ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น

 
สารธรรม
วันที่  4 ก.พ. 2551
หมายเลข  7228
อ่าน  1,050

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๒๑๔

ต่อแต่นั้น พระกปิละนั้น อันภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักโอวาทอยู่โดยนัยว่า คุณกปิละ คุณอย่าได้พูดอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น ก็เที่ยวขู่ตะคอกภิกษุทั้งหลายด้วยคำทั้งหลายว่า พวกท่านเหมือนกับคนมีกำมือเปล่า จะรู้อะไร ดังนี้เป็นต้นอยู่นั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้ แม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายของท่าน แม้พระโสธนเถระนั้นก็ได้เข้าไปหาพระกปิละนั้นแล้วพูดว่า คุณกปิละ การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายเช่นคุณเป็นอายุของพระศาสนา ดูก่อนอาวุโส คุณอย่าได้พูดแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ ฯลฯ สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. พระ-กปิละนั้นก็ไม่สนใจคำของพระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายแม้นั้น.ลำดับนั้นพระโสธน-เถระได้กล่าวกะพระกปิละขึ้น ๒-๓ ครั้งว่า

ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่ง หรือ ๒ คำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น (เพราะว่าถ้าท่านผู้อนุเคราะห์จะพึงกล่าวให้มากไปกว่านั้น) จะพึงมีโทษในสำนักของพระอริยะได้

ดังนี้ แล้วก็งดเว้นเสีย (หยุดพูด) แล้วจึงกล่าวว่า อาวุโส คุณนั้นเองจะปรากฏด้วยกรรมของคุณ ดังนี้ แล้วก็หลีกไป จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก ก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย.

ความเห็นจากท่าน อ. สุจินต์

" แม้แต่การที่จะเตือน หรือการที่กล่าวเนี่ยนะคะ ถ้าพูดมากกว่าที่ควรจะพูดก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ คือไม่ได้เข้าใจเจตนาจริงๆ ของผู้พูดนะคะ เพราะเหตุว่า ในขณะที่กำลังเป็นอกุศลเนี่ยค่ะ ก็ย่อมไม่เห็นว่า สิ่งใดถูกและสิ่งใดผิด สิ่งใดควรและสิ่งใดไม่ควร

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ท่านรู้สภาพธรรมะแล้ว (พระโสธนเถระซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์แล้วในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ) ท่านจึงกล่าวว่า " ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่งหรือสองคำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น "นี่ก็เป็นเรื่องความละเอียดของจิตนะคะ ซึ่งก็จะต้องระวังว่า สำหรับผู้ฟังเนี่ยค่ะถ้าฟังแล้วก็เกิดอกุศลไปใหญ่โต เพราะฉะนั้น ผู้พูดก็ยุติเสีย เพื่อที่จะไม่ให้ผู้ฟังเกิดอกุศลมากไปอีก

จาก...เข้าใจเรื่องกรรม ตอนที่ ๓๙


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
aiatien
วันที่ 4 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.พ. 2551

ถ้าจะพูดให้พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีที่สุด มีหลักฐานอ้างอิง รู้จักกาลนี้ควรกล่าว

กล่าวนี้ไม่ควรกล่าว

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 ก.พ. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ ๒๙๐

๑. นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, (เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก."

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 5 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 5 ก.พ. 2551

อนุโมทนาคะ..เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
opanayigo
วันที่ 9 ก.ค. 2553

ธรรมที่แท้ ไม่มีคำว่า ล้าสมัย

จริงทุกกาล

...........................

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ