ปาฏิโภคสูตร - สุตสูตร - ๒๒ มี.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 มี.ค. 2551
หมายเลข  7943
อ่าน  2,090

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๒ มี.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

๗. ปาฏิโภคสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครรับประกันได้ ๔

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๔๐

และ

๔. สุตสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๔๒

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๔๐

๒. ปาฏิโภคสูตรว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครรับประกันได้ ๔

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันธรรม ๔อย่างได้ ไม่มี จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ๑. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าแก่ ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมารหรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก ๒. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอย่าเจ็บไข้ ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมารหรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก ๓. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอย่าตาย ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมารหรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก ๔. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า บาปกรรมเหล่าใดอันประกอบด้วยสังกิเลส ทำให้มีภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน มีทุกข์เป็นวิบากอำนวยให้มีชาติชรามรณะต่อไป วิบากของกรรมเหล่านั้นอย่าเกิดขึ้น ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหมหรือใครๆ ก็ตามในโลก ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันธรรม ๔ อย่างนี้แล ไม่มีจะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก.

จบปาฏิโภคสูตรที่ ๒


อรรถกถาปาฏิโภคสูตรพึงทราบวินิจฉัยในปาฏิโภคสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นตฺถิ โกจิ ปาฏิโภโค ความว่า ชื่อว่าผู้สามารถจะเป็น ผู้รับประกันอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้รับประกันในธรรมนี้ดังนี้ ย่อมไม่มี. บทว่าชราธมฺมํ ได้แก่ ภาวะที่มีความแก่. ในบททั้งหมดก็นัยนี้เหมือนกัน .

จบอรรถกถาปาฏิโภคสูตรที่ ๒


[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๔๒๓. สุตสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการ-พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-ภาคเจ้าว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนเห็นว่า เราเห็นอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนได้ฟังมาว่า เราได้ฟังมาอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนทราบ (ทางจมูก ลิ้น กาย) ว่า เราทราบอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนรู้แจ้ง (ทางใจ) ว่า เรารู้แจ้งอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ควรกล่าวและไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ แท้จริงเมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด ... สิ่งที่ได้ทราบอันใด ... สิ่งที่รู้แจ้งมาอันใดทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น ... สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด ... สิ่งที่ได้ทราบมาอันใด. . . สิ่งที่รู้แจ้งอันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น ... สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่าควรกล่าว. ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

จบสุตสูตรที่ ๓


อรรถกถาสุตสูตรพึงทราบวินิจฉัยในสุตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นตฺถิ ตโต โทโส ความว่า ชื่อว่า โทษในการพูดนั้นไม่มี.

จบอรรถกถาสุตสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 5 มิ.ย. 2551
สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ