คำว่า ปรมาณู มีระบุในพระไตรปิฎกจริงหรือเปล่าครับ

 
suthon
วันที่  9 ก.พ. 2551
หมายเลข  7291
อ่าน  8,683

ผมพบบทความนี้ ไม่ทราบว่าอยู่ในอภิธรรมจริงหรือไม่ หรือแต่งกันภายหลังเพื่ออธิบาย

เรื่องรูป

ปรมาณูในพระพุทธศาสนาแยกจากเม็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปรมาณูดังคาถาจาปลินิคัณฑุ (อภิธานนัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และคาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ว่า

ฉตฺตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เตตชฺชรี ตาปี ฉตฺตึส รถเรณูจฺ ฉตึส เตลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญมาโสติ สตฺเต
๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู๓๖ อณูเหล่านั้น เป็น ๑ ตัชชารี๓๖ ตัชชารีเหล่านั้น เป็น ๑ รถเรณู๓๖ รถเรณูเหล่านั้น เป็น ๑ ลิกขา๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา๗ อูกาเหล่านั้น เรียกว่า ธัญญามาสถ้าจะกลับเสียก็ได้ดังนี้๑ เม็ดข้าวเปลือก = ๗ อูกา๑ อูกา = ๗ ลิกขา๑ ลิกขา = ๓๖ รถเรณู๑ รถเรณู = ๓๖ ตัชชารี๑ ตัชชารี = ๓๖ อณู๑ อณู = ๓๖ ปรมาณู

๑ ปรมาณูนั้น เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านผู้อ่าน

ลองเปรียบเทียบกันดูกับปรมาณูในทางวิทยาศาสตร์ ว่าจะมีขาดแตกต่างกันอย่างไร

การศึกษาปรมาณูในพระพุทธศาสนา มุ่งหมายเพื่อจะให้เห็นว่า รูปทั้งหลายเหล่านั้น

ล้วนเป็นธาตุ มิใช่สัตว์มิใช่บุคคลเป็นหน่วยเล็กๆ ที่มองเห็นไม่ได้มาประชุมรวมกันแล้ว

ก็เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัยต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการดลบันดาลขึ้นมาของใคร และมี

การสลายตัวอยู่ตลอดเวลา ในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง

แท้แน่นอน รวมอยู่กันชั่วคราวเท่านั้น ทั้งเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เรื่อยไป ไม่มีหยุด

เลย จะไม่มีใครมีความสามารถไปบังคับยับยั้งให้มันหยุดการเปลี่ยนแปลงได้เลยเป็น

อันขาด เมื่อมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว จึงเอาเป็นที่พึ่งอันถาวรไม่ได้

จึงเป็นทุกข์ความสำคัญของเรื่องปรมาณูในพระพุทธศาสนาอีกบางประการ จะละเลย

ไม่กล่าวเสียหาได้ไม่คือในหนึ่งปรมาณูนั้นแยกออกเป็น ๘ อย่างรวมกัน คือ มีธาตุดิน

น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส โอชะเรียกว่า อวินิพโภครูป และปรมาณูนั้น ย่อมจะมีธาตุทั้ง ๘ นี้

อยู่รวมกันเสมอไป จะเอาอันใดอันหนึ่งออกเสียมิได้เลย พูดง่ายๆ ก็ว่า มีปรมาณูอยู่ที่

ไหน ธาตุทั้ง ๘ นี้ก็จะอยู่ในที่นั้นคำว่าปรมาณูในธรรมะแสดงว่าเป็น "รูป" แม้ว่าปรมาณู

จะเล็กน้อยกระจ้อยร่อยถึงเพียงนี้ แต่ก็ยังเป็นรูปที่หยาบ เพราะมีสุขุมรูปที่ละเอียดยิ่ง

กว่านี้อีกถึง ๑๖ รูป ในจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปด้วยกันอำนาจของจิตซึ่งมองหาตัวตน

ไม่เห็นยังมีอำนาจทำให้เกิดรูปได้ถึงเพียงนี้ จะมีผู้ใดบ้างเล่าที่คิดเข้าไปถึงอำนาจ

ของกรรมที่เก็บสั่งสมเอาไว้ในจิต ซึ่งก็มองหาตัวไม่เห็น และสัมผัสถูกต้องไม่ได้

เหมือนกัน แต่แม้กระนั้นมันก็มีอำนาจทำรูปได้ เรียกรูปที่เกิดมาจากรรมนี้ว่า "กรรมชรูป"
กรรมชรูปเริ่มทำงานของมันตั้งแต่ในขณะปฏิสนธิ เรียกว่า ปฏิสนธิกาล คือ เริ่มต้นเกิดมี

ชีวิตขึ้นเป็นครั้งแรกในครรภ์ของมารดาเพียงเป็นจุดเล็กๆ จุดหนึ่งถ้าเกิดเป็นผีสาง

เทวดาซึ่งเป็นรูปของปรมาณูทั้งสิ้น ก็เรียกในขณะแรกเกิดว่า ปฏิสนธิเหมือนกัน

แต่ร่างกายใหญ่โตทันที ในขณะปฏิสนธิ แม้จะเกิดขึ้นเพียงขณะจิตเดียว แต่กรรมชรูป

ก็เริ่มทำรูปของมันขึ้นมา ณ ที่นั้นแล้ว หลังจากปฏิสนธิขณะเดียวแล้ว กรรมชรูปก็เริ่ม

ทำงานของมันต่อไปอีกเรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต เรียกว่า ปวัตติกาลกรรมชรูป ก็คือ

กรรมที่ได้ผลิตสร้างหรือผันแปรเปลี่ยนแปลงรูปให้เป็นรูปใหม่ อำนาจของมันมีความ

สามารถผันแปรรูปได้ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลเมื่ออยู่ในครรภ์ของมารดาใน

ขณะปฏิสนธิ แม้จะยังไม่มีตัวมีตนอะไรเลย มีเพียงเป็นน้ำใสเล็กๆ จุดหนึ่ง แต่อำนาจ

ของกรรมก็ได้ผันแปรเซลล์ของพ่อและแม่ที่รวมกันนั้นให้เป็น กายทสกะ ภาวทสกะ

และหทยทสกะ คือกลุ่มรูปปรมาณูที่เป็นประสาทกาย กลุ่มรูปปรมาณูที่แสดงเป็นเพศ

หญิงหรือชาย และกลุ่มรูปปรมาณูอันเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตเมื่ออายุประมาณ ๑๐

สัปดาห์ จึงจะมีรูปอันเกิดจากกรรม หรือที่เรียกว่ากรรมชรูปเพิ่มขึ้น คือประสาทตา

ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ต่อไปกรรมชรูป คือ อำนาจของกรรมย่อมจะ

ผันแปรรูปตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งถึงแก่ความตาย คือปฏิสนธิถึงจุติที่น่าอัศจรรย์ก็คือ

จิตก็เป็นนาม กรรมก็เป็นนาม ไม่มีตัวตนอะไรเลยแม้แต่สักนิด แต่มันมีอำนาจเป็น

พิเศษจริงๆ สามารถทำให้เป็นรูปต่างๆ ได้ อำนาจของกรรมทำให้รูปเกิดขึ้นมานี้ในทางธรรมะเรียกว่า กรรมสมุฏฐาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 ก.พ. 2551

ข้อความบางตอนจากอรรถกถาวิภังคปกรณ์มีกล่าวถึงเรื่องนี้ดังนี้

เชิญคลิกอ่าน...

มาตรา (ประมาณ) [วิภังค์]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ก.พ. 2551

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทุกอย่าง ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 11 ก.พ. 2551

พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รู้แจ้งความจริงทุกอย่าง แต่ธรรมะที่ทรงแสดงไว้นั้นเป็นเพียง

ส่วนน้อย และที่ทรงแสดงก็เพื่อเป็นการเกื้อกูลให้สาวกเกิดความเข้าใจเพียงพอ

เพื่อนำไปสู่การละกิเลส มิได้ทรงหวังให้นำพระบัญญัติไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากนี้

อีกประการหนึ่ง พระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคกับความคิดของปุถุชน เสมือน

รัศมีแห่งดวงอาทิตย์กับแสงของหิ่งห้อย ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
olive
วันที่ 11 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 16 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ