เมื่อเริ่มเข้าใจความจริงของชีวิต

 
khampan.a
วันที่  10 มี.ค. 2551
หมายเลข  7814
อ่าน  2,388

ได้ฟัง ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ บรรยายในรายการ “แนวทางเจริญวิปัสสนา” เนื้อหาตอนหนึ่ง แสดงถึง บุคคลผู้ที่ไม่มีความทะนงตน ไม่มีความสำคัญตนว่า เป็นดุจผ้าเช็ดธุลี ถ้าใครสามารถประพฤติปฏิบัติตามได้ จะเป็นสุขตั้งแต่นาทีแรกที่ปฏิบัติตามได้ ซึ่งเป็นคำบรรยายที่เตือนใจได้เป็นอย่างดี จึงขอยกมาเพื่อศึกษาร่วมกันดังนี้ ครับผ้าเช็ดธุลี สามารถจะรับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง หรือจะเป็นเลือดหนอง สิ่งสกปรกต่างๆ ผ้านั้นก็สามารถที่จะเช็ดได้ นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราสามารถที่จะทนต่อถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม อาจจะเป็นถ้อยคำที่เราไม่อยากจะฟังเลย แต่ใจเราไม่เดือดร้อน ในขณะที่เราได้ยิน ลองคิดดูว่า จะเป็นสุขสักแค่ไหน เราสามารถจะค่อยๆ ฝึกหัดให้เป็นไปได้ แต่ว่าการที่จะฝึกหัด ที่จะทนคำของคนอื่นหรือการกระทำของคนอื่นได้นั้น ก็ต่อเมื่อเราเป็นผู้ที่เริ่มเข้าใจความจริงของชีวิต ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเราเลย คำว่า อนัตตา มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยที่ จะอยู่ในอำนาจของเรา หรือเป็นไปตามความต้องการของเรา แต่ขึ้นอยู่กับสภาพธรรมนั้นๆ ความหมายนั้น คือ อนัตตา อย่างความโกรธ ทุกคนก็รู้ว่า น่าเกลียด คนที่โกรธอาจจะไม่รู้ตัว แต่ว่าคนดูจะรู้ว่า คนที่โกรธน่าเกลียด แทนที่จะยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนเดิม บางทีดูถะมึงตึง ไม่น่าดูไม่น่ารัก แต่คนที่กำลังโกรธไม่ทราบ เขาไม่เห็นโทษของความโกรธ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2551

แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง จะรู้ได้ว่าธรรมฝ่ายใด เป็นฝ่ายดี ธรรมฝ่ายใด เป็นฝ่ายไม่ดี ถ้าหากเรามีธรรมฝ่ายดีเพิ่มขึ้น เราก็สามารถลดคลาย ทางฝ่ายอกุศลได้ แม้แต่ความโกรธ เราพึงรู้ว่าความโกรธไม่ดี ไม่มีประโยชน์อะไรกับใครเลย แทนที่จะคิดว่าเราต้องโกรธ ในพระไตรปิฎกไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน บรรทัดไหน ไม่มีข้อความใดเลย ที่จะกล่าวว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ดี เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่ไม่ดี แม้จะเพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ และไม่ว่าธรรมที่ไม่ดีนั้น จะเกิดกับใครก็เป็นโทษ ในขณะนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2551

ความโกรธ โทสะ ความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เกิดร่วมกับความรู้สึก ที่ไม่สบายใจเสมอๆ คนส่วนมาก ไม่อยากมีโทสะ ไม่อยากมีความโกรธ เพราะไม่ชอบความรู้สึกที่ไม่สบายใจ สำหรับบุคคลผู้ที่ได้ศึกษา ได้อบรมเจริญปัญญาสามารถรู้สภาพธรรมมากขึ้นนั้น จึงใคร่ที่จะละโทสะ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะไม่ชอบความรู้สึกที่ไม่สบายใจ แต่เป็นเพราะเห็นโทษภัย ของอกุศลประการต่างๆ อย่างแท้จริง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2551

การที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ เข้าใจชีวิตจริงๆ เข้าใจเหตุผลจริงๆ ต้องเริ่มที่การศึกษาพระธรรม ค่อยๆ สั่งสมอบรมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2551

“การที่จะเป็นบัณฑิต ดูเหมือนจะเป็นได้ไม่ยาก (แต่ยาก) เพียงไม่เก็บความโกรธไว้ และสิ่งใดที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่พึงประพฤติ”

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
devout
วันที่ 10 มี.ค. 2551

ค่ะ...ศึกษาเพื่อที่จะละ เพื่อที่จะคลาย เพื่อที่จะไม่ติดข้อง

ในความเป็น "เรา "

ทั้งโดย ตัณหา

โดย มานะ

โดย ทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 10 มี.ค. 2551

วาจาตั้งพัน ที่ไม่เป็นประโยชน์ สู้วาจาบทเดียวที่ทำให้จิตสงบไม่ได้ สูงสุดคือสงบจากกิเลสไม่เกิดอีกเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 มี.ค. 2551

เป็นคำกล่าวที่มีประโยชน์มากจริงๆ ครับ ทำให้เห็นประโยชน์และใคร่ที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตาม...ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 มี.ค. 2551

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ตุลา
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 11 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 มี.ค. 2551

ปัญญาย่อมรู้จักความโกรธแม้นิดๆ หน่อยๆ ตามความเป็นจริงครับ...อนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jans
วันที่ 14 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
tukthatsani
วันที่ 15 เม.ย. 2552

วาจากับจิตใจคล้ายกันค่ะ การที่คำพูดแต่ละคำจะออกมาข้างนอก ย่อมจะต้องมาจากข้างในก่อนค่ะ คิดดีทำดีพูดดี ย่อมมีส่วนที่ถูกต้องค่ะ ขออนุโมทนา...ต่อคำพูดที่ดีๆ ความคิดดีๆ และการกระทำดีๆ ค่ะ ทั้งนี้ย่อมมีพื้นฐานมาจากการศึกษาพระธรรมมาแต่เบื้องต้นก่อนค่ะขออนุโมทนาบุญอีกครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 16 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
panasda
วันที่ 1 เม.ย. 2566

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ