คำแนะนำสำหรับชักชวนผู้อื่นมาสนใจในธรรมะ

 
เจริญในธรรม
วันที่  11 มี.ค. 2551
หมายเลข  7833
อ่าน  1,057

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสุงสุด

๑. ขอคำแนะนำสำหรับชักชวนผู้อื่นมาสนใจในธรรมะของพระพุทธเจ้า เพราะผมไม่รู้ ไม่มีญาณว่าท่านใดมีอัธยาศัยที่จะฟังธรรมได้ เหตุมีอยู่ว่าที่ทำงานผมเห็นสตรีผู้หนึ่งมีใจบุญ สุนทาน ให้อาหารแมว ให้ขวดน้ำแก่ผู้ยากไร้ (ยายแก่ๆ ) ผมก็นึกถึงอัธยาศัยเขาว่าน่าจะมี จิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศล เลยชวนสนทนา ได้ความว่าเขาก็ชอบทำบุญแบบว่าให้แก่ผู้ยากไร้ หากทำบุญที่วัดก็คงวัดจนๆ ชนบทอะไรทำนองนั้น และคงไม่ค่อยสนใจธรรมะพระพุทธองค แน่ เพราะเป็นคนใจบุญประเภทแบบทำทาน แต่ไม่ได้เลือกเนื้อนาบุญที่ดีนะครับ

๒. เลยนึกถึงการทำบุญในพุทธกาลของนางสุภัทราและนางภัทรา เทียบกันระหว่างตักบาตร ทุกวันไปเป็นบาทบริจาของพระอินทร์ แต่อีกคนทำบุญได้เนื้อนาบุญที่ดีไปอยู่ชั้นนิมมานนรดี เป็นเจ้าของวิมานใหญ่โต ก็เลยอยากแนะนำเขาให้เลือกในเนื้อนาบุญที่ดีครับ

๓. ตัวอย่างผมเก็บขวดไปขายได้เงิน และนำไปซื้อของทำสังฆทานที่วัดป่าที่มีพระปฏิบัติถูกต้องตามหลักพระวินัย อ่านพระไตรปิฏก กับให้ขวดน้ำนั้นไปแก่ยายแก่ผู้ยากไร้ อันไหนจะได้บุญมากกว่า ผมควรทำเช่นไรดี?

เหตุทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนของผู้ที่ยังหวังในบุญนะครับ เพราะผมไม่รู้ว่าชาตินี้ จะศึกษาจนเข้าถึงพระนิพพานหรือไม่ หากไม่ ก็ยังหวังที่จะมีโภคทรัพย์มากๆ หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีกก็เลยต้องทำทานในเนื้อนาบุญที่ดีก่อนนะครับ แต่ก็จะพยายามศึกษาพระธรรมของพระพุทธองค์ไปเรื่อยๆ ครับ

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
devout
วันที่ 11 มี.ค. 2551

จากตัวอย่างในพระไตรปิฎกที่ท่านยกมา...

ท่านเหล่านั้นกระทำบุญด้วยจิตที่ผ่องใสและเป็นไปทั้ง 3 กาล คือก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้

อานิสงฆ์ของบุญนั้นจึงมีมาก

เมื่อใดที่ท่านหวังผลของบุญ ขณะนั้นอานิสงฆ์ก็น้อยลงแล้วค่ะ

อย่าลืมนะคะ ทำบุญเพื่อขัดเกลา ให้เพื่อประโยชน์สุขแก่บุคคลอื่น

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ทานที่จะมีอานิสงส์มากหรือน้อย นอกจากจะประกอบด้วย 3 กาลแล้ว ขึ้นอยู่กับผู้รับว่ามีศีล

หรือทุศีล และผู้ให้ได้ของมาโดยสุจริต ทานจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่นให้ทานกับสัตว์

เดรัจฉานมีอานิสงส์ร้อยเท่า ให้ทานกับคนทุศีลมีอานิสงส์พันเท่า ให้ทานกับคนมีศีล

มีอานิสงส์หมื่นเท่า ให้ทานกับพระโสดาบันมีอานิสงส์แสนเท่า ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

แน่นอนครับว่าการเลือกให้ในบุคคลที่มีศีล ผลย่อมมากกว่าซึ่งการให้นั้นพระพุทธเจ้าก็

ไม่ได้ตรัสห้ามว่า ไม่ควรให้คนนั้นคนนี้ แต่ทรงแสดงว่า ให้กับบุคคลใดมีผลมาก กับ

บุคคลใดมีผลไม่มาก แต่การอนุเคราะห์ช่วยเหลือก็ควรทำโดยทั่วไป เลือกให้ได้ก็ดี

ครับ แต่ก็ควรอนุเคราะห์ช่วยเหลือทั้งหมด เมื่อเหตุการณ์มาประจวบเหมาะ เช่น เจอคน

ยากจน ขอทาน เราก็สามารถแบ่งของบางส่วนจากที่มีให้ได้ และอีกบางส่วนก็ให้ในผู้มี

ศีลก็ได้ครับ ดังนั้น การให้จึงทั่วไป เปรียบเหมือนฝนย่อมตกทั่วไป ไม่ใช่ตกแค่ที่บาง

ส่วนครับ การให้ก็เช่นกัน ย่อมให้ในที่ทั้งปวง โดยคำนึงถึงบุคคลที่รับและของที่จะให้

ดังนั้น เมื่อคิดพิจารณาดังนี้ การให้หวังบุญ กับ ให้เพราะประกอบด้วยปัญญา ที่เห็นผล

ของกรรมว่าให้กับบุคคลที่เป็นทักขิเยยบุคคลมีผลมาก จึงเลือกให้ สองกรณีนี้จึงต่างกันในสภาพจิตครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกเชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ......บุคคลเปรียบเหมือนฝน ๓ จำพวก !

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มี.ค. 2551

การเลือกให้ที่ประกอบด้วยปัญญาเชื่อกรรมและผลของกรรมและรู้ว่าให้ในที่ใดมีผลมากกับให้เพราะหวังบุญมาก สภาพจิตต่างกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178 ข้อความบางตอนจาก...

สาธุสูตร

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ฯลฯ ทาน

ที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว เป็น

การดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็น

การดี ทานที่เลือกให้พระสุคตทรง

สรรเสริญแล้ว.

บทว่า วิเจยฺย ทาน แปลว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. ในข้อนี้ ได้แก่

ทานที่บุคคลเลือกให้นั้นมี ๒ อย่าง คือ เลือกทักขิณา (ของสำหรับทำบุญ)

อย่างหนึ่ง เลือกพระทักขิไณยบุคคล (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) อย่างหนึ่ง.

ในสองอย่างนั้น การนำปัจจัยทั้งหลายที่เลว ออกไปแล้วคัดเลือกเอาของที่

ประณีตๆ ถวายแก่พระทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า การเลือกทักขิณา.

การละเว้นบุคคลทั้งหลาย นอกจากศาสนานี้ ผู้มีศีลวิบัติแล้ว และบุคคลผู้

นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท แล้วถวายทานแก่บรรพชิตในพระศาสนา ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลาทิคุณ ชื่อว่า การเลือกพระทักขิไณยบุคคล. ด้วยอาการทั้งสอง

อย่าง อย่างนี้ ชื่อว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. บทว่า สุคตปฺปสฏฺ แปลว่า

พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มี.ค. 2551

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 489

ข้อความบางตอนจาก...

อรรถกถาปฐมสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

วิเจยฺย เทติ ความว่า เลือกปฏิคคาหก หรือทานโดยตั้งใจให้อย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วแก่ผู้นี้ จักมีผลมาก ที่ให้แก่ผู้นี้ไม่มีผลมาก ดังนี้แล้วให้. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
devout
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ดังนั้นอานิสงฆ์ของทานจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ

ความบริสุทธิ์ของวัตถุ 3

ได้แก่ ไทยธรรม ๑ ทายก ๑ และปฏิคาหก ๑

และในกาล ๓

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 มี.ค. 2551
.....บุคคลผู้นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท มีอธิบายไว้โดยละเอียดไหมครับ ...อนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ