การรับบาตร - ใส่บาตร

 
ajarnkruo
วันที่  13 มี.ค. 2551
หมายเลข  7872
อ่าน  1,757

ขอเรียนถามท่านวิทยากร ดังนี้ครับ๑. การที่ฆราวาสรับบาตรจากพระภิกษุมาแล้วใส่อาหารลงไป รมด้วยกลิ่นของหอม (จากที่ เคยอ่านผ่านๆ มาจากพระไตรปิฎก) เป็นอย่างไรครับ ๒. แล้วการใส่บาตรในสมัยนี้จะกระทำอย่างนั้นได้ไหมครับ หรือว่าควรใส่เพียงเฉพาะขณะที่ พระมาบิณฑบาตรก็พอครับ ขออนุโมทนาในทุกๆ คำตอบครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2551

๑.ในยุคโน้นเขาทำอย่างนั้น เป็นการบูชาสักการะอย่างหนึ่ง ซึ่งยุคสมัยที่ต่างกัน สมัยนี้ไม่มี ๒.อาจทำได้บางพื้นที่ บางกาล แต่ส่วนใหญ่แล้ว เพียงใส่อาหารบิณฑบาตรก็พอ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2551

การให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง การใส่บาตรกับพระภิกษุ สามเณรทำให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาพระธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 15 มี.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 1 โดย study ๑.ในยุคโน้นเขาทำอย่างนั้น เป็นการบูชาสักการะอย่างหนึ่ง ซึ่งยุคสมัยที่ต่างกัน สมัยนี้ไม่มี ๒.อาจทำได้บางพื้นที่ บางกาล แต่ส่วนใหญ่แล้ว เพียงใส่อาหารบิณฑบาตรก็พอ ครับ

ขอทราบว่า ในยุคนั้น ถึงจะนิมนต์พระมาฉันในเรือน ก็ถวายภัตตาหารในบาตรเท่านั้นไม่มีสำรับ อย่างในยุคนี้ ที่พระมาโดยไม่ถือบาตรตามมา ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prissna
วันที่ 16 มี.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย.
การบิณฑบาตร เป็นกิจของสงฆ์ เป็นกิจที่เกื้อกูลให้พุทธบริษัทได้เจริญกุศล โดยมุ่งตรงต่อพระอริยสงฆ์เท่านั้น สาระอันนี้ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 16 มี.ค. 2551

ตอบความเห็นที่ ๓

ในสมัยก่อนมีทั้ง ๒ อย่าง คือ ฉันที่เรือน หรือถวายใส่บาตรพอแก่การฉัน ท่านก็กลับวัดเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 17 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกคำตอบครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ