ผู้โจทก์ - ผู้ถูกโจทก์

 
สารธรรม
วันที่  8 ก.พ. 2551
หมายเลข  7278
อ่าน  1,061

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ

[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทก์ผู้อื่นพึงมนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทก์ผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทก์ผู้อื่น คือ :-

๑. ความการุญ๒. ความหวังประโยชน์๓. ความเอ็นดู๔. ความออกจากอาบัติ๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทก์ผู้อื่น พึงมนสิการธรรม๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทก์ผู้อื่น.

ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ

[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุ่นเคือง ๑.

ปาติโมกขฐปนขันธกะ ที่ ๙ จบในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 8 ก.พ. 2551

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

พาลวรรคที่ ๓

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒จำพวก

เป็นไฉน คือ คนที่ไม้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรอง

ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒

จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็น

ไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม

เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 8 ก.พ. 2551

เป็นประโยชน์ในชีวิตฆราวาสเหมือนกันครับ เช่น เวลาที่เห็นคนใกล้ชิด ได้กระทำผิดลงไปแล้วมีความเมตตา กรุณา คิดที่จะเตือนเขา ก็ควรที่ผู้เตือนจะระลึกเสมอว่า ...ที่คิดจะเตือนก็เนื่องด้วยความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความที่เขาที่จะได้รู้สึกตัวว่าผิดและไม่ทำสิ่งทื่ผิดอีกต่อไป และจะได้เจริญธรรมะที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อจะซ้ำเติม หรือทำให้ไม่สบายใจ เช่นเดียวกับเวลาถูกใครเตือน ผู้ถูกเตือนก็ควรพิจารณาจากความจริงว่า ตนผิดจริงหรือไม่ ถ้าผิดจริง ก็ไม่ควรขุ่นเคืองใจครับ เพราะที่ผิดไปแล้วก็เป็นธรรมะ แต่เป็นธรรมะที่ถ้าเห็นโทษด้วยปัญญาแล้วก็ควรที่จะละเสีย ไม่ควรกระทำอีกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 8 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ก.พ. 2551

.........................ขออนุโมทนาค่ะ........................
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
saifon.p
วันที่ 9 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ