ควรคบบุรุษสูงสุด
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ 283
[๑๖] ๑. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว นิคคหะชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต เพราะว่า เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี โทษที่ลามก
๒. ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก ธรรมของอสัตบุรุษ ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ
๓. บุคคลไม่ควรคบบาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษ ต่ำช้า ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด
ขอนุโมทนาครับ และขอยกความเห็นที่เคยเขียนไว้ในหัวข้อสนทนา 7688 มาแสดงอีกครั้ง ในชีวิตประจำวันนั้นเรามีคนที่รักหลายคน เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ คู่สมรส เพื่อนฝูงและผู้ใหญ่ในสายงานของอาชีพ คนเหล่านั้นมักมีความรักมีความปรารถนาดีให้เรา ให้คำแนะนำและความอนุเคราะห์โดยประการต่างๆ ตามแต่ที่ตัวเองเห็นว่าเป็นประโยชน์ แต่เราไม่ควรลืมว่าประโยชน์สูงสุด คือ ความเข้าใจพระธรรมอันเป็นประโยชน์ตามความเห็นของสัตบุรุษทั้งหลาย ดังนั้น แม้ว่าเราจะยังมีอสัตบุรุษผู้เป็นที่รักและบางคราวก็ยังชอบใจธรรมของเขาเหล่านั้น เช่นคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ แต่เราไม่ควรละเลยการกระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก และให้ดำรงอยู่ในฐานะที่รักอันสูงสุด เพื่อประโยชน์อันยิ่งคือความเข้าใจถูกในสภาพธรรมทั้งหลาย
บุคคลที่คบบัณฑิต เปรียบเหมือนใบไม้ห่อของหอม
คบคนพาล เปรียบเหมือนใบไม้ห่อของเน่า
พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในมงคลสูตรเป็นอันแรกคือ การไม่คบคนพาล
๓. บุคคลไม่ควรคบบาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษ ต่ำช้า ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด.ช่วยอธิบายให้เข้าใจตอนนี้ได้ไหมครับ ว่าไม่ควรคืออย่างไร ควรคืออย่างไร เพราะอะไรจึงไม่ควรและเพราะอะไรจึงควร
อนุโมทนาครับ