ธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 มี.ค. 2551
หมายเลข  7703
อ่าน  1,973

ธรรม

ธร ธาตุ (ในความทรงไว้) + รมฺม ปัจจัย = ธมฺม

สภาพที่ทรงไว้ หมายถึง สิ่งที่มีจริง ๔ อย่าง โดยนัยของปรมัตถธรรมสังเขป ได้แก่ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑

โดยนัยของอรรถกถาในพระไตรปิฎกแสดงความหมายของคำว่า "ธรรม" ไว้หลายอย่าง เช่น ปริยัติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ และ เญยยะ (สิ่งที่ควรรู้)

๑.ในอรรถ ปริยัติ ดังประโยคว่า " ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ "

๒.ในอรรถ สัจจะ ดังประโยคว่า "ธรรมอันบัณฑิตเห็นแล้ว คือตรัสรู้แล้ว"

๓.ในอรรถ สมาธิ ดังประโยคว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้..."

๔.ในอรรถ ปัญญา ดังประโยคว่า "ดังประโยคว่า ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใด มีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้นย่อม ก้าวล่วงศัตรูได้ ..."

๕.ในอรรถ ปกติ ดังประโยคว่า "...มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ..."

๖.ในอรรถ สภาวะ ดังประโยคว่า "กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม"

๗.ในอรรถ สุญญตา ดังประโยคว่า "ก็ในสมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี"

๘.ในอรรถ บุญ ดังประโยคว่า "ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้"

๙.ในอรรถ อาบัติ ดังประโยคว่า "ธรรมชื่อ ปาราชิก ๔ เหล่านี้แล ย่อมนำมาสู่อุทเทสในปาฏิโมกข์นั้น"

๑๐.ในอรรถ เญยยะ (สิ่งที่พึงรู้) ดังประโยคว่า "ธรรมทั้งปวง ย่อมมาสู่คลองในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ... "


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 17 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ