โมฆบุรุษ
โมฆะบุรุษ แปลว่า บุคคลผู้ว่างเปล่า ไร้แก่นสาร ไม่ก่อประโยชน์ทั้งส่วนตนแลส่วนรวม " ดูก่อนกัสสปะ อะไรอื่นเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ หาทำให้พระสัทธรรมเสื่อมได้ไม่ แต่สิ่งที่ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมก็คือ "โมฆะบุรุษ" ที่เกิดขึ้นในศาสนานี้นี่เอง "
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
โมฆบุรุษ หรือบุรุษที่ว่างเปล่า หมายถึง ว่างเปล่าจากคุณธรรม หรืออุปนิสัยที่จะบรรลุมรรค ผล เป็นพระอริยเจ้า ถ้าชาตินั้นไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุ ก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ บุรุษว่างเปล่าจากการที่จะบรรลุมรรค ผลและแม้มีอุปนิสัยในการบรรลุมรรค ผลในชาตินั้น แต่มรรค ผลไม่มีในขณะนั้นก็ชื่อว่า โมฆบุรุษ เช่นกัน (ความเห็นที่ 3) คือบุรุษที่ว่างเปล่าจากการบรรลุ คุณธรรม คือมรรค ผล ดังเช่น พระอุปเสนวังคันตบุตร พระ-พุทธองค์ ก็ทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษ เพราะเป็นบุรุษว่างเปล่าจากคุณธรรม มรรค ผลและประพฤติไม่เหมาะสม แม้ชาตินั้นมีอุปนิสัยในการบรรลุมรรคผล แต่ขณะนั้นเป็นโมฆบุรุษ แต่ต่อมาท่านก็เพียรพยายามได้บรรลุ มรรค ผลในชาตินั้น (พระอรหันต์)
(ความเห็นที่ 4) ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ
พ[เล่มที่ 18] ระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๗๐
ข้อความบางตอนจาก....
อรรถกถา มหาสีหนาทสูตร
บทว่า โมฆปุริโส ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาดอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้นเพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ.
[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๐๑
บทว่า อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกเราว่าโมฆปุริส แต่เธอจะไม่มีธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ด้วยเหตุเพียงตรัสว่า โมฆปุริส หามิได้แล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุปเสนวังคันตบุตรด้วยวาทะว่าโมฆปุริส ว่าดูก่อนโมฆปุริส เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเร็วเกินไป ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์