สิริมาเถรคาถา .. สรรเสริญเปล่า ติเตียนเปล่า

 
khampan.a
วันที่  2 ก.พ. 2551
หมายเลข  7207
อ่าน  1,327

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 89


ข้อความตอนหนึ่งจาก...

สิริมาเถรคาถา

(ว่าด้วยคาถาของพระสิริมาเถระ)

(ท่านพระสิริมาเถระ) เกิดในตระกูลคฤหบดี แห่งพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เพราะเหตุที่เขาเจริญด้วยสิริสมบัติในตระกูลนั้น นับจำเดิมแต่วันที่เกิดแล้ว คนทั้งหลาย จึงตั้งชื่อเขาว่า สิริมา ดังนี้. ในเวลาที่เขาเดินได้ น้องชายก็เกิด คนทั้งหลาย ก็ตั้งชื่อน้องชายว่า สิริวัฑฒ์ โดยกล่าวว่า เด็กคนนี้ ยังสิริให้เจริญเกิดแล้ว. แม้เด็กทั้งสองนั้น ก็เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระองค์ทรงรับพระวิหารชื่อว่า เชตวัน เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว. ในบรรดาพระเถระ ๒ รูปนั้น พระสิริวัฑฒเถระ ยังไม่ ได้บรรลุอุตริมนุสธรรม (ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์) ก่อน แต่เป็นผู้ได้ปัจจัย ๔ เป็นปกติ เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายสักการะเคารพแล้ว ส่วนพระสิริมาเถระ จำเดิมแต่ เวลาที่ท่านบวชแล้ว เป็นผู้มีลาภน้อย เพราะมีกรรมมาตัดรอน เช่นนั้น แต่เป็นผู้อันชน ส่วนใหญ่ยกย่องนับถือ กระทำกรรมในสมถะและวิปัสสนาทั้งหลายแล้ว เป็นผู้มี อภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นาน

ก็ภิกษุและสามเณรทั้งหลายผู้เป็นปุถุชน ไม่รู้ว่าท่านพระสิริมาเถระผู้มีอภิญญา ๖ - เป็นพระอริยะ จึงไม่ยกย่อง จะพูดคุยอะไรกัน ก็พากันตำหนิเพราะความที่ท่านเป็นผู้มี ลาภน้อย โดยที่ชาวโลกไม่สนใจ แต่เมื่อจะยกย่อง ก็พากันสรรเสริญพระสิริวัฒเถระ เพราะความที่ท่านเป็นผู้อันชาวโลกเคารพนับถือ โดยความที่ท่านเป็นผู้มีปัจจัยลาภ. พระสิริมาเถระ คิดว่า ธรรมดาผู้ที่ควรตำหนิกลับมีผู้กล่าวสรรเสริญ และผู้ที่ควร สรรเสริญกลับถูกกล่าวตำหนิ นี้ พึงเป็นโทษของความเป็นปุถุชน ดังนี้ เมื่อจะตำหนิ ความเป็นปุถุชน จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า "ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ

ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว"

....เมื่อพระสิริมาเถระประกาศความที่ตนเป็นผู้หมดกิเลส และประกาศความที่ พระสิริวัฑฒเถระยังมีกิเลส ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว พระสิริวัฑฒเถระฟังคำเป็น คาถานั้นแล้ว เกิดความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา ยังประโยชน์ตนให้บริบูรณ์แล้ว ต่อกาลไม่นานนัก และบุคคลผู้ติเตียนทั้งหลาย ก็ยังพระสิริมาเถระให้อดโทษแล้ว.
*
(อภิญญา หมายถึง การรู้ยิ่ง มี ๖ ประการ คือ หูทิพย์ ๑ ญาณที่รู้ใจบุคคลอื่น ๑ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๑ ตาทิพย์ ๑ และ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ๑) *


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 2 ก.พ. 2551

"ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ

ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ก.พ. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 277

ข้อความบางตอนจาก....

มหากัจจายนเถรคาถา

คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคลอื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเอง

ว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้น ว่าเป็นอย่างนั้น

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 3 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 4 ก.พ. 2551

ได้ความรู้ทางภาษาบาลีสอดแทรกไปกับความเข้าใจธรรมะเพิ่มขึ้นด้วย มีประโยชน์มากครับขอขอบคุณในความอุปการะจากท่านผู้รู้ คุณ khampan.a ครับ ...อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 4 ก.พ. 2551

พระธรรมไพเราะและลึกซึ้งมากๆ จริงๆ ขออนุโมทนาคุณคำปั่น

ที่นำสิ่งมีค่ามากมาเกื้อกูลสหายธรรมโดยสม่ำเสมอ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
shumporn.t
วันที่ 6 ก.พ. 2551

ข้อความของท่าน เตือนใจได้ดีเสมอ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 6 ก.พ. 2551

.......................ขออนุโมทนา.....................
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ