ลักษณะของธรรมะที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2551
หมายเลข 7754
อ่าน 1,153
ในอัฏฐสาลินี อตีตติกะ อธิบายอตีตธรรม (๑๐๔๔) กล่าวถึงลักษณะของธรรมที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว มีข้อความว่า
คำว่า “ล่วงไปแล้ว” คือ ล่วงไปแล้ว ๓ ขณะ ทั้งอุปาทขณะคือขณะที่เกิด ฐีติขณะคือขณะที่ตั้งอยู่ และภังคขณะคือขณะที่ดับ จิตดวงหนึ่งๆ มีอายุสั้นมากเหลือเกิน คือ เพียงเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปจิตทุกดวงจึงมีอนุขณะ ๓ ขณะ คือ
อุปาทขณะ เป็นขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะที่ดับฐีติขณะ เป็นขณะที่ตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ดับภังคขณะ เป็นขณะที่ดับ ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ จิตขณะที่เกิดขึ้นแล้ว กำลังตั้งอยู่ ยังไม่ชื่อว่าเป็นอดีตสำหรับฐีติขณะ แต่เป็นอดีตแล้วสำหรับอุปทาขณะ
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป