เจโตวิมุตติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ม.ค. 2551
หมายเลข  7187
อ่าน  9,726

เจโตวิมุตติ

เจต (จิต ใจ) + วิมุตฺติ (ความหลุดพ้น)

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะด้วยกำลังของสมาธิที่เป็นโลกียะ ได้แก่ สมาบัติ ๘ ที่เป็นโลกุตระ ได้แก่ ผลจิต (มรรคจิต และนิพพานก็ได้ชื่อว่า วิมุตติด้วย โดยปริยาย)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pawana
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

เรียนถาม

ขอถามว่า ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะด้วยกำลังของสมาธิที่เป็นโลกียะนั้น เป็นความหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงหรือไม่

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขณะที่เป็นฌานจิตสมาธิที่เป็นโลกียะ ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะด้วย การข่มไว้ ไม่ใช่หลุดพ้นเป็นสมุทเฉทครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pawana
วันที่ 22 ธ.ค. 2552

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Nongnuch
วันที่ 14 พ.ย. 2553

Anumotana ka.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
namconinfe
วันที่ 18 ก.พ. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 13 ส.ค. 2559

สาธุ ขออนุโมทนา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 18 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วราวรรณ
วันที่ 23 ก.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ ​

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วราวรรณ
วันที่ 23 ก.ย. 2566

แล้วถ้าสมุทเฉทแล้วมีฌานกับปัญญาละครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ย. 2566

การอบรมเจริญวิปัสสนา เป็นการอบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลส ฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา ทั้งในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ตลอดมาจนถึงสมัยนี้และทุกสมัย จึงไม่จำเป็นต้องอบรมเจริญสมถภาวนาถึงขั้นของฌานจิต เมื่อศึกษาโดยละเอียดจะเห็นได้ว่า การอบรมเจริญวิปัสสนานั้นเป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่สามารถรู้ชัดประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ คือขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ในขณะนี้นั่นเอง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ