การนินทา

 
เจริญในธรรม
วันที่  11 มี.ค. 2551
หมายเลข  7830
อ่าน  1,249

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

การนินทา เช่นนินทาต่อผู้มีพระคุณ เช่น ป้าที่เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กจนจบการศึกษา เช่น กล่าวว่า ท่านไม่น่าเลี้ยงแบบนั้น แบบนี้ เลี้ยงไม่เป็น ไม่มีจิตของความเป็นแม่แท้ๆ เลี้ยงด้วยเงิน เลี้ยงเพราะหวังว่าจะมาเลี้ยงตอบ แต่ไม่ได้มีจิตมุ่งร้ายเพียงนินทา คุยถึงเหตุผล คุยถึงที่มาที่ไปกับน้องแท้ๆ ของเราที่เคยอยู่กับป้ามาเหมือนกัน (แต่ปัจจุบันไม่อยู่แล้ว และคนส่วนใหญ่หลายคนที่อยู่กับป้าไม่มีใครทนได้ เพราะท่านปากร้ายใจดีครับ แต่ผมต้องทนครับ เพราะนึกถึงคำว่า กตัญญู ตัวเดียวครับ ไม่ต้องการให้ท่านพูดออกมาว่าอกตัญญูครับ) และไม่ได้พูดกับผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เรื่องราว เช่นนี้มีผลบาปหรือไม่ครับ หรือว่าบาปแค่ไหนครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 มี.ค. 2551

อันที่จริงผู้ที่พูดย่อมรู้จักจิตของตนว่าขณะที่พูดไปต่างๆ พูดด้วยจิตอะไร สำหรับผู้ที่มีอุปการะคุณที่เลี้ยงเรามาไม่ควรกระทำหรือพูดอะไรทำให้ท่านต้องเสียใจเลยพระธรรมสอนว่า ควรเคารพสักการะผู้ที่มีบุญคุณต่อเราครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
happyindy
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ก็ถ้าท่านปากร้ายใจดี ไม่น่าต้องใช้คำว่าทนอยู่กับท่านนี่คะ ควรเป็นการอยู่กับท่านด้วยความเข้าใจและระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความกตัญญูจริงๆ มากกว่านะคะ ไม่ว่าจะอย่างไร ท่านก็เมตตาเลี้ยงดูหลานๆ มาจนโตไม่ใช่เหรอคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 11 มี.ค. 2551

บัณฑิตแม้คนอื่นทำคุณให้เพียงครั้งเดียวก็ไม่ลืม และทดแทนคุณให้ไม่หมด เช่น พระสารีบุตร ได้ข้าวทัพพีเดียวจากราธะก็ไม่ลืมบุญคุณ ภายหลังราธะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มี.ค. 2551

00481 อย่าได้กล่าวคำหยาบ

" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ , ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ, เพราะการกล่าวแข่งขันกันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ, ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกกำจัดแล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน, การกล่าวแข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๘๓

ธรรมเตือนใจวันที่ : 09-03-2551

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มี.ค. 2551

00483 เมื่อผู้ทำความผิด

เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความ สงสารเป็นพิเศษ.

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก

เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ ๖๑๐

ธรรมเตือนใจวันที่ : 11-03-2551

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 12 มี.ค. 2551
คุณ แล้วเจอกัน ครับ เดี๋ยวนี้ เวปเราสวยขึ้นนะครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 มี.ค. 2551

ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะรู้ได้แน่นอนว่า บาป หรือไม่บาปครับ แต่สิ่งที่สำคัญควบคู่กันไปด้วยคือ การพิจารณาความควร ไม่ควร ด้วยหลักตัดสินคือ พระธรรมครับ ...อนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ