มารรบกวนวชิราภิกษุณี [วชิราสูตร]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
๑๐. วชิราสูตร
ว่าด้วยมารรบกวนวชิราภิกษุณี
[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.
[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว
ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่าสัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหนสัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน.
[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมมุษย์.ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู่มีบาปใคร่จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.
ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ในกองสังขารล้วนนี้ย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์เหมือนอย่างว่าเพราะคลุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด.
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้นความจริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ.
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง
จบวชิราสูตร
จบภิกขุนีสังยุต
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
อรรถกถาวชิราสูตร
ในวชิราสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นยิธ สตฺตุปลพฺภติ ความว่า ในกองสังขารล้วนนี้ ว่าโดย
ปรมัตถ์ จะได้แก่สัตว์ก็หาไม่. บทว่า ขนฺเธสุ สนฺเตสุ ความว่า เมื่อขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ ท่านกำหนดเอาด้วยอาการนั้นๆ . บท สมฺมติ คือเป็นเพียงสมัญญาว่าสัตว์เท่านั้น. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์คือ ขันธ์ ๕. บทว่านาญฺตฺร ทุกฺขา ความว่า นอกจากทุกข์ สภาวะอย่างอื่นไม่มีเกิดไม่มีดับ.
จบอรรถกถาวชิราสูตรที่ ๑๐จบภิกขุนีสังยุตเพียงเท่านี้
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้นความจริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไปนอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ.เมื่อมีขันธ้ทั้งหลาย ด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) และความติดข้อง (โลภะ) จึงหลงยึดถือว่าเป็นสัตว๋ บุคคล ตัวคน ไม่เกิดดับ ไม่รู้ว่าเป็นนามธรรมรูปธรรม ที่เกิดดับ
ทุกข์ก็หมายถึง เกิด ดับ ขันธ์ก็หมายถึง เกิด ดับทุกท่านถ้าเข้าใจ และมีความจำอันมั่นคง อบรมเจริญสติสัมปชัญญะ
จนกว่าจะรู้ได้ว่า ไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตน เลยจริงๆ มีแต่ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น ระลึกรู้ลักษณะของขันธ์ ๕ คือ นามธรรม (สภาพรู้) และ รูปธรรม (สภาพไม่รู้) เนืองๆ บ่อยๆ ไปเรื่อยๆ
จนเข้าใจธรรมที่ว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา "สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์" คือ สังขารธรรมทั้งหลาย หมายถึง นามรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะเกิดแล้วดับทันที หาสัตว์ บุคคล ตัวตนและสภาพธรรมที่เที่ยงไม่ได้เลย นะครับ
โปรดดู 05518 ด้วยคร้บ
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย