การกระทำเช่นนี้ถือเป็นมิจฉาทิฐิหรือไม่?

 
เจริญในธรรม
วันที่  12 ก.พ. 2551
หมายเลข  7330
อ่าน  1,805

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็ที่พึ่งอันสูงสุด ขอความคิดเห็นจากทุกท่านครับ มีเรื่องเล่าครับ ปัจจุบันมีกลุ่มผู้สนใจในบุญ ในกุศลกันมากขึ้นทั้งพระและฆราวาส และที่สำคัญก็ศึกษาพระไตรปิฏก ฉบับ ๙๑ เล่ม ของมหามงกุฎเหมือนที่บ้านธัมมะนี้เช่นกัน แต่ลักษณะกิจกรรมหรือการกระทำต่างจากที่บ้านธรรมะครับ มีดังนี้ครับ

๑. กลุ่มที่ ๑ ชอบทำสังฆทานและมหาสังฆทานโดยคิดว่าผลบุญของสังฆทานมีมากให้ผลเป็น โภคทรัพย์ และนำไปเกิดในสวรรค์ได้ ดังเช่นนางสุภัทราและรักษาศีล ๕ และอุโบสถและนั่งฌาน ซึ่งก็คิดถึงว่าผลบุญสามารถนำไปเกิดในสวรรค์และพรหมโลกได้เช่นกัน โดยอ้าง มาจากพระไตรปิฏก ซึ่งผมดูเนื้อหาพระพุทธองค์ก็แสดงอานิสงส์ไว้จริง

๒. กลุ่มที่ ๒ เป็นพระ แนะนำให้มีการอุทิศบุญแก่สิ่งใกล้ตัวคือ เทวดาประจำตัว ญาติผู้ล่วงลับ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความสุขแก่เขาและเขาจะนำพาความสุขความเจริญในชีวิตแก่เราโดยการอุทิศบุญอาศัยอำนาจพระรัตนตรัยและบุญที่เราอุทิศไม่มีหมดไป มีในข้อบุญกริยาวัตถุ ๑๐ คือปัตติทานมัยผมดูแล้วก็ปรากฏในข้อ ๖ ของบุญกริยาวัตถุ ๑๐ จริงๆ ข้อ ๑ และข้อ ๒ นี้มีคนที่ผมรู้จัก สามารถทำได้จริงๆ คือได้สิ่งที่หวัง ได้ความรวย

ถามว่าทั้ง ๒ กลุ่มนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือไม่? หรือเป็นวิธีที่ถูกต้องสมควรกระทำครับ เพราะมีคนทำกันเป็นจำนวน มากทั่วประเทศครับ ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wirat.k
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ทำเพื่ออะไรล่ะครับ หวังได้บุญหรือเห็นประโยชน์ในการให้เพื่อขัดเกลากิเลสแล้วที่ว่า ข้อ ๑ และข้อ ๒ นี้มีคนที่ผมรู้จัก สามารถทำได้จริงๆ คือได้สิ่งที่หวัง ได้ความรวย ผลที่ได้นั้นเป็นผลของกรรมหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นผลของกรรม ผู้ที่สามารถรู้ได้คือ พระพุทธเจ้าครับ ที่จะรู้ว่าเป็นผลของกรรมไหน ไม่ว่าจะคนโดยมากเท่าไหร่ทำอะไร เมื่อทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่มีเหตุผล ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทำตาม ถ้าเชื่อในกรรมและผลของกรรมจริง จะเป็นผู้ที่หนักแน่น มั่นคง ในหลักของเหตุและผล ไม่หวั่นไหวในสิ่งที่ได้ประสบ ขอเป็นกำลังใจให้ศึกษาเรื่องกรรมและผลของกรรมเพิ่มเติมนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ศรัทธา
วันที่ 15 ก.พ. 2551

เป็นกุศล ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิครับ เพียงแต่เป็นกุศลที่ยังเป็นไปในวัฏฏะ คือ ยังทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังไม่ใช่กุศลอันสูงสุด ที่ทำให้หลุดพ้นจากสงสาร แม้แต่พระอริยบุคคลในสมัยพุทธกาลท่านก็ยังทำทานครับ เช่น อนาถบิณฑิกะเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้นแล้วแต่ว่าเราจะเลือกทำบุญระดับไหนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ก.พ. 2551

ควรศึกษาโดยตรงจากพระไตรปิฎก หรือหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ปริมาณไม่ใช่สิ่งที่วัดคุณภาพ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ก.พ. 2551

ขณะที่ให้เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่มีความหวังแอบแฝงก็เป็นกุศลจิต แต่ขณะใดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เห็นว่าผลของกรรม บุญบาป มีจริง แต่เชื่อมงคลตื่นข่าว เชื่อในสิ่งที่เหตุไม่สมควรแก่ผลก็เป็นอกุศลจิตครับ คนละขณะจิตกัน เกิดสลับกันได้ อย่างรวดเร็ว เป็นอนัตตา ห้ามไม่ได้ แต่อบรมเจริญด้วยการฟังพระธรรมแล้วพิจารณาจนมั่นคงขึ้นและเป็นปัญญาของตนเองได้ แล้วก็จะไม่ต้องเชื่อในศาสดาอื่นหรือความเห็นผิดอื่นๆ อีกได้ตลอดไป เมื่อเป็นพระโสดาบัน ซึ่งก็อีกนานแสนนานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ศรัทธา
วันที่ 15 ก.พ. 2551
ความเห็นผิดจากความเป็นจริง เป็นมิจฉาทิฏฐิครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.พ. 2551

คนที่ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมว่ามีจริง จึงจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเชื่อเรื่องบุญบาปก็ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิค่ะ แต่การทำบุญแล้วหวังผล ทำให้ผลของกุศลลดลง เพราะมีโลภแทรก แต่ถ้าเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา คือ ให้เพื่อสละกิเลส เพื่อขัดเกลาความตระหนี่ เพื่อปรุงแต่งจิต (ขณะที่ให้แล้วสติปัฏฐานเกิดร่วมด้วย)

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 ก.พ. 2551

ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทำให้คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรมธรรมทัศนะ

บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เป็นไปเพื่อความพินาศ เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร? คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรม แล้วให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แต่ตนเพียงคนเดียว แต่ยังเผยแพร่ไปยังบุคคลเป็นจำนวนมากด้วย

ความคิดเห็นที่ 11 โดย : prakaimuk.k นิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓ ได้แก่

- อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุ ปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ

- นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่ เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์ บุคคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกัน ตายแล้วสูญไม่เกิด อีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น

- อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาป บุญไม่มีแก่ผู้ทำ กระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธ การกระทำโดยประการทั้งปวง

ความเห็นผิด ๓ ประการนี้เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ ให้ผลแน่นอนที่จะไปสู่ทุคติในอันดับแห่งจุติจิต และไม่มีทางพ้นจากสังสารวัฎ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ