ตถาคต
ตถาคต
ตถา (อย่างนั้น) + อา (กลับความ) + คต (ไปแล้ว)
ผู้มาแล้วเหมือนอย่างนั้น ผู้ไปแล้วสู่ความเป็นอย่างนั้น หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จมา คือ บำเพ็ญบารมีมาเหมือนพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ และเป็นผู้ที่เสด็จไปแล้วสู่ที่ๆ ไม่ต้องกลับมาอีก คือ พระนิพพาน เหมือนกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ
ได้ครับ แต่ถ้าจะให้ดี ที่เวทีธรรมที่ท่านวิทยากรและท่านผู้รู้หลายท่านช่วยตอบได้แต่หมวดนี้คงจะมีแต่ผมคนเดียวตอบให้ครับ ถ้าไม่ว่าอะไรก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะตอบปัญหาธรรมะให้ตามความสามารถเท่าที่มีครับ
...อนุโมทนาครับ
พระองค์เสด็จมาไกลมาก ไกลจากความไม่รู้สู่ความรู้ความจริงที่ลึกซึ้งและแสนละเอียด พวกเราเป็นสาวก แม้ยังอีกไกลแสนไกลก็อดทนเพราะอย่างไร ก็ไกลไม่เท่าที่พระองค์เสด็จมาเพราะพระองค์เสด็จมาเพื่อตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เพื่อได้แสดงธรรมเกื้อกูลสัตว์โลกผู้ตาบอดให้หายตาบอดเห็นความจริงได้ด้วย. พวกเราจึงเป็นสาวกเพียงรู้ตาม จึงเห็นพระคุณของพระผู้เสด็จมาไกลยิ่งกว่าผู้ใด ด้วยพระบารมีที่แสนยากยิ่ง และยาวนาน เกินกว่าที่ผู้ใดในจักรวาลจะทำได้เช่นพระองค์
เกิดมาชาตินี้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจ ถูกเห็นถูก ตามคำของพระพุทธองค์ เป็นโอกาสที่ประเสริฐที่สุดในชาตินี้ มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด
ข้าพเจ้าจึงขอกราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
ยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการด้วยค่ะ
ข้อความใน มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์ อัพภันตรนิทาน พรรณนา รัตนจังกมนกัณฑ์ มีข้อความที่แสดงว่า พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุใดบ้าง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้เป็นอย่างไร
ตอบว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะบรรลุโดยไม่ผิดพลาด รู้ตามลักษณะเฉพาะ ของสภาพธรรม และลักษณะที่เสมอทั่วไปแท้จริงของรูปธรรม และอรูปธรรมทั้งปวง ด้วยญาณคติ เพราะเหตุที่ทรงบรรลุถึงลักษณะเฉพาะ และลักษณะทั่วไปอันแท้จริงของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระศาสดาจึงชื่อว่าตถาคต
ที่มา อ่าน และฟังเพิ่มเติม ...