกระทำ เป็นโลภะขั้นละเอียดที่ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงความจริงนี้ เราจะไม่ทราบเลยว่าแท้จริงแล้ว จิตของเราเป็นไปกับโลภะแทบจะตลอดเวลา เราจะทราบลักษณะของโลภะต่อเมื่อโลภะมีกำลังแล้วเท่านั้น เช่น อยากได้อะไรมากๆ ก็จะรู้สึกถึงความรุ่มร้อน ทุรนทุราย อยากได้มาเป็นของตน เพราะมีความเป็นตัวตน ทุกคนจึงแสวงหาสิ่งที่ตนพอใจ ถ้ามีความต้องการในสิ่งใดและสิ่งนั้นเกินกำลังของตนที่จะได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ผู้ที่โลภะมีกำลังมากก็จะคิดหาวิธีเพื่อให้ได้มาด้วยวิธีทุจริต หรือบางคนรวยมากแล้วก็ยังไม่รู้จักพอ ยังต้องการต่อไปอีกเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

ความไม่รู้จักพอนี่เอง เป็นเหตุให้ทำทุจริตทางกาย (ลักขโมย ทุจริตคอรัปชั่น ปล้น จี้) ทุจริตทางวาจา (พูดโกหก) ทุจริตทางใจ (คิดอยากได้ วางแผนปล้น วางแผนทุจริต คอรัปชั่น) มีใครเห็นโลภะของตนเองบ้าง ทุกคนรู้จักโลภะแต่เพียงชื่อ แต่ไม่มีใครรู้จักตัวจริงของโลภะ เป็นเพราะเรามีความคุ้นเคยและชอบที่จะมีโลภะ เรามีความอยาก (โลภะ) ที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น อยากได้สิ่งนั้น อยากได้สิ่งนี้ อยากเป็นคนรวย อยากมีอำนาจ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็จะสะสมเพิ่มพูนแต่ความอยาก (โลภะ) ไว้ในจิต แม้กำลังจะตายก็ยังอยากจะไปสวรรค์ จึงเป็นการยากเหลือเกินที่จะละโลภะ พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ว่าโลภะนี่เองเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัยสัจจ์) โลภะนี่เองเป็นเหตุให้สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่าย ตาย เกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์

จากหนังสือ กรรม ... คำตอบของชีวิต

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 30 ม.ค. 2551

นอกจากจะรู้ความหมายของคำแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะที่มีจริงของ ราคะหรือโลภะ โทสะและโมหะด้วยครับ เพราะความหมายของคำเหล่านี้สะท้อนลักษณะที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งลักษณะเหล่านั้นไม่ต้องมีคำใดมาเรียกเลยก็ได้ แต่มีจริงสำหรับชนทุกชาติทุกภาษา ขณะที่ท่านเจ้าของกระทู้ต้องการรู้คำตอบตามที่ท่านถาม หากความรู้นั้น ไม่เป็นไปเพื่อการละกิเลสแล้ว ความต้องการรู้นั้นเป็นลักษณะของราคะหรือโลภะ

ขณะที่ท่านงง ไม่เข้าใจข้อความจากพระไตรปิฎก ที่มีท่านผู้กรุณานำถ้อยคำจากพระโอษฐ์มาให้ศึกษาเป็นลักษณะของโมหะ และขณะที่ท่านรู้สึกขุ่นเคืองใจว่าตอบไม่ตรงประเด็นที่ท่านถาม (หรือกำลังคิดว่าความคิดเห็นที่อ่านอยู่นี้ยอกย้อนท่านให้โกรธเล่น) ขณะนั้นเป็นลักษณะของโทสะ จะเห็นได้ว่า ลักษณะทั้งสามแบบข้างต้นหรือที่คล้ายกันมากบ้าง น้อยบ้าง เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตของเราไม่ว่าจะเรียกลักษณะเหล่านั้นด้วยคำใดในภาษาใดหรือไม่ก็ตาม ลักษณะเหล่านั้นก็มีอยู่จริง การศึกษาธรรมที่ถูกต้อง จึงเป็นการศึกษาคำที่บัญญัติถึงสภาพต่างๆ ที่มีจริงในชีวิต เพื่อให้เข้าใจเมื่อสภาพเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงๆ และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญคือ "รู้เพื่อละ" ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
gavajidham
วันที่ 3 ก.พ. 2551

ต่อจากความคิดเห็นที่ 7 ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาให้ความหมายเปรียบเทียบถึงโทสะและโมหะให้มีสติระลึกขึ้นได้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
gavajidham
วันที่ 3 ก.พ. 2551

ส่วนความหมายของคำว่า ราคะ ที่ถามเพราะต้องการที่จะทราบถึงความแตกต่าง ถ้าความรู้ความเข้าใจยังไม่ถ่องแท้แม้เพียงรากฐานของคำจะให้ละอะไร มิฉะนั้นแล้ว ชื่อคำของแต่ละชื่อจะมีปรากฏในพระไตรปิฎกทำไม ในอีกประการหนึ่งหากมีใครสักคนมาถามจะได้ อธิบายให้เขาเข้าใจได้ ต่อความคิดเห็นที่ 5 ความกำหนัดยินดี นี้หมายถึงราคะ ความติดข้อง นี้หมายถึง โลภะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี้หมายถึง ตัณหา ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ckitipor
วันที่ 3 ก.พ. 2551

ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง และความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือ ราคะ

ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง และความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือ โลภะ

ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง และความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คือ ตัณหา

ถึงแม้ไม่เรียกชื่อว่า ราคะ โลภะ ตัณหา สภาพธรรมนั้นก็มีจริง ไม่ต้องใช้ชื่อก็ได้ ความกำหนัดยินดี ความติดข้อง และความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีจริงๆ ถ้าต้องการใช้ชื่อ ราคะ = โลภะ = ตัณหา จะเรียกชื่อหรือไม่ สภาพธรรมก็อย่างเดียวกัน คือ ความติดข้องต้องการ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ