ผู้เอิบอิ่มในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

 
Idoitforyou
วันที่  13 มี.ค. 2551
หมายเลข  7870
อ่าน  1,387

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 283

๔. บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อม อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ. ๕. อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศร ทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

๖. ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งเดียว ย่อมไม่ สะเทือนด้วยลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ เอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
dron
วันที่ 13 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Komsan
วันที่ 13 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 มี.ค. 2551

บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน ตนในที่นี้หมายถึงจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 มี.ค. 2551
ถูกต้องครับ เพราะไม่มีสัตว์ บุคคลมีแต่สภาพธรรม
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2551

บัณฑิต แม้ในครั้งพุทธกาลก็ไม่ประมาทกิเลสแม้มีประมาณน้อย ท่านเปรียบกิเลสเหมือนลมซึ่งพัดได้ทุกอย่าง แม้แต่ภูเขาสิเนรุ ไฉนเล่าจึงจะพัดใบไม้เก่าๆ ซึ่งเปรียบเหมือนตัวเองไม่ ได้เล่า ลมในที่นี้หมายถึงกิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 15 มี.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อิสระ
วันที่ 16 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 10 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ