ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส

 
Idoitforyou
วันที่  14 มี.ค. 2551
หมายเลข  7898
อ่าน  1,170

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ 284

๗. บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉะนั้น. ๘. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวง แล สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่ บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม ไม่แสดงอาการขึ้นลง

๙. บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน ย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น บัณฑิตไม่ พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ ไม่พึง ปรารถนาแว่นแคว้น (และ) ไม่พึงปรารถนาความ สำเร็จเพื่อตนโดยไม่เป็นธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้ มีศีล มีปัญญา ตั้งอยู่ในธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 มี.ค. 2551

ช่วยกรุณาอธิบายขยาย หรือยกตัวอย่างประกอบ ข้อความด้านล่างให้เข้าใจด้วยครับ

1. บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน

2. บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น

ขอบคุณครับ และอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 15 มี.ค. 2551

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม..

ลักษณะ เครื่องหมายของบัณฑิต.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 15 มี.ค. 2551

ตอบความเห็นที่ ๑

๑. คือท่านไม่ทำบาปเพื่อตัวเอง เช่น ฆ่าปลาเพื่อเลี้ยงชีพของตน ลักทรัพย์เพื่อเอาเงินมาซื้ออาหาร โกหกเพื่อตนเอง เป็นต้น

๒. คือท่านไม่ทำบาปเพื่อลูก เป็นต้น เช่น ทำอกุศลกรรมเพื่อเอาทรัพย์มาเลี้ยงลูก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2551

เสริมความเห็นที่ 3

1. ไม่ทำบาปเพื่อตัวเอง เช่น ตนเองไม่มีคุณธรรม ก็อวดว่ามีคุณธรรม เพื่อจะได้ลาภสักการะ

2. ไม่ทำบาปเพื่อคนที่เรารัก เช่น ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ว่า บุรุษคนหนึ่ง รักผู้หญิงคน หนึ่ง ผู้หญิงอยากได้ผ้ามาใส่วันงาน บุรุษก็ไปขโมยผ้าในวัง ถูกพระราชาจับได้ และถูกทำ โทษด้วยการเสียบหลาว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prissna
วันที่ 6 เม.ย. 2551

ผ่องใส ทั้ง กาย วาจา ใจ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 6 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 10 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ