ประทับใจเถรีคาถา ของนางวชิราภิกษุณีมากๆ ๆ
ผมว่าเป็นคาถาที่แสดงถึงหลักอนัตตา ให้เห็นชัดมากๆ ๆ ที่ว่าเพราะกุมกระบวน ล้อ เพลา และส่วนประกอบอื่นๆ โวหารว่ารถ จึงเกิดขึ้น
ไม่ทราบว่าสาธุชนท่านอื่นๆ มีความคิดเห็นกับเถรีคาถาบทนี้ว่าไงบ้างครับ
ปล. ผมจำได้ไม่หมดครับ รู้สึกว่าจะมี ๓ คาถานะครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๐๙
ข้อความบางตอนจาก วชิราสูตร
ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่า สัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์ เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด. เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติ ว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ความจริง ทุกข์ เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่และ เสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
ขออนุโมทนา
ขออนุญาตเสนอความเห็นด้วยตัวอย่างที่เข้ากับยุคสมัยครับ.....
คนที่ไม่ใช่ช่างซ่อมรถยนต์ ไม่มีความรู้ส่วนประกอบต่างๆ ของรถยต์ ก็มักคิดว่ารถยนต์เป็นสิ่งที่ไว้วางใจได้ มีความมั่นคง มีกำลังดี แต่สำหรับผู้ที่เป็นช่างหรือมีความรู้เรื่องรถยนต์เป็นอย่างดี จะเข้าใจว่าที่เรียกว่ารถนั้น แท้จริงเป็นวัสดุชื่อต่างๆ ประกอบกันขึ้นเป็นรถ หากส่วนประกอบที่สำคัญชิ้นใดชิ้นหนึ่งเสีย หรือทำงานไม่ปกติ ก็จะทำให้รถนั้นวิ่งต่อไปไม่ได้ นอกจากนี้ หากนำรถสักคันหนึ่งไปแยกชิ้นส่วนเหมือนพวกที่โจรกรรมรถแล้วนำไปแยกขายเป็นอะไหล่ ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่ารถได้อย่างไร เพราะส่วนประกอบต่างๆ ถูกทำให้กระจัดกระจายไป ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า แท้จริงแล้วชีวิตคืออะไร ย่อมเป็นผู้ประมาท ยึดถือชีวิตและร่างกายว่าเป็นของเรา เป็นตัวตน แต่ท่านผู้รู้ได้แสดงไว้โดยละเอียดว่า ที่เรียกว่าชีวิตและร่างกายนั้น แท้ที่จริงเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมประการต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้น หากธรรมเหล่านี้ประการใดประการหนึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต ชีวิตนี้ก็สิ้นสุดลงได้อย่างง่ายดายในทันที ดังนั้น หากต้องการรู้ว่าการดำรงอยู่ของชีวิตยากอย่างไร ก็ขอให้ศึกษาให้รู้ว่าชีวิตคืออะไร และมีปัจจัยใดบ้างที่ค้ำจุนชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ยิ่งรู้เรื่องความจริงของชีวิตมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งรู้ว่าชีวิตเป็นของน้อย อายุของมนุษย์นี้สั้นจริงๆ
ถ้ารู้ความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความทุกข์ต่างๆ และกิเลสก็จะลดลงไปด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
จริงๆ แล้วสิ่งที่มีจริง คือสภาพธรรมหรือขันธ์ ๕ นั่นเอง ถ้าไม่มีสภาพธรรม เช่น รูป จิต เจตสิกแล้ว สัตว์ บุคคล ก็มีไม่ได้เพราะสัตว์ บุคคลและสิ่งต่างๆ มีเพราะอาศัยสิ่งที่มีจริง คือสภาพธรรมที่ประชุมรวมกัน จึงสมมติกันว่าเป็น คนเป็นสัตว์ สิ่งของครับ ดังนั้นคำว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิด หมายถึง สภาพธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นและสภาพธรรมเท่านั้นที่ดับไป ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน สภาพธรรมในที่นี้ก็คือ จิต เจตสิก รูปที่เกิดขึ้นและดับไป แต่เพราะความเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วของสภาพธรรม จึงยึดถือว่ามีคน มีสัตว์ บุคคลเพราะเห็นว่าเที่ยง เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วก็มีแต่สภาพธรรมเท่านั้นครับ (ขันธ์ ๕)
ขออนุโมทนา ดังข้อความในอรรถกถาของสูตรนี้ครับ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๑๐
อรรถกถาวชิราสูตร
ในวชิราสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นยิธ สตฺตุปลพฺภติ ความว่า ในกองสังขารล้วนนี้ ว่าโดยปรมัตถ์ จะได้แก่สัตว์ก็หาไม่.
บทว่า ขนฺเธสุ สนฺเตสุ ความว่า เมื่อขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ ท่านกำหนดเอาด้วยอาการนั้นๆ บท สมฺมติ คือเป็นเพียงสมัญญาว่าสัตว์เท่านั้น.
บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์คือ ขันธ์ ๕.
บทว่า นาญฺตฺร ทุกฺขา ความว่า นอกจากทุกข์ สภาวะอย่างอื่นไม่มีเกิดไม่มีดับ.
จบอรรถกถาวชิราสูตรที่ ๑๐
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์